ดาวมงกุฎหนาม หรือ ปลาดาวหนาม (Crown-of-thorns starfish, Acanthaster planci) เป็นดาวทะเลชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่ มีแขนรวมกันทั้งหมด 16-21 แฉก มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 25-30 เซนติเมตร         ดาวมงกุฎหนามมีลักษณะทั่วไปคล้ายกับดาวทะเล แต่มีจำนวนแขนมากกว่า บริเวณแขนมีหนามแหลมยาว ค่อนข้างแข็ง เนื่องจากมีส่วนประกอบของหินปูน ซึ่งบริเวณผิวของหนามเหล่านี้มีสารพิษที่เรียกว่าสารซาโปนิน (saponins) เคลือบอยู่ ซึ่งมีพิษต่อสัตว์หลายชนิดมีปากอยู่ทางด้านล่าง มีกระเพาะอยู่ด้านนอก ใต้แขนมีขาขนาดเล็กๆ คล้ายๆ กับปุ่มที่หนวดปลาหมึกเป็นจำนวนมาก ยื่นออกมายึดเกาะพื้น ดาวมงกุฎหนามเป็นสัตว์ที่แยกเพศ มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ โดยตัวเมียปล่อยไข่ออกมานอกตัว และตัวผู้ปล่อยสเปอร์มออกมาผสม

พันธุ์ พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในทะเลเขตอินโดแปซิฟิก เป็นปลาดาวที่ได้รับการกล่าวขวัญมากที่สุด เพราะเป็นตัวการที่ทำให้แนวปะการังหลายแห่งในโลกเสียหาย ดาวมงกุฎหนามจะกินปะการังเป็นอาหาร โดยการปล่อยกระเพาะอาหารออกมาคลุมบนปะการัง และปล่อยน้ำย่อยออกมาย่อยเนื้อเยื่อปะการังแล้วดูดซึมเข้าไปเลย   ที่ใดที่ดาวมงกุฎหนามกินแล้วจะเห็นชัดว่าปะการังบริเวณนั้นจะขาว เพราะเนื้อเยื่อถูกกินไปหมดจนเหลือแต่โครงสร้างหินปูน เมื่อปะการังตายจะถูกแรงคลื่น ทำให้หักพังได้ง่าย

ปริมาณดาวมงกุฎหนามมากขนาดไหนจึงจะเรียกว่าระบาด? ยังเป็นคำถามที่ตอบได้ยาก              แต่นักวิทยาศาสตร์บางท่านได้ประมาณไว้ว่า การที่จะเรียกว่าระบาด ควรจะพบดาวมงกุฎหนามได้มากกว่า 14 ตัว ต่อพื้นที่ 1,000 ตารางเมตร หรือจากการว่ายน้ำดูแล้วพบดาวมงกุฎหนามมากกว่า 40-100 ตัว ใน 20 นาที

ที่มาภาพ : https://www.komchadluek.net/news/457453

แต่ในขณะเดียวกันดาวมงกุฎหนามเองก็มีศัตรูตามธรรมชาติ คือหอยสังข์แตร (Charonia tritonis)  ที่กินดาวมงกุฎหนาม เป็นอาหาร ถือเป็นสัตว์ที่เป็นตัวควบคุมมิให้ปริมาณดาวมงกุฎหนามมีปริมาณมากเกินไปด้วย รวมถึงปูขนาดเล็กบางชนิดหนึ่งที่ซ่อนตัวในปะการัง ใช้ก้ามในการต่อสู้กับดาวมงกุฎหมายมิให้มากินปะการังอันเป็นที่หลบอาศัยด้วยแต่ก็ทำได้เพียงแค่ขับไล่ให้ออกไปเท่านั้น

เอกสารอ้างอิง

http://www.rtncn.ac.th/wp-content/uploads/2021/09/ดาวมงกุฎหนาม11964.pdf

https://www.dmcr.go.th/detailAll/469/ns/14

https://th.wikipedia.org/wiki/ดาวมงกุฎหนาม