Ocypode ceratophthalmus (Pallas, 1772)

Horned Ghost Crab, Horn-eyed Ghost Crab

ปูลมในโลกพบทั้งหมด 28 ชนิด ในประเทศไทยพบ 4 ชนิด  ได้แก่

  1. ปูลมใหญ่ Ocypode ceratophthalmus (Pallas, 1772)
  2. ปูลม Ocypode cordimana Latreille, 1818
  3. ปูลม Ocypode stimpsoni Ortmann, 1897
  4. ปูลม Ocypode nobilii De Man, 1902

 

Ocypode_ceratophthalmus

ลักษณะทางกายภาพของปูลม

ปูลม หรือปูผี เป็นปูน้ำเค็มขนาดเล็กในสกุล Ocypode ปูลมมีก้านตาที่ยาว สามารถหุบพับลงตามแนวนอน โยกไปข้างหน้าและหลังก็ได้ ปูลมสามารถมองเห็นวัตถุ เช่น มนุษย์ ได้ไกลอย่างน้อย 45 เมตรจึงทำให้ไม่มีสิ่งใดสามารถเข้าใกล้มันได้เลย ก้ามของปูยาวไม่เท่ากัน ก้ามใหญ่อาจจะอยู่ทางด้านซ้ายหรือขวาก็ได้ หากเราสังเกตที่กระดองของปูลมจะพบสัญลักษณ์คล้ายวงเล็บ

Ocy_cer

 

 

 

 

 

 

 

 

ปูลมใหญ่

อาศัยขุดรูอยู่อยู่ตามผืนทรายที่น้ำท่วมไม่ถึง มีขนาดเล็ก 5 – 6 เซนติเมตร กระดองสี่เหลี่ยมสีเหลืองอ่อน และมีลายสีม่วงเข้ม ชอบหากินเวลากลางคืน แต่ในพื้นที่ที่ไม่มีการรบกวน ปูลมก็จะออกหากินตอนกลางวันเหมือนกัน

DSC_6438

ลูกปูลมใหญ่

มีรูปร่างบอบบางใสกลมกลืนกับสภาพพื้นทรายมีขาเรียวยาวใช้สำหรับวิ่งบนพื้นทรายได้อย่างรวดเร็ว อาศัยอยุ่ตามหาดทรายเช่นเดียวกับปูลมใหญ่ ออกหากินทั้งกลางวันและกลางคืน แต่จะออกหากินกลางวันมากกว่า

การเรียกชื่อ

คำว่า ปูลม ในภาษาไทยได้มาจากลักษณะการวิ่งของปูที่เร็วมาก ส่วนในภาษาอังกฤษ เรียกว่า ปูผี (Ghost Crab) มาจากสีซีดๆของปู และออกหากินเวลากลางคืน

DSC_0025

ปูลม กับปูทหาร

            ปูลมมักจะถูกจำสับสนกับปูทหาร ซึ่งสิ่งที่ต่างกันก็คือปูลมจะมีขนาดใหญ่กว่ามาก และปูลมมีกระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม ส่วนปูทหารกระดองจะเป็นรูปทรงกลมคล้ายหมวกทหาร และพฤติกรรมการกินอาหารที่ปูทหารจะใช้ก้ามช้อนทรายเข้าปากและกรองกินอาหารในทราย พอกินหมดก็จะคายทรายออกมามีลักษณะเป็นก้อนกลม ปูลมที่ยังไม่โตเต็มวัยก็ตักทรายเข้าปากเหมือนกัน แต่ก้อนที่มันปั้นจะเป็นรูปทรงรี ด้านหนึ่งใหญ่กว่าอีกด้านหนึ่ง (รูปทรงกรวยปลายมนทั้งสองด้าน) ส่วนปูลมตัวเต็มวัยจะใช้ก้ามคีบอาหารเข้าปาก

DSC_6671

เจ้าหน้าที่เทศบาล

ปูลม ถือว่าเป็นเจ้าหน้าที่เทศบาลประจำชายหาด คอยทำความสะอาดโดยการเก็บเศษปลา เศษหอย และวัชพืชที่ลอยมาเกยตื้นบนชายหาด ปูลมจึงเป็นผู้รักษาสมดุลธรรมชาติ และระบบนิเวศบริเวณชายหาด

การหายใจ

ปูลมเป็นสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ภายในกระดองของปูแบ่งออกเป็นช่อง ซึ่งแต่ละช่องบรรจุอวัยวะช่วยหายใจ ทำหน้าที่คล้ายปอดของคนเราในการดึงออกซิเจนเข้ามาในขณะที่ปล่อยของเสีย (คาร์บอนไดออกไซด์) ผ่านเหงือกที่เปียก ซึ่งสิ่งนี้เป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ปูลมสามารถปรับตัวอยู่บนบกได้

การเคลื่อนที่

ปูลมเป็นนักวิ่งที่เร็วมาก สามารถทำความเร็วได้สูงสุดถึง 4 เมตรต่อวินาที ปูลมมีขาเดินทั้งหมด 4 คู่ ปูลมจะวิ่งหรือเดินทางด้านข้าง เวลาวิ่งด้วยความเร็วสูง ปูลมจะใช้ขาคู่ที่ 1 และคู่ที่ 4 วิ่งเท่านั้น และยิ่งตกใจมากก็จะวิ่งเร็วมากเท่านั้น

[bs_row class=”row”]

[bs_col class=”col-xs-4″]

IMG_9839

[/bs_col][bs_col class=”col-xs-4″]

IMG_9841

[/bs_col][bs_col class=”col-xs-4″]

IMG_9971

[/bs_col][/bs_row]

[bs_row class=”row”]

[bs_col class=”col-xs-4″]

IMG_9974

[/bs_col][bs_col class=”col-xs-4″]

IMG_9884

[/bs_col][bs_col class=”col-xs-4″]

IMG_9977

[/bs_col][/bs_row]

รูปูลม

ปูลมจะขุดหลุมเป็นโพรงเพื่อเป็นที่หลบภัยจากผู้ล่าตลอดทั้งวัน และจะอยู่ตลอดเวลาในช่วงลอกคราบ ปูลมมักจะอยู่ในรูในช่วงที่อากาศร้อนโดยจะขุดหลุมในช่วงกลางคืน ปูตัวผู้มีพฤติกรรมนำทรายมากองไว้นอกรูเป็นเนินคล้ายระมิด สันนิษฐานว่าเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของหรือดึงดูดตัวเมีย บางครั้งก็ขุดหลุมสร้างทางออกที่ 2 ไว้ด้วย

ปูลมที่อยู่ในวัยเด็กจะอาศัยขุดรูอยู่ใกล้บริเวณที่คลื่นซัด ส่วนปูตัวเต็มวัยจะอยู่ใกล้ฝั่งมากกว่า

ปูลมกลับหลุมเดิมได้อย่างไร

สันนิษฐานว่าปูลมสามารถจดจำลักษณะของตะกอนทรายและวัสดุใกล้ปากหลุมได้ ปูลมจะออกหากินตอนกลางคืนระยะทางประมาณ 100 – 200 เมตร ซึ่งหากกลับไม่ถูกก็จะทิ้งหลุมเก่าและขุดหลุมใหม่ทันที

การผสมพันธุ์

ปูลมจะผสมพันธุ์โดยอาศัยอิทธิพลของดวงจันทร์ เมื่อผสมพันธุ์แล้วตัวเมียจะอยู่ในหลุมสักพักรอให้ไข่ได้รับการพัฒนา และเมื่อน้ำขึ้นสูงตัวเมียจะออกจากหลุม เปิดจับปิ้ง และเมื่อน้ำซัดเข้าหาตัวก็จะยกตัวขึ้น-ลงแรงๆเพื่อสะบัดไข่ให้ลอยออกไปในทะเล

DSC_9108

ห่วงโซ่อาหาร

ปูลมนั้นอยู่ระหว่างผู้ล่าและผู้บริโภค แต่เราอาจถือได้ว่าปูลมอยู่บนสุดของผู้ล่าตามแนวชายหาด อาหารของปูลมก็ได้แก่ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่ขุดรูตื้นๆอยู่ตามแนวชายหาด ได้แก่พวกไอโซพอด หอย และไส้เดือน บางทีก็กินไข่เต่าทะเลที่ถูกฝังอยู่บริเวณนั้นด้วย นอกจากนี้มีรายงานด้วยว่าเมื่อไข่เต่าฟักเป็นตัว ปูลมก็จับลูกเต่าที่เพิ่งจะออกจากเปลือกไข่และกำลังเดินลงสู่ทะเลอีกด้วย ศัตรูของปูลมได้แก่ นกที่หากินตามแนวชายฝั่ง

เรียบเรียงโดย นายอดิศร เจริญวัฒนาพร นักวิชาการประมง สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำ ภูเก็ต