ข้อมูลนักท่องเที่ยว
สินค้าที่ระลึก
ทัวร์เสมือนจริง
บทความน่ารู้
ข่าวสาร
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
คลื่นทะเล Ocean wave
หน้าแรก
›
ฐานข้อมูลองค์ความรู้
›
คลื่นทะเล Ocean wave
คลื่นทะเลเป็นปรากฎการณ์ธรรมขาติที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของมวลน้ำทะเล โดยสามารถเกิดได้ทั้งจาก ลม แผ่นดินไหว การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกใต้ทะเล ความแตกต่างระหว่างความหนาแน่นของมวลน้ำชั้นบนและมวลน้ำชั้นล่าง คลื่นที่เราเห็นส่วนใหญ่ในทุกๆวันส่วนใหญ่เป็นคลื่นที่เกิดจากกระแสลม (Wind wave)
ส่วนคลื่นที่เรามองไม่เห็นจะเป็นคลื่นที่เกิดระหว่างชั้นของน้ำ (Internal wave)
คลื่นลม (Wind waves)
เป็นคลื่นทะเลที่พบได้บ่อยที่สุด เกิดจากระแสลมที่พัดผ่านผิวหน้าทะเลได้ส่งผ่านพลังงานจากชั้นบรรยากาศไปยังผิวน้ำ ทำให้มวลน้ำเกิดการเคลื่อนไหว ซึ่งความแรงของคลื่นจะขึ้นอยู่กับความเร็วของกระแสลม ระยะเวลาที่กระแสลมพัดเหนือน้ำ ระยะทางที่กระแสลมพัดเหนือน้ำเป็นต้น
ภาพ : การเกิดคลื่นลม
ที่มา :
http://www.marine.tmd.go.th/thai/oceanwave-thai.html
คลื่นเดิ่ง หรือ Swell
เป็นคลื่นที่เรียบยอดคลื่นไม่สูงมาก ยอดคลื่นเรียบสม่ำเสมอ สามารถเดินทางได้หลายพันไมล์โดยที่ไม่เปลี่ยนแปลงทั้งความสูงของคลื่นและระยะเวลา ยิ่งคลื่นยาวก็ยิ่งสามารถเดินทางได้ไกลขึ้น เร็วขึ้น เมื่อเข้าใกล้ชายฝั่งคลื่นจะเพิ่มความสู่งขึ้นประมาณ 1.5 เท่า ของความสูงเดิมเมื่ออยู่ในน้ำลึกก่อนจะแตกสลายกลายเป็นคลื่นซัดเข้าฝั่ง
ภาพ : คลื่นเดิ่ง หรือ Swell
ที่มา :
https://www.surfertoday.com/surfing/what-is-a-swell#google_vignette
คลื่นระหว่างชั้นน้ำ Internal wave
เป็นคลื่นที่เกิดขึ้นใต้น้ำซึ่งส่วนใหญ่มองไม่เห็น คลื่นชนิดนี้เกิดมาจากน้ำที่มีความหนาแน่นไม่เท่ากันเนื่องจากในทะเลหรือมหาสมุทรมีการบ่งชั้นของน้ำซึ่งมีปัจจัยหลักในการแบ่งชั้นของน้ำได้แก่ ความเค็ม อุณหภูมิ น้ำเค็มที่มีความเค็มสูงหรืออุณหภูมิต่ำจะจมตัวอยู่ชั้นล่างในขณะที่น้ำที่มีความเค็มต่ำกว่าหรืออุณหภูมิสูงกว่า
จะลอยตัวอยู่ชั้นบน ทำให้เกิดเป็นการแบ่งชั้นของน้ำเกิดขึ้น คลื่นนี้เคลื่อนที่คล้ายกับคลื่นผิวน้ำ
ภาพ : คลื่นใต้น้ำ
ที่มา :
https://mlml.sjsu.edu/physoce/internal-waves-in-monterey-bay/
เอกสารอ้างอิง
https://mlml.sjsu.edu/physoce/internal-waves-in-monterey-bay/
http://www.marine.tmd.go.th/thai/oceanwave-thai.html
https://www.noaa.gov/jetstream/ocean/waves
บทความล่าสุด
24 มิถุนายน 2024
ภาวะขาดวิตามินซี (Hypovitaminosis C)
19 มิถุนายน 2024
โรคตัวแดงดวงขาว (White spot disease; WSD)
17 มิถุนายน 2024
ปรากฏการณ์คลื่นพายุซัดฝั่ง (Stoem surge)