ปลาดุกทะเลมีชื่ออื่นวา ปลาดุกทะเลยักษ์ หรือ ปลาดุกทะเลดำ หรือ ปลาดุกทะเลเทา
มีชื่อภาษาอังกฤษว่าCommon name: Black eeltail catfish, Gray eeltail catfish,
Canine catfish eel
ชื่อวิทยาศาสตร์: Plotosus canius อยู่ในวงศ์ วงศ์ปลาดุกทะเล (Plotosidae)
ลักษณะทั่วไป
หัวมีขนาดใหญ่กว่าลำตัว ที่ปลายปากมีหนวด 4 คู่ลำตัวยาวเรียว ผิวหนังไม่มีเกล็ด ลำตัวสีเทาหรือดำ ลักษณะเด่นที่แตกต่างจากปลาดุกน้ำจืดคือหัวมีขนาดใหญ่กว่าตัว ครีบหลังแบ่ง 2 ตอน ตอนแรกตั้งขึ้นมีก้านครีบแข็ง 1 อัน ครีบหลังส่วนท้ายยาวตลอดลำตัวไปรวมกับครับหางและครีบก้น ซึ่งปลาดุกน้ำจืด ครีบหลัง ครีบหางและครีบก้นจะแยกออกจากกันชัดเจน และไม่มีก้านครีบแข็งบนครับหลังเหมือนปลาดุกทะเล
ภาพ ปลาดุกทะเล (ซ้าย) เปรียบเทียบกับปลาดุกน้ำจืด (ขวา)
ที่มาภาพ: https://www.fishbase.de/images/species/Plcan_j0.jpg https://www.fishbase.de/images/species/Clmac_u2.jpg
https://www.fishbase.de/images/species/Plcan_u0.gif https://www.fishbase.de/images/species/Clmac_u0.gif
พบได้ทั่วไปตามชายฝั่งหรือป่าชายเลนริมทะเล โดยขุดรูอยู่ ซึ่งอาจพบอยู่รวมกันได้ถึง 10-20 ตัว เป็นปลาที่วางไข่ในแหล่งน้ำกร่อยหรือน้ำจืด ไข่มีขนาดใหญ่ และมีปริมาณที่น้อย พบกระจายพันธุ์ในแถบ อินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่บังกลาเทศ, อินเดีย, ศรีลังกา, พม่า, ไทย เรื่อยไปจนถึงฟิลิปปินส์, ปาปัวนิวกินี และออสเตรเลีย โตเต็มที่ยาวประมาณ 1.5 เมตร หนัก 10 กิโลกรัม มีพิษร้ายแรงที่ก้านครีบ หากถูกก้านครีบแทงจะทำให้เจ็บปวดมาก บางคนอาจถึงแก่ชีวิตได้ การจับปลาดุกทะเลต้องอาศัยความระมัดระวังอย่างยิ่งและใช้ทักษะในการจับมากกว่าปลาดุกน้ำจืด เนื่องจากมีก้านครับแข็งที่มีพิษที่หลัง พบกับปลาดุกทะเลตัวเป็นๆ ได้ที่สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำภูเก็ต
เรียบเรียงโดย สุรพงษ์ บรรจงมณี
เอกสารอ้างอิง
-https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาดุกทะเล
-https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาดุกทะเลยักษ์
-https://www.fishbase.de/photos/ThumbnailsSummary.php?ID=4805
-https://www.fishbase.de/summary/8167