ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chiloscyllium griseum
ชื่อสามัญ : Grey Bamboo Shark/Grey bambooshark/Grey bambooshark/grey bamboo shark/grey catshark
ชื่อไทย: ปลาฉลามกบ/ฉลามกบเทา/ฉลามกบ/ฉลามหิน/ฉลามกบเทา/ฉลามตุ๊กแก/ปลาฉลามกบเทา/ปลาฉลามกบ/ปลาฉลามหิน/ปลาฉลามเสือ/ปลาฉลามตุ๊กแก
อาณาจักร : Animalia
ชั้น : Elasmobranchii
อันดับ : Orectolobiformes
วงศ์ : Hemiscylliidae
สกุล : Chiloscyllium

อยู่ในวงศ์ Hemiscylliidae มีลักษณะคล้ายกับปลาฉลามกบ (C. punctatum) ซึ่งเป็นปลาที่อยู่ในสกุลเดียวกัน

แหล่งที่พบภายในประเทศ :

  • ภูเก็ต, อ่าวไทย
  • พื้นที่ทะเลสาบสงขลา

ระบบนิเวศ : บริเวณพื้นท้องทะเลที่เป็นทรายหรือทรายปนโคลนตามชายฝั่งทะเลถึงระดับความลึกน้ำ 12 เมตร
การกระจายพันธุ์ :

  • ในเขตน่านน้ำไทย พบทั้งทางฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน
  • บริเวณอ่าวไทยตอนใน

ฉลามที่ไม่เป็นอันตรายกับคน ผู้ช่วยรักษาสมดุลระบบนิเวศของทรัพยากรทางทะเลได้เป็นอย่างดี
ฉลามกบ ขนาดตัวเล็ก ลำตัวและครีบหางเรียวยาว มีดวงตาขนาดเล็ก อวัยวะคล้ายหนวดบริเวณในส่วนหน้า ช่วงวัยเด็กจะมีลักษณะ สีแถบขาวสลับดำตามลำตัว เมื่อโตขึ้นลายจะจางหายไปเอง
อาศัยอยู่ตามพื้นทะเล ซอกหินหรือปะการัง จึงชอบกินอาหารพวกสัตว์น้ำที่อยู่ตามหน้าดิน เช่น กุ้ง หอย ปู ปลาขนาดเล็ก นิสัยรักสงบ ไม่ดุร้าย ไม่เป็นอันตรายกับคน เคลื่อนที่ได้อย่างเชื่องช้ามาก
ฉลามกบ เป็นตัวช่วยสำคัญของระบบนิเวศและรักษาความสมดุลของแนวปะการัง เราควรอนุรักษ์ฉลามกบ ด้วยการสร้างการเข้าใจถึงความสำคัญของฉลามกบ เพื่อให้อยู่ในระบบนิเวศต่อไป ทำหน้าที่ดูแลทรัพยากรทางทะเลให้มีความอุดมสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
ข้อมูลการนำไปใช้ประโยชน์- เนื้อนำมาบริโภคหรือแปรรูปทำปลาหวาน ลูกชิ้น และตากแห้ง ครีบใช้ทำหูฉลามตากแห้ง ตับใช้เป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ ส่วนปลาที่มีชีวิตสามารถนำมาเลี้ยงและเพาะพันธุ์ในสถานแสดงพันธุ์สัตว์น้ำได้

จัดทำโดย

นักวิชาการประมงปฎิบัติการ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน

เอกสารอ้างอิง

  • สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  • กองสารสนเทศและเทคโนโลยีการสำรวจทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง