ชื่อไทย: ปลาฉลามหูดำ

ชื่อวิทยาศาสตร์: Carcharhinus melanopterus

ชื่ออังกฤษ: Blacktip reef shark

%e0%b8%89%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%b9%e0%b8%94%e0%b8%b32

ชีววิทยา

ปลาชนิดนี้อยู่ในจำพวกปลากระดูกอ่อน รูปร่างทรงกระสวย หัวและหางเรียว จงอยปากยาว ปากกว้าง เมื่ออ้าออกปากล่างจะยื่นออกเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งเป็นที่มาของบาดแผลหรือรอยผ้าขาด ฟันที่ขากรรไกรเป็นรูปสามเหลี่ยม ปลายแหลมและคมมาก ขอบหยักเป็นฟันเลื่อย ช่องเหงือกมีข้างละ ๕ ช่อง อยู่เหนือครีบอก ครีบหลังแยกกันเป็นสองส่วน ส่วนแรกเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดใหญ่กว่าส่วนหลังมาก ครีบอกใหญ่เป็นรูปสามเหลี่ยมเช่นกัน ครีบท้องและครีบก้นอยู่ใกล้กัน และขนาดไล่เลี่ยกัน ครีบหางแบ่งออกเป็นสองพู พูบนยาวประกอบด้วยกระดูกที่ยกสูงขึ้น พูล่างสั้นกว่าและมีส่วนปลายแหลม สีลำตัวด้านหลังสีเทาคล้ำ สีข้างสีเทาอมสีขี้เถ้า ท้องสีขาวหรือสีขาวอมเหลืองจางๆ ปลายครีบทุกครีบสีดำ

วงจรชีวิต

ขนาดโตเต็มที่ประมาณ 2 เมตร ตัวเมียตั้งท้องนาน 18 เดือน ออกลูกเป็นตัว ครั้งละ 2-4 ตัว เมื่อโตขึ้นมาแล้วสีดำตรงที่ครีบหลังจะหายไป คงเหลือไว้แต่ตรงครีบอกและครีบส่วนอื่น

การสืบพันธุ์

เพศผู้มีอวัยวะช่วยในการสืบพันธุ์ลักษณะ เป็นติ่งเนื้อเรียกว่า claspers เพศเมียมีช่องสืบพันธุ์เรียกว่า cloaca สืบพันธุ์โดยการวางไข่ (oviparous)

อาหาร

ฉลามหูดำกินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร มีนิสัยไม่ดุร้ายเมื่อเทียบกับปลาฉลามชนิดอื่น ๆ นิยมอยู่รวมเป็นฝูงบริเวณใกล้ชายฝั่ง และอาจเข้ามาในบริเวณน้ำกร่อย หรือปากแม่น้ำ โดยสามารถเข้ามาหากินใกล้ชายฝั่ง เป็นปลาหากินในเวลากลางคืน ในเวลากลางวันจะหลบซ่อนตัวพักผ่อนตามแนวปะการัง

แหล่งที่อยู่

ปลาฉลามครีบดำ นับเป็นปลาฉลามชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในทะเล และเป็นต้นแบบของปลาฉลามในสกุลปลาฉลามปะการัง มีนิสัยเชื่องคน สามารถว่ายเข้ามาขออาหารได้จากมือ เป็นที่ชื่นชอบของบรรดาผู้ที่นิยม

การดำน้ำ พบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

%e0%b8%89%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%ab%e0%b8%b9%e0%b8%94%e0%b8%b33

บทความล่าสุด

22 กุมภาพันธ์ 2024

ปลาเสือเยอรมัน

14 กุมภาพันธ์ 2024

กุ้งมังกรหัวเขียว

6 กุมภาพันธ์ 2024

กระเบนหางขาว