ปลานกขุนทอง (Labridae) เป็นวงศ์ของปลาทะเลปลากระดูกแข็งวงศ์หนึ่ง ใช้ชื่อวงศ์ว่า Labridae ในอันดับปลากะพง (Perciformes) โดยลักษณะทั่วไป ลำตัวค่อนข้างยาว แบนข้าง ริมฝีปากหนา สามารถยืดหดได้ กระดูกพรีแม็คซิลลารี เพดิเคิลส์เจริญดี โดยปกติมีฟันแบบฟันเขี้ยวแหลม หรือฟันตัดเพียงแถวเดียว ฟันที่หลอดคอมีขนาดใหญ่พัฒนาดี ไม่มีฟันบนกระดูกโวเมอร์และกระดูกพาลาติน เกล็ดที่ปกคลุมลำตัวมีขนาดใหญ่เป็นแบบขอบเรียบ เส้นข้างลำตัวอาจขาดตอนหรือสมบูรณ์ เป็นปลาที่มีสีสันสดใสสวยงาม รูปร่างลำตัวมีหลายรูปแบบ อาศัยอยู่ในแนวปะการัง หรือกองหินใต้น้ำตัวเต็มวัยมีขนาดผันแปรแตกต่างกันระหว่างชนิดจาก 10 เซนติเมตร ถึงกว่า 50 เซนติเมตร มีลำตัวแบนเรียวยาว ครีบหางเว้าเป็นรูปโค้งวงพระจันทร์ ตัวมีทั้งสีเขียว แดง เทา ด้านหน้ามีลายสีชมพู ครีบอกสีชมพูขอบฟ้า ขอบครีบหลัง ครีบท้อง และครีบหางมีสีชมพูอมน้ำเงิน ปลายหางมีสีเหลืองรูปพระจันทร์เสี้ยว ขนาด 20 เซนติเมตร สำหรับที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มนี้ คือ…ปลานกขุนทองหัวโหนก (Napoleon wrasse) หรือปลานโปเลียน ซึ่งมี ขนาดใหญ่ถึง 2 เมตร และส่วนใหญ่  ว่ายน้ำเป็นอิสระไม่ รวมฝูง ยกเว้นช่วงที่มีความต้องการเพื่อผสมพันธุ์ มักพบได้ตาม แนวปะการังในน่านน้ำไทยประมาณ 70 ชนิด เช่น ปลานกขุนทองแถบเขียว, ปลานกขุนทองปากยื่น, ปลานกขุนทองตารางหมากรุก, ปลานกขุนทองหกบั้ง, ปลานกขุนทองเขียวพระอินทร์ เป็นต้น

เรียบเรียงโดย นายเกียรติศักดิ์ เอี่ยนเล่ง นักวิชาการประมง

บทความล่าสุด

7 ธันวาคม 2023

กั้งตั๊กแตน

22 พฤศจิกายน 2023

ปลากระทิงไฟ