14 กุมภาพันธ์ 2018

[bs_icon name=”glyphicon glyphicon-forward”]  ปลาการ์ตูนจัดอยู่ในครอบครัวปลาสลิดหิน (damselfishes, family Pomacentridae) (สุภาพร, 2543) ปัจจุบันปลาการ์ตูนทั่วโลกที่สำรวจพบ และได้รับการจำแนกแล้วมี 28 ชนิด เป็นสกุล (genus) Amphiprion จำนวน 27 ชนิด และ สกุล Premnas อีก 1 ชนิด คือ Spinecheek anemonefish, Premnas biaculeatus ปลาการ์ตูนที่พบในน่านน้ำไทยมี 7 ชนิด แบ่งเป็นฝั่งอันดามัน 5 ชนิด ได้แก่ ปลาการ์ตูนส้มขาว ปลาการ์ตูนอินเดียน ปลาการ์ตูนลายปล้อง ปลาการ์ตูนลายปล้องหางเหลือง และปลาการ์ตูนแดงดำ ส่วนปลาการ์ตูนที่พบได้ทั่วไปในอ่าวไทยมี 2 ชนิด คือ ปลาการ์ตูนหลังอาน และปลาการ์ตูนอินเดียนแดง
[bs_icon name=”glyphicon glyphicon-forward”] ในธรรมชาติปลาการ์ตูนไม่สามารถอยู่ได้ถ้าปราศจากดอกไม้ทะเล เพราะปลาการ์ตูนใช้ดอกไม้ทะเลเป็นที่หลบภัยซึ่งเป็นการอยู่ร่วมกันแบบพึ่งพาอาศัยกัน การเพิ่มทางรอดให้ปลาการ์ตูนก่อนปล่อยคืนสู่ทะเล คือการให้ปลาเรียนรู้การอยู่กับดอกไม้ทะเลและการว่ายน้ำเข้าหาดอกไม้ทะเล จากผลการศึกษาพบว่าลูกปลาอายุ 15 วัน สามารถว่ายเข้าหาดอกไม้ทะเลได้เร็วที่สุด ส่วนปลาอายุ 60 วัน เข้าหาดอกไม้ทะเลช้าที่สุด บางตัวต้องใช้เวลานานถึง 7 วัน ดังนั้น การเข้าไปอาศัยอยู่ในดอกไม้ทะเลช้า อาจทำให้ปลาการ์ตูนตายได้ เนื่องจากอดอาหารหรือกลายเป็นอาหารของสัตว์น้ำชนิดอื่น เนื่องจากไม่มีที่หลบภัย ดังนั้น จึงไม่ควรมีการปล่อยปลาการ์ตูนส้มขาวที่ได้จากการเพาะเลี้ยงลงสู่ธรรมชาติโดยไม่มีการปรับพฤติกรรมการอยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเล และชนิดของดอกไม้ทะเลก็มีความจำเพาะที่ปลาการ์ตูนสามารถอยู่ด้วยได้ รวมถึงสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและความหนาแน่นเช่นในกอดอกไม้ทะเล 1 กอ สามารถอยู่ได้เพียง 6-10 ตัวเท่านั้น จึงจะเพิ่มอัตราการรอดในธรรมชาติได้

♥ การปล่อยปลาการ์ตูนคืนสู่ธรรมชาติ มีปัจจัยที่ส่งผลให้มีอัตราการรอด ดังนี้ ♥

    [bs_well size=”sm”]  1. การปล่อยปลาการ์ตูนที่ได้จากการเพาะเลี้ยง ควรมีการปรับพฤติกรรมให้อยู่ร่วมกับดอกไม้ทะเลอย่างน้อย 30 วัน ก่อนปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ
2. ควรมีปริมาณดอกไม้ทะเลที่เพียงพอกับจำนวนที่จะปล่อยและต้องเป็นชนิดที่เหมาะสมกับชนิดของปลาการ์ตูนนั้นๆ
3. วิธีการปล่อยควรมีสวิงหรือกรงครอบไว้อย่างน้อย 15 นาที่ (สำหรับปลาที่ปรับพฤติกรรมแล้ว) เพื่อให้ปลาการ์ตูนได้สร้างความคุ้นเคยกับดอกไม้ทะเลกอใหม่ และกระแสน้ำในธรรมชาติ
4. การปล่อยปลาการ์ตูนในธรรมชาติ ผู้ปล่อยต้องมั่นใจว่าไม่มีปลาที่เป็นผู้ล่าหรือศัตรูในบริเวณนั้น
5. ความหนาแน่นของจำนวนปลาการ์ตูนต่อดอกไม้ทะเลขึ้นอยู่กับขนาดกอของดอกไม้ทะเล มากที่สุดไม่ควรเกิน 10 ตัวต่อกอขนาดใหญ่
6. ควรเป็นปลาการ์ตูนชนิดที่เหมาะสมกับถิ่นที่อยู่อาศัยหรือเคยพบในธรรมชาติจึงสามารถปล่อยเพื่อฟื้นฟูในถิ่นที่อยู่อาศัยเดิมได้ การนำชนิดพันธุ์ที่อยู่นอกถิ่นอาศัยหรือเขตแพร่กระจายทางภูมิศาสตร์ตามธรรมชาติถือเป็นการชักนำชนิดพันธุ์ต่างถิ่นเข้ามาซึ่งจะส่งผลเสียต่อระบบนิเวศThis well needs your attention.

[/bs_well]