ก่อนอื่นต้องเข้าใจความหมายของคำว่าชนิดพันธุ์ต่างถิ่น (Alien species) หมายถึงสิ่งมีชีวิตไม่ได้มีต้นกำเนิดในพื้นที่นั้นๆ

หรือสิ่งแวดล้อมนั้นๆ แต่ชนิดพันธุ์ หรือสิ่งมีชีวิตนั้นถูกนำมาหรือแพร่กระจายมาจากที่อื่น

อีกคำคือคำว่าชนิดพันธุ์รุกราน (invasive species) ชนิดพันธุ์นั้นคุกคามระบบนิเวศ แหล่งที่อยู่อาศัย หรือชนิดพันธุ์อื่นๆ

ซึ่งอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลเสียต่อระบบนิเวศดั้งเดิมได้

จึงรวมทั้งสองคำเข้าด้วยกันได้เป็น ชนิดพันธุ์รุกรานต่างถิ่น (Alien invasive species) ซึ่งมีความหมายโดยรวมว่าสิ่งมีชีวิตไม่ได้มีต้นกำเนิดในพื้นที่นั้นๆ หรือสิ่งแวดล้อมนั้นๆแต่ถูกนำมาหรือแพร่กระจายมาจากที่อื่น ซึ่งคุกคามระบบนิเวศ แหล่งที่อยู่อาศัย หรือชนิดพันธุ์ท้องถิ่นหรือพันธุ์อื่นๆ และอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและส่งผลเสียต่อระบบนิเวศดั้งเดิมได้

ตัวอย่างสัตว์น้ำรุกรานต่างถิ่น ในประเทศไทย

  1. ปลาซักเกอร์ หรือปลากดเกราะหรือปลาเทศบาล (common sucker) ชื่อวิทยาศาสตร์ Hypostomus plecostomus  เป็นปลาที่มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาใต้แต่ถูกนำเข้ามาเพื่อใส่ตู้เลี้ยงปลาเพื่อให้กำจัดสาหร่ายและของเสียในตู้ ต่อมาคนเลี้ยงเมื่อปลาตัวนี้มีขนาดใหญ่ขึ้นมากมักถูกนำไปปล่อยลงในแหล่งน้ำธรรมชาติ ผลที่ตามมาคือปลาตัวนี้จะไปรุกรานสัตว์น้ำท้องถิ่นในธรรมชาติโดยแย่งอาหารแย่งที่อยู่อาศัยและกินไข่หรือตัวอ่อนของสัตว์เหล่านั้นประกอบกับปลาซักเกอร์มีเกล็ดแข็งปกคลุมตัวและเงี่ยงแข็งที่ครีบทำให้มีศัตรูตามธรรมชาติน้อย ซึ่งการเพิ่มจำนวนของปลาตัวนี้อาจทำให้ปลาดุกอุยและปลาดุกด้านในแหล่งน้ำธรรมชาติของประเทศไทยสูญพันธุ์ได้

รูปที่1. ปลาซักเกอร์

ที่มาภาพ: http://www.fisheries.go.th/if-yasothon/web2/images/stories/1405255268-1384315156-o.jpg

เอกสารอ้างอิง http://www.vcharkarn.com/varticle/41678

                https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาซักเกอร์ธรรมดา

2. กุ้งเครย์ฟิช หรือกุ้งก้ามแดง หรือล็อบสเตอร์น้ำจืด (Crayfish, Crawfish, Freshwater lobster) กุ้งกลุ่มนี้มีมากกว่า 500 ชนิด มีถิ่นกำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปยุโรป โอเชียเนีย และเอเชียตะวันออกแต่ไม่มีกุ้งกลุ่มนี้ตามธรรมชาติในประเทศไทย

กุ้งเครย์ฟิชถูกนำเข้าในประเทศไทยเพื่อเป็นสัตว์น้ำสวยงามและครั้งหนึ่งเคยถูกส่งเสริมให้เลี้ยงในนาข้าวเพื่อเพิ่มรายได้ให้เกษตรกร ซึ่งเป็นสาเหตุให้กุ้งกลุ่มนี้แพร่กระจายสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ เรื่องที่น่ากังวลคือกุ้งเครย์ฟิช กินอาหารได้หลากหลายตั้งแต่หอย สาหร่าย ลูกปู ลูกกุ้งด้วยกันเอง หรือแม้กระทั่งตัวอ่อนของแมลงน้ำ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศและอาจทำให้สัตว์น้ำท้องถิ่นบางชนิดสูญพันธุ์ได้

แต่ปัจจุบันได้มีกฎหมายควบคุมเป็นประกาศกรมประมงฉบับที่ 2 ปี พ.ศ. 2559 ผู้มีความประสงค์เลี้ยงกุ้งตัวนี้ ให้แจ้งต่อเจ้าพนักงานและควบคุมดูแลไม่ให้กุ้งหลุดออกไปสู่ธรรมชาติได้

รูปที่ 2. กุ้งเครย์ฟิชหรือกุ้งก้ามแดง
ที่มาภาพ https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/8/81/Cherax_Blue_moon.jpg
เอกสารอ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/เครย์ฟิช
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9580000090458
https://www.kasetkaoklai.com/home/2016/07/ด่วน-ผู้เลี้ยงกุ้งก้าม

3. หอยเชอรี่ หรือ หอยโข่งอเมริกาใต้ หรือ หอยเป๋าฮื้อน้ำจืด (Golden applesnail) ชื่อวิทยาศาสตร์ (Pomacea canaliculata) มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ นำมาเข้าประเทศไต้หวันจากประเทศอาร์เจนตินาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2522 ต่อมามีการนำเข้าประเทศญี่ปุ่นและประเทศจีนเพื่อใช้เป็นอาหารสดและอาหารกระป๋อง และเข้าสู่ประเทศไทยในปี พ.ศ. 2533 เพื่อเพาะเลี้ยงเป็นอาหาร แต่ต่อมาพบว่าไม่คุ้มค่าจึงเลิกกิจการและทำให้หอยพวกนี้หลุดออกมาสู่แล่งน้ำธรรมชาติ

หอยเชอรี่เป็นหอยที่มีคุณค่าทางอาหารสูงแต่ปัจจุบันไม่นิยมนำมาบริโภคแต่หอยชนิดนี้ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้แต่ก็ยังไม่เท่ากับโทษของหอยตัวนี้คือมันแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วและกัดกินพืชลักษณะนุ่มได้เกือบทุกชนิดแต่ที่สำคัญคือมันกัดกินต้นข้าวทำให้นาข้าวได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง

หอยชนิดนี้ทำความเสียหายกับนาข้าวมาหลายปีต่อมาจึงมีวิธีกำจัดและควบคุมหอยตัวนี้ได้ เช่นเก็บตัวและไข่ไปทำลาย ใช่สัตว์จำพวกเป็ดและนกกินลูกหอยและการใช้สารเคมี

นอกจากนี้ผลกระทบต่อระบบนิเวศของหอยตัวนี้คือทำให้นกปากห่างไม่อพยพกับประเทศบังคลาเทศตามฤดูการเพราะมีอาหารคือหอยตัวนี้กินซึ่งส่งผลกระทบทำให้นกท้องถิ่นของไทยถูกแย่งที่ทำรัง

รูปที่3. หอยเชอรี่

ที่มาภาพhttps://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/9f/Pomacea_canaliculata1.jpg/1280px-Pomacea_canaliculata1.jpg

รูปที่ 4. ไข่หอยเชอรี่
ที่มาภาพhttps://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/aa/Pomacea_canaliculata_eggs_on_Pistia_stratiotes.jpg

4. ปลาอัลลิเกเตอร์ หรือ ปลาจระเข้ (Alligator gar) ชื่อวิทยาศาสตร์ (Atractosteus spatula) มีถิ่นกำเนิดในทวิปอเมริกาเหนือ ปลาตัวนี้ถูกนำเข้ามาในไทยเพื่อเป็นปลาสวยงามของกลุ่มคนเลี้ยงปลากลุ่มหนึ่ง ช่วงแรกมีราคาแพง แต่ภายหลังสามารถเพาะเลี้ยงได้ทำให้ราคาถูกลงมาก ปลาตัวนี้เมื่อเต็มที่มีขนาดใหญ่ 7-8 ฟุต ภายในปากมีฟันที่แหลมคมสองแถว เกล็ดเป็นรูปสามเหลี่ยมมีสารเคลือบเหมือนสารเคลือบฟันเคลือบอยู่ ในสมัยโบราณชาวอินเดียแดงชนพื้นเมืองของอเมริกานำเกล็ดปลาชนิดนี้มาทำเป็นปลายของลูกธนู ปัจจุบันเคยพบปลาชนิดนี้ในแหล่งน้ำธรรมชาติหลายที่ คาดว่ามีคนนำมาปล่อยเพราะเมื่อปลาชนิดนี้ตัวใหญ่ขึ้นกินอาหารจุและยังมีฟันที่แหลมคมและมีรายงานว่าปลาชนิดนี้ทำร้ายมนุษย์

ปลาชนิดนี้อาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน้ำจืดตามธรรมชาติของไทยเพราะเมื่อโตเต็มที่มีขนาดใหญ่มาก อายุยืนถึง 60 ปี ทนทานต่อแหล่งน้ำที่มีคุณภาพน้ำต่ำ มีปริมาณออกซิเจนในน้ำน้อย กินอาหารไม่เลือกทั้งปลา นก ปลาชนิดนี้กินอาหารวันละ 2 ครั้ง และอาจกินอาหารมากกว่าน้ำหนักของตัวเอง อีกทั้งในระบบนิเวศน้ำจืดของไทยไม่มีศัตรูตามธรรมชาติของปลาตัวนี้จึงอาจทำให้มันแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วได้

รูปที่ 5. ปลาอัลลิเกเตอร์

ที่มาภาพ https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/2/21/Alligator_gar_%28Atractosteus_spatula%29.JPG/1920px-Alligator_gar_%28Atractosteus_spatula%29.JPG

รูปที่6. เกล็ดของปลาอัลลิเกเตอร์

                 ที่มาภาพ http://fish.ku.ac.th/Download/53_Alligator.pdf

เอกสารอ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาอัลลิเกเตอร์

                                  http://fish.ku.ac.th/Download/53_Alligator.pdf

5. เต่าญี่ปุ่น หรือ เต่าแก้มแดง (Red-eared slider) ชื่อวิทยาศาสตร์ (Trachemys scripta elegans) เป็นเต่าน้ำจืด มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ทวีปอเมริกาเหนืออาศัยในบริเวณพื้นที่ชุ่มน้ำ เหตุที่ได้ชื่อว่าเต่าญี่ปุ่นเพราะพ่อค้าชาวญี่ปุ่นเป็นคนแรกที่นำเข้ามาในไทย เต่าตัวนี้เมื่อเมื่อแรกเกิดตัวจะมีสีเขียวรอบดวงตามีสีแดง โตเต็มที่ประมาณ 1 ฟุต เต่าตัวนี้สมัยก่อนนิยมเลี้ยงกันมาเนื่องจากมีความน่ารักและราคาถูก แต่เมื่อเต่าโตขึ้นสีกระดองจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำดูไม่น่ารัก จึงอาจเป็นเหตุให้ถูกนำมาปล่อยตามแหล่งน้ำธรรมชาติได้

เนื่องจากเต่าญี่ปุ่นสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในประเทศไทยได้เป็นอย่างดี และยังทนทานต่อมลภาวะได้ดีกว่าเต่าพื้นเมือง ทำให้แพร่ขยายพันธุ์แย่งอาหารและถิ่นที่อยู่ของเต่าพื้นเมืองไทยจึงอาจส่งผลกระทบต่อประชากรเต่าพื้นเมืองของไทยได้

 

รูปที่7.และรูปที่8. เต่าญี่ปุ่นเมท่อมีขนาดเล็ก(ซ้าย) และเต่าญี่ปุ่นเมื่อโตเต็มวัย(ขวา)

เอกสารอ้างอิง https://th.wikipedia.org/wiki/เต่าญี่ปุ่น

สาเหตุที่สัตว์น้ำที่เป็นสัตว์รุกรานต่างถิ่นถูกนำเข้ามาในประเทศไทย

ส่วนมากนำเข้ามาเพื่อผลประโยชน์ทางการค้าเพื่อเป็นสัตว์น้ำสวยงามหรือเพื่อเป็นอาหารแต่ยังมีสัตว์สัตว์ต่างถิ่นที่รุกรานต่างถิ่นอีกหลายชนิดถูกนำเข้าประเทศเช่นการนำเข้ามาเพื่อเป็นสัตว์ทดลองด้านงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการนำเข้ามาโดยไม่ได้ตั้งใจ เช่นติดมากับวัสดุทางการเกษตร หรือติดมากับน้ำอับเฉาของเรือ

สาเหตุที่สัตว์น้ำที่เป็นสัตว์รุกรานต่างถิ่นหลุดรอดไปในแหล่งน้ำธรรมชาติ

เกิดจากการปล่อยอย่างจงใจ เช่นเลี้ยงนานเข้าเบื่อจึงปล่อยทิ้ง และความเชื่อทางประเพณีคือปล่อยเอาบุญและอีกสาเหตุคือหลุดจากที่เลี้ยงตอนเกิดน้ำท่วม

ผลกระทบจากสัตว์น้ำที่เป็นสัตว์รุกรานต่างถิ่น

คือสัตว์รุกรานต่างถิ่นแย่งอาหารและที่อยู่อาศัยของสัตว์พื้นเมืองเดิมและสัตว์รุกรานต่างถิ่นเป็นผู้ล่าสัตว์พื้นเมืองเดิมจนอาจทำให้สัตว์พื้นเมืองเดิมสูญพันธุ์ได้นอกจากนี้สัตว์เหล่านี้ยังทำลายสภาพแวดล้อมให้ทรุดโทรมลงอีกด้วย อีกทั้งสัตว์เหล่านี้อาจแพร่กระจายเชื้อโรคหรือรสิตที่ติดตัวมาสู่คนได้

ดังนั้นประชาชนจึงควรรู้และตระหนักถึงอันตรายจากสัตว์รุกรานต่างถิ่นและปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง เช่นไม่ซื้อ ไม่นำเข้าสัตว์เหล่านี้เข้ามาเลี้ยงหรือถ้าเลี้ยงไว้แล้วก็ดูแลที่เลี้ยงให้มั่นคงแข็งแรงและไม่นำสัตว์เหล่านี้ไปปล่อยสู่แหล่งน้ำธรรมชาติซึ่งผลกระทบที่เกิดขึ้นนั้นร้ายแรงมากกว่าที่เราคิด

เอกสารอ้างอิง http://www.fisheries.go.th/bch/images/pdf/aquatic%20alien1.pdf