ปลากระเบน (string ray)

เป็นสัตว์จำพวกปลากระดูกอ่อน มีทั้งหมดประมาณ 400 ชนิด พบได้ทั้งใน น้ำจืด น้ำกร่อยและน้ำเค็ม มีรูปร่างแบนราบ ครีบทั้งหมดอยู่ชิดติดกับลำตัวด้านข้าง มีท่อน้ำออก (spiracle) 1 คู่ อยู่ด้านหลังของหัว ทำหน้าที่ให้น้ำเข้าออกไหลเวียนผ่านเหงือกเพื่อการหายใจ ซึ่งจะไม่ไหลเวียนผ่านปากซึ่งอยู่ด้านล่างลำตัวเหมือนกับปลาฉลามหรือปลากระดูกแข็งจำพวกอื่น

ปลากระเบนมีนิสัยชอบกบดานตามชายทะเลที่น้ำตื้น โดยจะฝังตัวใต้พื้นทรายหรือโคลนใต้น้ำ หากินตามพื้นท้องน้ำอาหารส่วนมากก็ได้แก่ หอย กุ้ง ปู หรือปลาขนาดเล็กตามพื้นน้ำ เป็นส่วนใหญ่ โดยใช้ฟันที่มีลักษณะเป็นฟันบด (morariform teeth) ขบเปลือกของอาหารให้แตกก่อน

[bs_row class=”row”][bs_col class=”col-sm-6″]

ปลากระเบน
รูปที่ 1. ปลากระเบน

[/bs_col][bs_col class=”col-sm-6″]

ฟันของปลากระเบน
รูปที่ 2. ฟันของปลากระเบน

[/bs_col][/bs_row]

ปลากระเบนแบ่งออกได้เป็น 4 กลุ่มใหญ่ (อันดับ) ได้แก่

1. อันดับปลากระเบน (Order Myliobatiformes) ได้แก่กลุ่ม กระเบนธง กระเบนนก

[bs_row class=”row”][bs_col class=”col-sm-6″]

ปลากระเบนธง
รูปที่ 3. ปลากระเบนธง


[/bs_col][bs_col class=”col-sm-6″]

ปลากระเบนนก
รูปที่ 4. ปลากระเบนนก

 

[/bs_col][/bs_row]

2. อันดับปลาโรนัน  (Order Rajiformes) ได้แก่กลุ่ม ปลาโรนันและปลาโรนิน

[bs_row class=”row”]
[bs_col class=”col-xs-6″]

ปลาโรนัน
รูปที่ 5. ปลาโรนัน

 

[/bs_col]
[bs_col class=”col-xs-6″]

ปลาโรนิน
รูปที่ 6. ปลาโรนิน

 

[/bs_col]
[/bs_row]

3. อันนับปลาฉนาก (Order Pristiformes) ได้แก่กลุ่มปลาฉนาก

ปลาฉนาก
รูปที่ 7. ปลาฉนาก

4. อันดับปลากระเบนไฟฟ้า (Order Torpediniformes) ได้แก่กลุ่มปลากระเบนไฟฟ้า

ปลากระเบนไฟฟ้า
รูปที่ 8. ปลากระเบนไฟฟ้า

 

ประโยชน์ของปลากระเบน

  1. เนื้อใช้ทำอาหารเช่น ผัดเผ็ด, ผัดขี้เมา หรือผัดฉ่า เช่นเดียวกับปลาฉลามได้
  2. หนังใช้ทำผลิตภัณฑ์เครื่องหนังเช่น กระเป๋าสตางค์
  3. ปลากระเบนหางสั้นบางชนิดที่อยู่ในน้ำจืดเลี้ยงเป็นปลาสวยงาม เช่น ปลากระเบนดำ และปลากระเบนโมโตโร่
รูปที่ 9. ปลากระเบนโมโตโร่
รูปที่ 9. ปลากระเบนโมโตโร่

อันตรายจากปลากระเบน

ปลากระเบนชอบกบดานอยู่ที่พื้นทะเล ดังนั้นการเดินเล่นในน้ำที่ชายฝั่ง ต้องระมัดระวังเพราอาจไปเหยียบปลากระเบนและถูกเงี่ยงพิษตำได้

รูปที่ 10. อันรายจากเงี่ยงปลากระเบน
รูปที่ 10. อันรายจากเงี่ยงปลากระเบน

การปฐมพยาบาล

เนื่องจากเงี่ยงกระเบนจะมีหนามที่มีลักษณะ คล้ายกับฟันเลื่อยอยู่โดยรอบ ดังนั้นเมื่อถูกแทงหรือตำจึงดึงออกยาก บางครั้งอาจต้องทำการผ่าตัดออก อาการที่ได้รับจากเงี่ยงพิษปลากระเบนตำจะเกิดขึ้นหลังจากถูกตำประมาณ 10 นาที คือมีอาการปวดหนึบๆ เป็นพักๆ จากนั้นแผลจะอักเสบ บวมขึ้นเป็นผื่นแดง

การปฐมพยาบาลเบื้องต้นทำได้โดย จุ่มบริเวณที่ถูกตำลงในน้ำร้อนจัดที่พอทนได้ หรือใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำร้อนพันรอบบริเวณแผลอย่างน้อย 20 นาที จะช่วยบรรเทาอาการปวด หลังจากนั้นจึงใส่ยาสำหรับแผลสดและควรรีบนำส่งแพทย์ต่อไป

การป้องกัน

ควรระมัดระวังขณะเดินเล่นที่ชายฝั่งทะเล เพราะอาจไปเหยียบเงี่ยงปลากระเบนได้ หรือระหว่างการเล่นในน้ำควรทำให้เกิดเสียงดัง เพื่อให้ปลากระเบนตกใจหนีไป

[bs_well size=”lg”]

เอกสารอ้างอิง

[/bs_well]

[bs_well size=”lg”]

ที่มารูป

[/bs_well]