-
เข้าหาตัวสัตว์อย่างระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงส่วนปากและหาง หากสัตว์อยู่ในน้ำให้ช่วยประคองสัตว์ไวโดยให้ช่องหายใจและครีบหลังอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง
-
หากสัตว์เกยตื้นขึ้นมาบริเวณหาด ให้ขุดทรายบริเวณใต้ครีบอกและลำตัวของสัตว์ และเติมน้ำลงไป เพื่อช่วยลดแรงกดของน้ำหนักตัวของสัตว์
-
หากสัตว์เกยตื้นบริเวณหาดหิน ควรเบาะ หรือวัสดุปูรองที่มีความหนา รองใต้ลำตัวของสัตว์ และใช้ผ้าเปียกคลุมบริเวณลำตัว เพื่อเก็บความชุ่มชื้นของผิวหนัง ไม่ควรวางผ้าขนหนูคลุมบริเวณช่องหายใจและครีบหลัง อีกทั้งไม่ควรเทน้ำลงบนช่องหายใจ
-
ปกป้องตัวสัตว์จากสภาวะแวดล้อมต่างๆ ได้แก่ พื้นทราย และแสงแดด เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียน้ำในร่างกายมากยิ่งขึ้น
-
ปกป้องดวงตา และช่องหายใจ จากทราย น้ำ และสิ่งแปลกปลอม
-
ปกป้องครีบอก และครีบหาง หลีกเลี่ยงการยกครีบทั้งสอง เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายกับกระดูกและเนื้อเยื่อบริเวณนั้นได้
-
ควบคุมฝูงชนให้อยู่ห่างจากตัวสัตว์ เพื่อลดความเครียดของสัตว์เนื่องจากความเครียดสามารถทำให้สัตว์ตายได้
-
หากสภาพแวดล้อมเหมาะสม และสัตว์มีสภาพสมบูรณ์แข็งแรงพอที่จะปล่อยกลับสู่ทะเล ให้ใช้เปลที่เหมาะสมในการยกตัวสัตว์ลงสู่ทะเล หากเปลไม่ช่องสำหรับครีบอก จะต้องจัดครีบอกให้แนบชิดลำตัว และต้องแน่ใจว่าครีบอกไม่บิด หรืออยู่ผิดตำแหน่ง
-
เมื่ออยู่ในตำแหน่งความลึกที่เหมาะสมที่จะปล่อยสัตว์ ให้ยืนอยู่ในตำแหน่งด้านใดด้านหนึ่งของเปลที่จะสะดวกในการปล่อยสัตว์ ประคองตัวสัตว์โดยให้บริเวณครีบหลัง และช่องหายใจอยู่เหนือผิวน้ำ
ที่มาภาพ : https://mgronline.com/travel/detail/9650000115721
เอกสารอ้างอิง
https://www.dmcr.go.th/detailLib/2105