งูทะเล พบได้ทั้งมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย เชื่อว่าเป็นงูบกที่มีพัฒนาการให้สามารถดำรงชีวิตในน้ำได้ เช่น มีหางเป็นใบพาย มีเนื้อเยื่อปิดรูจมูกที่ช่วยป้องกันน้ำเข้าระหว่างดำน้ำ เป็นต้น สำหรับงูทะเลที่พบในประเทศไทยมีประมาณ 33 ชนิด แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มงูทะเลแท้ (True Sea Snakes)และกลุ่มงูสมิงทะเล (SeaKraits) ทั้งนี้ยังมีความสำคัญต่อระบบนิเวศ คือช่วยกินปลาที่อ่อนแอเป็นอาหาร ถ้าไม่มีงูทะเลจะทำให้ปลาที่มีสายพันธุ์อ่อนแอ ออกลูกหลานได้มากขึ้น เมื่อเกิดภัยทางธรรมชาติ ปลาพวกนี้จะไม่แข็งแรงพอ และไม่สามารถเอาตัวรอดได้ ทำให้ปลาลดจำนวนลง และในระบบห่วงโซ่อาหาร งูทะเลก็ยังเป็นอาหารของปลาฉลาม โลมา และสัตว์นักล่าอื่นๆ อีกด้วย ปัจจุบันงูทะเลยังไม่มีการคุ้มครองทางกฎหมายใด ๆ ทั้งสิ้น ดังนั้นงูทะเลจึงเป็นสัตว์ทะเลที่ถูกคุกคามโดยไร้การควบคุม จึงควรมีการศึกษาเพื่อกำหนดแนวทางการใช้ประโยชน์อย่างเหมาะสมต่อไป

ลักษณะทั่วไป

งูทะเลจะมีลำตัวยาวมีเกล็ดปกคลุมเหมือนงูบนบก ส่วนที่แตกต่างคือส่วนของหางงู จะเป็นลักษณะแผ่นแบนๆเป็นแนวตั้งคล้ายกับใบพาย ทำให้งูทะเลสามารถเคลื่อนที่ในน้ำได้ดีขึ้น งูทะเลยังสามารถว่ายน้ำไปด้านหลังได้ ยามเมื่อต้องการพักผ่อนมันจะลอยตัวอยู่ที่ผิวน้ำโดยไม่เคลื่อนไหวได้เป็นเวลานานเพราะไขมันที่ห่อหุ้มตัวของมันช่วยพยุงตัวให้มันลอยได้ งูจะใช้ปอดในการหายใจ เมื่ออากาศหมดมันจำเป็นต้องขึ้นมาบนน้ำเพื่อหายใจ อาหารของงูคือพวกปลาเล็กตามซอกหิน หรือตามพื้นทะเล ชอบอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำตามชายฝั่งทั่วไป งูทะเลจะมีขนาดเล็กกว่างูบก  ขนาดที่เคยพบที่ยาวที่สุดประมาณ 3เมตร ไม่สามารถทำเสียงขู่แต่จะทำเสียงคลายน้ำไหลได้ โดยปกติงูทะเลจะไม่ทำร้ายคน ยกเว้นช่วงผสมพันธ์ หรือเราไปเหยียบมันเข้า

พิษและอาการ

เมื่อถูกงูทะเลกัดจะเป็นรอยเขี้ยว ลักษณะจะแล้วแต่ชนิดของงู อาการจะแสดงออกช้าเมื่อถูกัด กัดไม่เจ็บแต่หลังจากถูกกัดประมาณสามสิบนาทีจะเริ่มรู้สึก อ่อนเพลีย กลืนน้ำลายยาก ลิ้นแข็งรู้สึกปวดเมื่อยคล้ายจะเป็นอัมพาต อาเจียนม่านตาเปิดกว้างและอาจจะชักกระตุกตามกล้ามเนื้อ รู้สึกหนาวแต่เหงื่อท่วมตัว จะรู้สึกตัวตลอดจนระบบทางเดินหายใจจะใช้การไม่ได้ เมื่อเข้าขั้นอาการรุนแรงจะมีปัสสาวะเป็นสีเลือดและอาจจะถึงแก่ความใต้ได้ ความรุนแรงจะอยู่ที่ประเภทของงู ถ้าถูกกัดควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว และควรจดจำชนิดของงูที่ถูกกัดด้วยเพื่อง่ายในการรักษาพยาบาล
ให้จดจำสถานที่ที่ถูกกงูกัด หรือจับงูที่กัดนำไปพบแพทย์ด้วยจะได้รักษาได้ถูกกับชนิดของพิษงู

พิษงูที่เป็นอันตราย

เมื่อถูกกัดจะต้องรีบรับการพยาบาลเบื้องต้นทันที โดยเริ่มแรกให้ทำการดูดพิษออกจากตรงบาดแผลให้เร็วที่สุดและมากเท่าที่จะทำได้ และผู้ที่จะดูดพิษจากบาดแผลต้องไม่มีแผลในปากไม่งั้นจะโดนพิษเสียเอง ขั้นต่อไปให้ใช้เชือกหรือเศษผ้าอะไรก็ได้รัดเหนือบาดแผลกับหัวใจแล้วพาผู้ถูกกัดส่งโรงพยาบาลทเพื่อทำการฉีดเซรุ่มแก่พิษงูป้องกันการติดเชื้อจากพิษงูทะเล ควรดูดพิษออกภายใน สองหรือสามนาที หลังจากที่ถูกงูทะเลกัด การผูกเชือกกันไม่ให้พิษเข้าสู่หัวใจ ควรผูกให้แน่นแต่ไม่ต้องแน่นมาก แล้วต้องคอยคลายเชือกรัดทุกๆ สิบนาทีใช้วิธีนี้ได้ไม่เกิน 30นาทีหลังจากถูกงูกัดถ้าเกิดกว่านี้วิธีนี้จะไม่ได้ผล และวิธีนี้ไม่ควรทำนานเกิดกว่า 4 ชั่วโมง ไม่ควรให้ผู้ที่ถูกกัดดื่มพวกอัลกอฮออล์ เหล้า ดื่มน้ำชากาแฟได้ หลังจากการรักษาฉีดเซรุ่มงูถ้าอยู่ได้ถึงสัปดาห์ก็เป็นที่หน้ายินดีว่าผู้ที่ถูกงูทะเลกัดจะไม่เป็นอะไร

การป้องกัน

งูทะเลจะเป็นอันตรายต่อมนุษย์ถ้าถูกมันกัดจะเป็นอันตรายอย่างมากเนื่องจากพิษที่ร้ายแรงของมัน เพราะเราจะยังไม่มีเซรุ่มของงูทะเลโดยเฉพาะ การรักษาพยาบาลเบื้องต้นต้องรักษาโดยระมัดระวังเป็นอย่างมาก โดยปกติมักจะพบงูทะเลจากซอกหิน และบริเวณนั้นส่วนมากน้ำทะเลจะไม่ใสทำให้ไม่สามารถมองเห็นตัวงูได้ควรเล่นน้ำอย่างระมัดระวัง บางชนิดชอบซ่อนตัวอยู่ตามฟองคลื่นทะเลและชายฝั่ง

พบงูทะเลที่เกาะทะลุ

จากประสบการณ์ที่พบงูทะเลโดย admin ดำน้ำมา 4 ปีเคยเจองูทะเลที่เกาะทะลุ 2 ครั้ง ลำตัวสีเหลืองปล่องดำนิสัยจะไม่ดุร้ายเมื่อเห็นนักดำน้ำงูจะว่ายหนีเพราะโดยปกติงูทะเลจะมีนิสัยเชื่องไม่ดุร้ายไม่อยู่ในที่ๆคนอยู่

จัดทำโดย นักวิชาการประมงปฎิบัติการ

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน

เอกสารอ้างอิง

  • คลังความรู้ทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง  กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • สีฟ้าทัวร์ เกาะทะลุ ดำน้ำเกาะทะลุประจวบ