เป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่พบได้บริเวณชายฝั่งทะเล ลักษณะเป็นกระแสน้ำเชี่ยวที่เกิดขึ้นชั่วคราวและมีทิศทางไหลออกจากฝั่ง โดยเกิดจากการไหลมาบรรจบกันในแนวขนานฝั่งของมวลน้ำสุทธิจากสองทิศทางที่มาสะสมในบริเวณชายหาดจากกระทำของคลื่นที่เคลื่อนที่เข้ามากระทบฝั่ง ทำให้สามารถพัดพาคนที่กำลังเล่นน้ำในบริเวณที่เกิดกระแสน้ำออกสู่ทะเลได้อย่างรวดเร็ว และก่อให้เกิดอันตรายแก่ชีวิตได้

ภาพกระบวนการเกิดคลื่นย้อนกลับ (1) เมื่อคลื่นเคลื่อนตัวเข้ากระทบฝั่ง (2) และชักนำให้เกิดการไหลของมวลน้ำในทิศทางขนานฝั่ง (3) – (4) เมื่อมวลน้ำดังกล่าวไหลมาบรรจบกัน หรือสะสมในบริเวณหนึ่งจะก่อให้เกิดกระแสน้ำเชี่ยวไหลออกจากฝั่งในช่วงเวลาสั้น ๆ

ที่มาภาพ: https://km.dmcr.go.th/ckeditor/upload/files/2564/rip%20current/rip_current1.png

RIP Currents หรือคลื่นย้อนกลับ หรือคลื่นดูด เกิดขึ้นจากกระแสน้ำที่เคลื่อนตัวจากเขตน้ำลึกเข้าสู่เขตน้ำตื้น และปะทะกับสิ่งกีดขวางในขณะที่กำลังเคลื่อนตัวเข้าใกล้บริเวณชายฝั่ง จึงเกิดการเลี้ยวเบนของกระแสน้ำจากสองข้างแล้วไหลมาบรรจบกันตรงกลาง รวมแรงทั้งสองด้านเกิดเป็นกระแสน้ำที่ดันตัวออกจากชายฝั่ง มีลักษณะเป็นคลื่นพุ่งออกจากชายฝั่งในลักษณะคล้ายดอกเห็ด เป็นกระแสน้ำที่พัดออกจากฝั่งด้วยกำลังที่ค่อนข้างแรงและเร็ว ตัวอย่างจากการสำรวจโดยคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในโครงการวิจัยการศึกษาพลวัตของ RIP Currents บริเวณพื้นที่ชายฝั่งทะเล ประเทศไทย พบกระแสน้ำบริเวณชายฝั่งตะวันตกของ จ.ภูเก็ต

ที่มาภาพ: https://km.dmcr.go.th/ckeditor/upload/files/2564/rip%20current/rip_current2.png

ที่มาภาพ: https://km.dmcr.go.th/ckeditor/upload/files/2564/rip%20current/rip_current3.png

  1. ข้อปฏิบัติเมื่อติดอยู่ในคลื่นย้อนกลับ​ เนื่องจากคลื่นย้อนกลับ จะก่อตัวในบริเวณใกล้ชายหาด และชะลอลงเมื่อออกห่างจากฝั่ง ดังนั้น ผู้ที่ติดอยู่ในกระแสน้ำดังกล่าว อาจปฏิบัติดังนี้

– ควบคุมสติเมื่อติดอยู่ในคลื่นย้อนกลับ

– ออมแรง และพยายามลอยตัวเพื่อให้สามารถหายใจได้เมื่ออยู่ในพื้นที่กระแสน้ำเชี่ยวได้

– เมื่อถูกกระแสน้ำพัดออกห่างจากฝั่ง และกระแสน้ำเริ่มอ่อนกำลังลง ให้ว่ายน้ำขนานชายฝั่งจนกว่าพ้นจากแนวคลื่นย้อนกลับ

– เมื่อพ้นจากแนวคลื่นย้อนกลับแล้ว คลื่นจะพัดเข้าหาฝั่ง จึงค่อยๆ ว่ายน้ำกลับเข้าหาฝั่ง

  1. ข้อห้ามเมื่อติดอยู่ในคลื่นย้อนกลับ​ อย่าพยายามว่ายทวนคลื่นย้อนกลับกลับเข้าหาฝั่งโดยตรง เพราะจะทำให้หมดแรงและจมน้ำเสียชีวิต

อกสารอ้างอิง

https://km.dmcr.go.th/c_274/d_19639