ปลาตะเพียนอินเดีย Dawkinsia filamentosa (Blackspot barb, Filamented barb, Mahecola barb)

ชีววิทยา
เป็นปลาน้ำจืดขนาดเล็กชนิดหนึ่ง ในวงศ์ปลาตะเพียน (Cyprinidae)มีลำตัวเรียวยาวแบนข้าง พื้นลำตัวมีสีเหลืองอมชมพู ครีบหลัง ครีบอกและครีบหางมีสีแดงจาง ๆ ขอบหางด้านล่างและด้านบนมีสีดำ ที่โคนครีบหางมีจุดสีดำขนาดใหญ่เห็นได้ชัดเจน ปลาตัวผู้มีรูปร่างเพรียวบางกว่าตัวเมีย และมีครีบต่าง ๆ พริ้วยาวแลดูสวยงามกว่ามาก มีขนาดความยาวโดยเฉลี่ย 13-15 เซนติเมตร มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูง มีอายุขัยโดยเฉลี่ย 4 ปี เป็นปลาที่นิยมเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม

วงจรชีวิต
ไขปลาจะฟกออกมาเปนตัวประมาณ ๒๔ ชั่วโมง ขึ้นอยูกับอุณหภูมิของน้ำ ลูกปลาแรกฟักจะกินแพลงก์ตอนเป็นอาหาร ลักษณะรูปร่างลูกปลาแรกฟักจะมีเหมือนพ่อแม่พันธุ์
การสืบพันธุ์
ปลาเพศผูจะมีสีสันสดสวย ปากแดง หางแดงครีบแดง สวนเพศเมียมีสีซีดกวาแตมีขนาดลําตัวใหญกวา ขนาดของปลาที่พรอมจะนํามาผสมพันธุจะมีขนาดประมาณ ๓-๕ ซม. ไขปลามีลักษณะเปนไขประเภทเกาะติด สามารถวางไขไดตลอดป หลังจากแมปลาวางไขแลวประมาณ ๒๕ วัน จะสามารถทําการเพาะพันธุไดอีก
อาหาร
กินอาหาร จำพวกสัตว์น้ำและแมลงขนาดเล็ก

แหล่งที่อยู่อาศัย
พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่น้ำจืดและน้ำกร่อยในอินเดียตอนใต้ เช่น รัฐเกรละ, ทมิฬนาดู และกรณาฏกะ

เอกสารอ้างอิง
(1) http://www.fisheries.go.th/if-m_sarakham/web2/images/kik/smt.pdf
(2) th.wikipedia.org, ปลาตะเพียนอินเดีย, ออนไลน์, เข้าถึงได้ที่ https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2