ปลาโรนิน หรือ ปลากระเบนท้องน้ำ (Bowmouth guitarfish หรือ Mud skate sinvShark ray)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rhina ancylostoma
ปลาโรนินได้ถูกเพิ่มชื่อเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามประกาศของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฉบับที่ 4 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2561
รูปที่1 ปลาโรนิน (Rhina ancylostoma)
ที่มาภาพ https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/3/35/Rhina_ancylostoma-2.jpg
ปลาโรนินมีส่วนหัวขนาดใหญ่ รูปทรงแบนกลมและโค้งมน ปากกลม ครีบอกแผ่กว้าง ครีบหลังตั้งสูง เป็น 2 ตอน บริเวณเหนือตามีสันเป็นหนามตรงกลางหลังด้านหน้าของครีบหลังมีหนามเรียงตัวกันเป็นแถวชัดเจน ซึ่งหนามบนตัวปลานี้คนทางภาคใต้ของไทยนิยมนำมาทำเครื่องประดับ ทำหัวแหวน กำไร โดยเชื่อว่าเป็นของขลังสามารถป้องกันคุณไสย ป้องกันอันตรายจากภูติพรายที่อาศัยอยู่ในน้ำและอันตรายจากสัตว์น้ำได้ โดยทั่วไปพื้นผิวลำตัวของปลาโรนินด้านบนมีสีเทาอมน้ำตาล มีแต้มเป็นจุดสีขาวจาง ๆ กระจายอยู่ทั่วตัว ด้านท้องมีสีขาว ยิ่งโดยเฉพาะปลาวัยอ่อนจะมีลวดลายที่มากกว่าปลาขนาดใหญ่
ปลาโรนินมีส่วนหัวคล้ายกับกระเบนแต่ส่วนหางคล้ายฉลาม และยังมีลักษณะคล้ายกับปลาอีกตัวคือปลาโรนัน แต่สามมารถแยกได้จากลักษณะของปลายส่วนหัวคือ ปลาโรนินจะมีส่วนกลมมนส่วนปลาโรนันจะมีส่วนหัวเรียวแหลม หรือจำง่ายๆว่า นินสั้น นันยาว
รูปที่2 ภาพเรียบเทียบระหว่างปลาโรนิน (ซ้าย) กับปลาโรนัน (ขวา)
ที่มาภาพ https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/3/35/Rhina_ancylostoma-2.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/0/07/Rhinobatos_Rhinobatos.jpg
ปลาโรนินโตเต็มที่มีขนาดประมาณ 3 เมตร หนังสูงสุดประมาณ 135 กิโลกรัม พบอาศัยอยู่ตามบริเวณพื้นทะเลที่เป็นดินทรายปนโคลน อาหารของปลาโรนินได้แก่ ปลาขนาดเล็กที่อาศัยตามพื้นทะเล กุ้งปูขนาดเล็ก หอยสองฝาและปลาหมึก ปลาโรนินออกลูกเป็นตัว (viviparous) ศัตรูตามธรรมชาติของปลาโรนินคือปลาฉลามเสือ (Galeocerdo cuvier)
สถานภาพของปลาโรนิน พบเห็นได้ยาก ใกล้สูญพันธุ์
รูปที่3 แหวนที่ทำจากเกล็ดบนหลังของปลาโรนิน
ที่มาภาพ http://www.siamfishing.com/_pictures/content/upload2011/201102/12979020321.jpg
บรรณานุกรม
https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาโรนิน
https://en.wikipedia.org/wiki/Bowmouth_guitarfish
http://www.siamfishing.com/content/view.php?nid=38874&cat=photo_in