ปลาอีคุด

ภาพที่ 1

ที่มาภาพ: https://images.app.goo.gl/VUxA4KxTSXggj7GH8

ปลาอีคุด หรือสะกดว่า ปลาอีคลุด

ชื่อวิทยาศาสตร์: Acanthopagrus berda

   มีลำตัวกว้าง และแบนข้าง ส่วนโค้งนูนของหัวและสันหลังต่างกับท้องมาก หัวโต นัยน์ตาโปน จะงอยปากทู่ ปากเล็ก มุมปากยื่นเข้ามาเป็นแนวใต้จุดกึ่งกลางนัยน์ตา ครีบหลังมีก้านครีบเดี่ยวเป็นซี่แข็งปลายแหลม 11 ก้าน และก้านครีบแขนง 10-13 ก้าน ครีบก้นมีก้านครีบเดี่ยว 3 ก้าน ก้านครีบอันกลางใหญ่และยาวกว่าก้านครีบอื่น ๆ และก้านครีบแขนง 11 หรือ 11 ก้าน ครีบอกยาวปลายแหลม ครีบท้องค่อนข้างใหญ่ และมีก้านครีบเดี่ยวเป็นซี่แข็งปลายแหลม 1 ก้าน ครีบหางปลายเป็นแฉกไม่ลึก ลาตัวเป็นสีเทาอมดา ท้องสีขาวอมดา ครีบหลังและครีบก้นมีขอบดาเปราะ ๆ เกล็ดมีความเงางามมีความยาวเต็มที่ประมาณ 75 เซนติเมตร พบกระจายพันธุ์ตามบริเวณปากแม่น้าและชายฝั่งที่เป็นทราย ตั้งแต่บริเวณน้าตื้น ๆ ถึงน้าลึกประมาณ 50 เมตร พบได้ทั้งในอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

ภาพที่ 2

ที่มาภาพ:https://f.ptcdn.info/530/050/000/ooii38i32Mq5BoD4NoF-o.jpg

     ปลาอีคุดเป็นปลาที่หายากมาก ต้องนั่งเรือออกไปเท่านั้น จึงจะตกได้ เป็นปลาที่โดยมากจะอยู่บนโต๊ะอาหารของชนชั้นสูง หรือเจ้าเมือง มีความยาวของลาตัวมากกกว่า 1 เมตร ซึ่งใหญ่กว่าชนเผ่าชาย์เสียอีก มีเนื้ออ่อนนุ่ม ทานเป็นปลาดิบก็ดี อีกทั้งไขมันสัตว์ยังน้อย อุดมไปด้วยโปรตีน เป็นอาหารฟื้นฟูที่ดีต่อผู้ป่วย แต่น่าเสียดายที่ราคาแพง

อ้างอิง

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%94

https://bddatabase.net/th/theme/8507/

บทความล่าสุด

22 กุมภาพันธ์ 2024

ปลาเสือเยอรมัน

14 กุมภาพันธ์ 2024

กุ้งมังกรหัวเขียว

6 กุมภาพันธ์ 2024

กระเบนหางขาว