ในช่วงที่มีการระบาดของโรค COVID 19 นี้ หลายท่านอาจจะต้องเก็บตัวไม่ได้ออกไปไหน ดังนั้นจึงเสนอเกร็ดความรู้เรื่องปลาที่เป็นอาหารยอดนิยมกลุ่มหนึ่งของอาหารไทย

 หลายท่านคงเคยรับประทานน้ำพริกปลาทู ตอนที่เราไปตลาดเพื่อซื้อปลาทูมาทอด ท่านเคยสังเกตหรือไม่ว่าที่แผงขายปลามีปลาหลายชนิดที่หน้าตาคล้ายกันวางขายอยู่ใกล้ๆ กัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าตัวไหนคือปลาทู

ปลาทูเป็นปลาอยู่ในวงศ์ (ครอบครัว) เดียวกับปลาอินทรีย์ ปลาทูน่า และปลาโอ ปลาในกลุ่มปลาทูที่เราเห็นมี 3 ชนิด คือ

  1. ปลาทู

          ชื่อเรียกอื่น ปลาทูตัวสั้น หรือ ปลาทูสั้น

          ชื่อภาษาอังกฤษ Short mackerel

          ชื่อวิทยาศาสตร์: Rastrelliger brachysoma

           ลักษณะลำตัวแบนป้อมสั้น ตาเล็กปากแหลม แป้นยาวเพรียว เกล็ดเล็กละเอียด มีครีบหลัง 2 อัน ครีบหลังอันแรกมีก้านแข็ง ส่วนอันหลังก้านครีบอ่อน ครีบท้องมีก้านครีบแข็ง 1 อัน สีตัวพื้นท้องสีขาวเงิน มีความยาวประมาณ 14–25 เซนติเมตร

     

     ภาพที่1. ปลาทู Short mackerel (Rastrelliger brachysoma)

     ที่มาภาพ: https://www.fishbase.in/images/species/Rabra_u6.jpg    

  1. ปลาลัง

          ชื่อเรียกอื่น ปลาทูลัง หรือ ปลาทูโม่ง

          ชื่อภาษาอังกฤษ Indian mackerel

          ชื่อวิทยาศาสตร์: Rastrelliger kanagurta

          ลักษณะลำตัวยาวเรียว ความยาวของหัวยาวกว่าความกว้างของลำตัว ปากกว้างครีบหลังมี 2 อัน ครีบหางเว้าลึกเป็นส้อม พื้นลำตัวมีสีน้ำเงินปนเขียวมีจุดดำ 2 แถวเรียงไปตามแนวสันหลังใต้ฐานครีบหลังมีแถบสีดำพาดไปตามความยาวของลำตัว บริเวณฐานครีบมีจุดสีดำข้างละจุด มีความยาวประมาณ 14–25 เซนติเมตร

       

ภาพที่2. ปลาลัง Indian mackerel (Rastrelliger kanagurta)

ที่มาภาพ: https://www.fishbase.se/images/species/Rakan_u5.jpg

                ปลาทูและปลาลังเป็นปลาที่อยู่ในกลุ่มที่ใกล้กันมากคืออยู่ในสกุล (genus) เดียวกัน ซึ่งปลาทั้งสองมีลักษณะที่ใกล้เคียงกันมาก จนบางครั้งอาจจะแยกปลาทั้งสองไม่ออกว่าตัวใดคือปลาทูตัวใดคือปลาลัง

       

  ภาพที่ 3. เปรียบเทียบรูปร่างปลาทู (บน) ปลาลัง (ล่าง)

 ที่มาภาพ: https://www.fishbase.in/images/species/Rabra_u6.jpg ,    

             https://www.fishbase.in/images/species/Rabra_u6.jpg

วิธีแยกปลาทั้งสองออกจากกันแบบง่ายๆ ดังนี้คือ

          -ปลาทูความยาวของหัวจากปลายปากถึงฝาปิดเหงือกจะมีขนาดเท่าหรือใกล้เคียงกับความกว้างของหัว ส่วนปลาลังความยาวของหัวจะมากกว่าส่วนกว้างของหัว (ตามรูปที่ 3)

          -ปลาทูจะมีลักษณะตัวป้อม สั้น และแบนข้างมากหว่าส่วนปลาลังจะมีลำตัวยาวเรียวมากกว่าปลาลังจะมีลำตัวเรียวยาวมากก

          – ขนาดดวงตาของปลาลังเมื่อเทียบกับหัวจะมีขนาดใหญ่กว่าปลาทู

          -ปลาลังจะมีแถบสีนำตาลปนเขียวที่หลัง 2-3 แถบ แต่ปลาทู

ส่วนรสชาติของเนื้อปลาทั้งสองจากข้อมูลที่หามาได้ปลาทูจะมีเนื้อละเอียดมีมันมากและรสชาติอร่อยกว่าปลาลัง ส่วนปลาลังจะมีเนื้อหยาบแข็งและมีมันน้อยกว่าปลาทู

  1. ปลาทูปากจิ้งจก

          ชื่อภาษาอังกฤษ Island mackerel

          ชื่อวิทยาศาสตร์: Rastrelliger faughni

ปลาทูปากจิ้งจกเป็นปลาที่เป็นญาติใกล้ชิดกับปลาทูและปลาลังมีรูปร่างทั่วไปคล้ายกับปลาลังคือความยาวของหัวมากกว่าความกว้างของหัว แต่มีขนาดความยาวเท่าปลาทูและมีความกว้างของลำตัวน้อยกว่าปลาลัง ปลายปากแหลม ด้านบนลำตัวมีสีน้ำเงิน แวววาว ด้านท้องมีสีขาวเงิน มีความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร

รูปที่4. ปลาทูปากจิ้งจก Island mackerel (Rastrelliger faughni)

ที่มาภาพ https://www.fishbase.de/images/species/Rafau_u1.jpg

ปลาทูปากจิ้งจกโดยทั่วไปมีเนื้อหยาบแข็ง รสชาติไม่อร่อย ไม่เป็นที่นิยมรับประทาน

  1. ปลาทูแขก  เป็นปลาที่อยู่ในสกุล Decapturus ในวงศ์ปลาหางแข็ง (Carangidae) ซึ่งปลากลุ่มนี้เส้นข้างลำตัวด้านท้ายลำตัวมีลักษณะเป็นแถวของเกล็ดซ้อนกันเป็นแถวมองเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะบริเวณคอดหาง ปลาทูแขกเป็นปลาคนละกลุ่มกับปลาทู ปลาลัง และปลาทูปากจิ้งจก ที่เป็นปลาในกลุ่มเดียวกับปลาอินทรี แต่ปลาทูแขกเป็นปลาในกลุ่มเดียวกับปลาหางแข็งและปลาโมง ปลาทูแขกมีรูปร่างเรียวยาว ลำตัวตัวกลมเนื้อหนาแน่น มีเกล็ดหนามแข็งที่โคนหางซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะตัวของปลาในกลุ่มนี้ ซึ่งดูเผินๆ คล้ายกับปลาลัง

รูปที่5. ปลาทูแขก Shortfin scad (Decapterus macrosoma) ลักษณะเด่นคือเส้นข้างตัวที่บริเวณหางเป้นเกล็ดขนาดใหญ่

ที่มาภาพ: ดัดแปลงจากhttps://www.fishbase.de/images/species/Demac_u8.jpg

        ตอนนี้เวลาท่านไปเลือกซื้อปลามารับประทานคงจะแยกออกแล้วว่าตัวไหนคือปลาทู ปลาลัง หรือปลาทูแขก แต่ความนิยมใช้ประโยชน์ปลาในกลุ่มนี้แต่ละพื้นที่อาจไม่เหมือนกัน เช่นที่สถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำภูเก็ตจะใช้ปลาทูแขกเป็นปลาเหยื่อที่ใช้เลี้ยงสัตว์น้ำที่จัดแสดง แต่เคยเห็นที่ Langkawi Underwater World ประเทศมาเลเซียใช้ปลาทูเป็นอาหารสัตว์น้ำ อาจเป็นเพราะว่าคนไทยนิยมบริโภคปลาทูเลยเอาปลาทูแขกไปเป็นอาหารสัตว์น้ำ แต่คน (แขก) มาเลเซียอาจจะนิยมบริโภคปลาทูแขกมากกว่าเลยเอาปลาทูมาเลี้ยงสัตว์น้ำแทน และอาจเป็นที่มาของชื่อปลาทูแขกเพราะคนแขก (มาเลย์) นิยมบริโภค

เรียบเรียงโดย สุรพงษ์ บรรจงมณี

บรรณานุกรม

https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาทู

https://today.line.me/th/v2/article/MgYV5M

https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาลัง

https://sites.google.com/site/2542rastrelligerbrachysoma/chnid-khxng-pla-thu

https://www.technologychaoban.com/fishery-technology/article_2276

https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาทูปากจิ้งจก

https://www.technologychaoban.com/fishery-technology/article_2276

https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาทูแขก