เนื่องสัตว์น้ำเป็นหนึ่งในสัตว์เลี้ยงที่ได้รับความนิยมไม่แพ้สัตว์เลี้ยงชนิดอื่น ๆ ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่สามารถพบการป่วย และความผิดปกติต่างๆ ได้ซึ่ง มักเป็นปัญหา และก่อให้เกิดผลกระทบต่อการเพาะเลี้ยงเป็นอย่างมากซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดการป่วยนั้นมีอยู่ค่อนข้างมาก แต่สามารถแบ่งสาเหตุของการแสดงอาการในสัตว์น้ำได้ 2 แบบได้แก่ โรคที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อ (Infectious disease) และไม่ติดเชื้อ (Non-infectious disease) ซึ่งภาวะติดเชื้อในที่นี้คือ สิ่งมีชีวิตที่สามารถส่งผลด้านสุขภาพแก่สัตว์น้ำ เช่น เชื้อไวรัส, เชื้อแบคทีเรีย, เชื้อรา, และ ปรสิต ต่างๆ ซึ่งอาจทำให้เห็นรอยโรค หรือ ภาวะที่แปลงไปที่เจ้าของสัตว์สามารถสังเกตเห็น นอกจากการติดเชื้อที่ได้กล่าวไปเบื้องต้นแล้ว ด้วยความแตกต่างทาง สีระวิทยา สัตว์น้ำนั้นเป็นสัตว์เลือดเย็น (Poikilotherm) และเป็นสัตว์น้ำที่ เรา ๆนั้นมักเลี้ยงไว้ในภาชนะต่าง ๆ ตามความชอบ โดยที่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นระยะ และมีระบบบำบัดน้ำหรือไม่ก็ตามซึ่งการจัดการของเสียต่างๆ ในน้ำที่ใช้เลี้ยงจะมาจากการเปลี่ยนถ่ายน้ำเท่านั้น ผู้เขียนขออนุญาตเรียก ระบบการเลี้ยงนี้ง่าย ๆ ว่า”ระบบปิด” ซึ่งการจัดการคุณภาพน้ำที่ไม่เหมาะสมในระบบปิดนี้เองที่มักก่อให้เกิดปัญหาที่ส่งผลเสียด้านสุขภาพอย่างที่คาดไม่ถึง ซึ่งส่วนสำคัญในโรคสัตว์น้ำที่มีสาเหตุจากการไม่ติดเชื้อ (Non-infectious disease) มีตัวอย่างเช่น สารแอมโมเนียที่มากเกินไปในน้ำ, สารคลอรีนในน้ำประปา, อุณหภูมิที่ สูงหรือต่ำเกินไป และ อีกมากมาย ซึ่งเมื่อพบอุบัติการณ์ของการป่วยขึ้นแล้ว การสืบค้นเพื่อหาสาเหตุ และการรักษาโรคมักจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสัตว์น้ำมีลักษณะจำเพาะหลายอย่างที่แตกต่างจากสัตว์เลือดอุ่น โดยที่สิ่งแวดล้อมมักมีผลต่อกระบวนการทำงานในระบบต่างของร่างกาย ซึ่งในหากมองในส่วนของสุขภาพสัตว์ในนั้นปัจจัยสำคัญคือ ภูมิคุ้มกันของสัตว์น้ำ, ความรุนแรงในการก่อโรคของเชื้อ และ สิ่งแวดล้อม
ซึ่งปัจจัยทั้งสามมีความสำคัญต่อสุขภาพสัตว์น้ำเป็นอย่างยิ่ง ในกระบวนการของร่างกายนั้นมีความจำเพาะในป้องกันและกำจัดเชื้อต่าง ๆ อยู่ซึ่งในกรณีของสัตว์น้ำกระบวนการสร้างพลังงาน หรือ กิจกรรมต่างจะมาจากอุณหภูมิภายนอก ซึ่งกระบวนการนี้เองก็จะนำมาสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่ากาย
หากมองในส่วนของเชื้อก่อโรค(Agent) นั้น เชื้อก่อโรคเองมีการพัฒนาให้สามารถเข้าสู่ร่างกายของ สัตว์เช่นกันนอกจากนี้เชื้อก่อโรคต่าง ๆยังสามารถแลกเปลี่ยนสารพันธุกรรมกับ เชื้อที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่ว ๆไป (Normal flora) อันเป็นสาเหตุของการดื้อยา ในเชื้อก่อโรค ซึ่งสิ่งแวดล้อมของสัตว์น้ำที่ได้กล่าวไว้ว่า ตู้ปลาระบบปิด นั่นเองที่มีความสำคัญ เนื่องจากสิ่งแวดล้อมนั้นมักถูกปรับแต่ง หรือ แต่งเติมจากการจัดการไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มยา และ สารเคมีลงไป หรือ แม้แต่การเปลี่ยนน้ำใหม่เพื่อให้มีคุณภาพน้ำที่เหมาะสม ซึ่งสิ่งแวดล้อมนั่นเองที่เป็นที่อยู่ทั้งสัตว์น้ำ (Host) และ เชื้อจุลินทรีย์ (Agent) ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นเชื้อก่อโรค, หรือเชื้อทั่วไปในสิ่งแวดล้อม (Normal flora) ทำให้สิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลด้านสุขภาพของสัตว์น้ำที่ทำการเพาะเลี้ยง ดังนั้นการจัดการสิ่งแวดล้อมไม่ว่าจะเป็นความหนาแน่นของสัตว์น้ำ คุณภาพน้ำ การกักโรคสัตว์น้ำที่นำเข้ามาให้ (Quarantine) การควบคุมอุณหภูมิให้เหมาะสมต่อชนิดของสัตว์น้ำที่ทำการเพาะเลี้ยง (Optimum temperature) และ การเลือกใช้ยาและสารเคมีเพื่อการรักษาโรคที่ได้รับการวินิจฉัยสาเหตุมาจากการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial infection) เองก็เป็นปัจจัยสำคัญเนื่องจากประเทศไทยมีการใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างมากในทั้งสัตว์บริโภค และ สัตว์เลี้ยง ซึ่งควรศึกษาการใช้ยาปฏิชีวนะ หรือ ปรึกษาสัตวแพทย์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมตามหลักการบำบัดโรคสัตว์ และ ยังสามารถลดความเสี่ยงของการเกิดการดื้อยาปฏิชีวนะในเชื้อก่อโรคได้เป็นอย่างมาก