Common name : Fish lice

Genus name :  Argulus sp.

สาเหตุ : เกิดจากปรสิตไปเกาะอยู่บริเวณผิว ตามลำตัว ครับ หาง และเหงือกของปลา มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ขนาด 4-10 มิลลิลิตร ลำตัวแบนคล้ายจานคว่ำกึ่งโปร่งใส และใช้เข็มที่ปากแทงเข้ากินน้ำเลี้ยงของปลาซึ่งทำให้ปลาตกเลือดหรือเกิดแผลหลุม

อาการ : ว่ายน้ำทุรนทุราย มักพบอาการว่ายน้ำถูข้างบ่อเพื่อให้ปรสิตหลุด เลือดออกตามลำตัวหรือเกิดแผลหลุม พบได้ทั่วไปทั้งในปลาน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยพบในปลาที่โตเต็มวัย ได้แก่ ปลาคาร์ฟ ปลากะพงขาว ปลาช่อนทะเล หากไม่รักษาปลาจะทยอยตาย

ที่มา : https://koipetchfarm.com/blog/5

การป้องกันและรักษา :

  1. ป้องกันไม่ให้ปรสิตเข้ามาในบ่อ เช่น การกรองน้ำก่อนนำมาเลี้ยงปลา หรือกักกันปลาที่

นำเข้ามาใหม่และตรวจสอบโรคก่อนปล่อยเลี้ยงรวมกัน

  1. ถ้าปริมาณเห็บปลาไม่มาก กำจัดโดยใช้ปากคีบดึงเห็บปลาออก กรณีแน่นมากให้หยด

น้ำเกลือ 1-2 หยด แล้วดึงออก

  1. แช่ปลาในฟอร์มาลิน 100-250 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 30-60 นาที วันละครั้ง

ติดต่อกันนานประมาณ 3 วัน

  1. แช่ปลาในไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ (H,02) 1,000 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 30-60 นาที

  2. แช่ปลาในด่างทับทิม 1 กรัม ต่อน้ำ 10 ลิตร นาน 15 – 30 นาที

  3. แช่ปลาในไตรคลอร์ฟอน (ดิพเทอเร็กซ์) อัตรา 0.5 – 0.75 กรัม ต่อน้ำ 1,000 ลิตร นาน 24 ชั่วโมง

อ้างอิง

เจนจิตต์ คงกำเนิด. (2563). คู่มือการตรวจโรคปรสิตในสัตว์น้ำชายฝั่ง. สืบค้นจาก https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20230516110030_1_file.pdf

พีระวัฒน์ วุฒิพศินกิจ. (ม.ป.ป.). โรคปรสิตในสัตว์น้ำและการป้องกันรักษา. สืบค้นจาก https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20220208113525_1_file.pdf