กั้งตั๊กแตน พบอาศัยเฉพาะในทะเลและบริเวณน้ำกร่อย โดยเฉพาะบริเวณเขตร้อน มักอาศัยในรูที่มันขุด หรืออาศัยตามซอกหินหรือปะการัง พบตั้งแต่เขตน้ำขึ้นน้ำลง ไปจนถึงระดับความลึก 1,500 เมตร ทั่วไปพบประมาณ 450 ชนิด ในประเทศไทยมีรายงานพบแล้วอย่างน้อย 61 ชนิด และที่นำมาบริโภคมีเพียง 7 ชนิด กั้งตั๊กแตนเป็นสัตวทะเลในกลุ่มครัสเตเชียน เช่นเดียวกับพวกปูและกุ้ง จึงมีรสชาติคล้ายกับเนื้อปูและเนื้อกุ้ง

          กั้งตั๊กแตนตัวเต็มวัยจะมีรูปร่างที่สมบูรณ์ชัดเจน คือ ลำตัวจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ ส่วนหัว
ส่วนนอก และส่วนท้อง มีกระดองปกคลุมไปทั้งลำตัว มุมด้านหน้ามีลักษณะแหลม เรียกว่าแผ่นกรี กั้งต๊กแตนตัวเมียจะมีขนาดตัวใหญ่กว่าตัวผู้เมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ ไข่ของกั้งตั๊กแตนจะมีสีเหลืองอมส้ม ซึ่งกั้งตั๊กแตนที่มีไข่แก่เต็มท้องจะเป็นที่นิยมในการบริโภค ทำให้มีการทำการประมงในช่วงฤดูผสมพันธุ์เพิ่มขึ้น เป็นเหตุให้จำนวนกั้งตั๊กแตนลดจำนวนประชากรลงในธรรมชาติ เพื่อเป็นการทดแทนกั้งตั๊กแตนที่ลดจำนวนลงในธรรมชาติ จึงได้มีการศึกษาวิจัยในเรื่องของการเพาะเลี้ยงกั้งตั๊กแตน จนประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง

           ภาพ ถังอนุบาลกั้งตั๊กแตน

          ที่มา รายงานการวิจัยและพัฒนาการวิจัยการเกษตรฉบับสมบูรณ์

          ปัจจุบันกั้งตั๊กแตนมีราคาค่อนข้างสูง เฉลี่ยกิโลกรัมละ 300 – 1,500 บาท ตามแต่ละขนาดของไซส์ที่นำมาขาย และความต้องการของตลาด โดยเฉพาะช่วงเทศกาลตรุษจีน ทำให้ปริมาณยอดการสั่งซื้อมีจำนวนสูงขึ้นกั้งตั๊กแตนเริ่มไม่พอขาย ราคาจึงขยับขึ้น

ภาพ ข่าวราคากั้งตั๊กแตนพุ่งสูงขึ้น

          ที่มา ไทยรัฐออนใลน์

เอกสารอ้างอิง

สุรชาต ฉวีภักอิ์ และคณะ. 2563.การเพาะเลี้ยงกั้งตั๊กแตน. รายงานการวิจัยและพัฒนาการวิจัยการเกษตรฉบับสมบูรณ์. สำนักงานการพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน)

สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งจังหวัดนครศรีธรรมราช. 2535. กั้งตั๊กแตน. วารสารการประมง. 45: 993-998.