น้ำทะเลที่เราเห็นมีความเค็มเพราะมีเกลือและแร่ธาตุหลายชนิดละลายอยู่ โดยทั่วไปน้ำทะเลจะมีความเค็มประมาณ 35 ppt. (part per thousand) คือในน้ำทะเล 1 ลิตรจะมีเกลือและแร่ธาตุละลายอยู่ประมาณ 35 กรัมนั่นเอง แต่บนโลกนี้มีทะเลและมหาสมุทรหลายแห่ง ความเค็มของน้ำทะเลแต่ละแห่งจะแตกต่างกันอย่างไร

ความเค็มของน้ำทะลเกิดจากปริมาณเกลือและแร่ธาตุที่ละลายอยู่ในน้ำแต่ความเค็มของน้ำทะเลจะเปลี่ยนแปลงได้จากปัจจัยดังนี้

1.ปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงไปผสมเช่นบริเวณปากแม่น้ำ ซึ่งมีน้ำจืดไหลลงมาเพิ่มเต็มตลอดเวลาทำให้บริเวณปากแม่น้ำมีความเค็มประมาณ 0.5-30 ppt. ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำจืดที่ไหลลงมาผสมและแต่ละฤดูความเค็มบริเวณปากแม่น้ำก็จะแตกต่างกัน

2.การระเหยของน้ำ ทะลหลายที่ที่เป็นทะเลเปิดได้รับแสงแดดส่องที่ผิวน้ำโดยตรงจะทำให้น้ำจืดระเหยกลายเป็นไอน้ำออกไปทำให้ความเค็มของน้ำทะเลบริเวณนั้นสูงขึ้น

  1. ปริมาณนำฝนที่ตกลงมา บริเวณที่ฝนตกชุมเช่นทะเลแถบเขตเส้นศูนย์สูตรจะมีความเค็มต่ำกว่าบริเวณอื่น
  2. สภาวะความกดอากาศและอุณหภูมิที่ผิวหน้าพื้นน้ำทะเลที่สูงขึ้นจะทำให้น้ำมีความเค็มเพิ่มขึ้น อีกทั้งลมที่พัดผ่านผิวหน้าพื้นน้ำทะเลซึ่งจะทำให้กระจายความเค็มลงสู่ด้านล่าง
  3. การหมุนเวียนของกระแสน้ำ ในมหาสมุทรกระแสน้ำจะส่งผลต่อการกระจายตัวของความเค็ม กระแสน้ำอุ่นบริเวณเส้นศูนย์สูตรจะนำเกลือออกจากพื้นที่ชายฝั่งตะวันตกของทวีปและสะสมไปตามพื้นที่ชายฝั่งตะวันออกเช่น ที่บริเวณอ่าวเม็กซิโก

ภาพที่1 ความเค็มของน้ำในแต่ละพื้นที่

ที่มาภาพ: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/9/98/Water_salinity_diagram.png

ภาพที่2 ความเค็มของผิวน้ำทะเลแต่ละพื้นที่ของโลก

ที่มาภาพ: https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/d/d5/WOA09_sea-surf_SAL_AYool.png/800px-WOA09_sea-surf_SAL_AYool.png?20121205111124

หากเราเรียงลำดับความเค็มที่ระดับผิวหน้าของน้ำทะเลแล้วจากมากไปน้อยจะเรียงได้ดังนี้

อันดับ 1 ทะเลแดง (Red Sea) เป็นทะเลที่เชื่อมต่อกับมหาสุมทรอินเดียอยู่ระหว่างทวีบแอฟริกากับทวีบเอเชีย มีความเค็มเฉลี่ยที่ 40 ppt ซึ่งความเค็มที่สูงเกิดจากในบริเวณทะเลแดงเป็นทะเลทรายทำให้มีน้ำระเหยออกไปมากและมีแม่น้ำและลำคลองไหลลงสู่ทะเลแดงน้อย นอกจากนี้บริเวณนี้นังมีฝนตกน้อยอีกด้วย

อันดับ 2 ทะเลเมดิเตอร์เนเนียน (Medi­terranean Sea) ตั้งอยู่ระหว่างทวีปยุโรปและทวีปแอฟริกา มีความเค็มเฉลี่ยที่ 37-39 ppt.

อันดับที่ 3 อ่าวเปอร์เซีย (Persian Gulf) ตั้งอยู่ระหว่างประเทศซาอุดิอารเบียและประเทศอิหร่าน ความเค็มเฉลี่ยที่ 37-38 ppt.

ส่วนทะเลพื้นที่อื่นจะมีความเค็มเฉลี่ยที่ 30-35 ppt ยกเว้นบริเวณตอนกลางของมหาสมุทรแอตแลนกชติกทางตอนเหนือและบริเวณตอนกลางมหาสมุทรแอตแลนติกทางตอนใต้ค่อนไปทางประเทศบราซิลจะมีความเค็มสูงกว่าปกติที่ประมาณ 36-37 ppt. และบริเวณกลางของมหาสมุทรแปซิฟิกทั้งตอนเหนือและตอนใต้จะมีความเค็มสูงกว่าปกติที่ประมาณ 35-36 ppt

จะมีความเค็มสูงกว่าปกติที่ประมาณ 36-37 pptจะมีความเค็มสูงกว่าปกติที่ประมาณ 36-37 pptทะเลที่มีความเค็มต่ำกว่าพื้นที่อื่น

ทะเลบริเวณใกล้ขั้วโลกจะมีความเค็มต่ำแฉลี่ยที่ประมาณ 20-35 ppt

ทะเลดำ (Black Sea) มีความเค็มน้อยกว่า 20 ppt.

ทะเลบอลติก (Baltic Sea) มีความเค็มต่ำที่ 5 -15 ppt

 

เอกสารอ้างอิง

https://commons.wikimedia.org/wiki/File:WOA09_sea-surf_SAL_AYool.png

https://www.geographynotes.com/oceans/salinity-of-ocean-and-seas-oceans-geography/2637

https://en.wikipedia.org/wiki/Salinity

https://www.scimath.org/article-chemistry/item/4731-2015-03-31-05-38-08