ชีววิทยา

แมงดาทะเลเป็นสัตว์ทะเลที่มีรูปร่างแบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนหน้า (prosoma) มีลักษณะรูปโค้งครึ่งวงกลมคล้ายเกือกม้า เปลือกแข็งเหมือนปู ส่วนที่ 2 เป็นส่วนท้อง (opisthosoma) อยู่ต่อจากส่วนหน้าขอบด้านข้างมีหนามที่เคลื่อนไหวได้ ด้านท้ายมีหาง (telson) เป็นแท่งเรียวยาวที่ยึดไว้ด้วยเอ็นแข็งแรงเพื่อใช้สำหรับการงอตัว หรือฝังตัวลงไปในดิน

แมงดาทะเลในไทยมี 2 ชนิด คือ แมงดาหางเหลี่ยมหรือแมงดาจาน (Tachypleus gigas) มีขนาดใหญ่กว่าแมงดาถ้วย ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางลำตัวประมาณ 20  เซนติเมตร พื้นผิวด้านบนมีสีน้ำตาลอมเขียว หางเป็นรูปสามเหลี่ยม ด้านบนมีสันและหนามเรียงกัน เป็นแถวคล้ายฟันเลื่อย

แมงดาถ้วย หรือแมงดาหางกลม (Carcinoscorpius rotundicauda) มีลำตัวรูปโค้งกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15 เซนติเมตร ผิวด้านบนเรียบมันสีน้ำตาลอมแดง ส่วนหน้าเป็นรูปพระจันทร์เสี้ยวหรือรูปเกือกม้า  ส่วนท้องมีหนามทางขอบด้านข้างจำนวน 6 คู่ ต่อจากส่วนท้องมีทางค่อนข้างกลมไม่มีสันและไม่มีหนาม

วงจรชีวิต

เมื่อไข่แมงดาทะเลได้รับการปฏิสนธิเวลาผ่านไปประมาณ 14 วัน เปลือกไข่ก็จะแตกออกด้วยแรงเสียดสีของเม็ดทราย ลูกแมงดาทะเลที่ฟักตัวออกมามีลักษณะเหมือนพ่อแม่ ในช่วงการเจริญเติบโตตัวอ่อนแมงดาทะเลจะล่องลอยตามกระแสน้ำ และกว่าจะถึงระยะตัวเต็มวัย ตัวอ่อนแมงดาทะเลต้องมีการลอกคราบหลายครั้ง และอัตราการลอกคราบก็จะลดลงเมื่อโตเต็มวัย ซึ่งอาจเป็น 10–20 ครั้งต่อปี โดยในการลอกคราบแต่ละครั้งก็จะเพิ่มส่วนของดวงตาขึ้นมา แมงดาทะเลที่โตเต็มที่จะมีอายุประมาณ 9–12 ปี (โดยเฉลี่ย 11 ปี) จึงมีความพร้อมที่จะสามารถสืบพันธุ์และวางไข่ได้

การสืบพันธุ์

ในช่วงฤดูร้อน ประมาณเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกันยายนของทุกปี แมงดาทะเลจะขึ้นมาวางไข่บนบกตามแนวชายหาด ในวันที่มีน้ำทะเลขึ้นสูงสุด 2–3 วัน โดยตัวผู้จะเกาะบนหลังตัวเมียโดยการใช้ตะขอเกี่ยวตัวเมียเอาไว้ตลอดฤดูการผสมพันธุ์ แมงดาทะเลเพศเมียจะใช้ขาคู่ที่ 6 ในการขุดทรายเพื่อใช้ในการวางไข่ซึ่งมีจำนวนหลายร้อยฟอง แล้วตัวผู้จะปล่อยน้ำเชื้อผสมกับไข่ในหลุมทันที จากนั้นตัวเมียจึงทำการกลบไข่ด้วยทรายและโคลนตามเดิม

 อาหาร

อาหารของแมงดาทะเลส่วนใหญ่เป็นพวกหอย (Molluscs) และไส้เดือนทะเลชนิดต่างๆ (Polychaetes)

แหล่งที่อยู่อาศัย

แมงดาทะเลเป็นสัตว์ที่พบทั่วไปบริเวณชายฝั่งทะเล หรือตามลำคลองที่เป็นป่าชายเลน รวมทั้งในทะเลที่ระดับน้ำตื้น

เอกสารอ้างอิง

(1) https://www.mwit.ac.th/~physicslab/content_01/sutut/mangda.pdf

(2) https://www.gpo.or.th/Portals/6/Newsletter/RDINewsYr22No2-1.pdf

(3) http://www.siamsouth.com/smf/index.php?topic=23640.0

(4) http://www.bedo.or.th/lcdb/biodiversity/view2.aspx?id=9709

(5) http://biology.ipst.ac.th/?p=751

(6) http://www.biogang.net/animal_view.php?uid=47655&id=187824

(7) http://www.med.cmu.ac.th/dept/parasite/public/Mangdataley.htm

(8) http://www.maceducation.com/ebook/5906003100/files/assets/seo/page17.html

(9) http://tolweb.org/treehouses/?treehouse_id=4861

บทความล่าสุด

22 กุมภาพันธ์ 2024

ปลาเสือเยอรมัน

14 กุมภาพันธ์ 2024

กุ้งมังกรหัวเขียว

6 กุมภาพันธ์ 2024

กระเบนหางขาว