ชื่อวิทยาศาสตร์: Hoplosternum littorale

ชื่ออังกฤษ : (Atipa, Brown hoplo)

วงศ์ :  (Callichthyidae)

สปีชีส์H. littorale

แหล่งที่พบ : มีถิ่นกําเนิดในทวีปอเมริกาใต้ได้มีการนําเข้ามาเพาะเลี้ยงในวงการปลาสวยงามของไทย

ลักษณะสำคัญ  

          เป็นปลาที่มีลำตัวป้อมค่อนข้างแบนข้างส่วนหัวกลมมนมีหนวดสองคู่ลำตัวปกคลุมด้วยแผ่นกระดูกสองแถวเรียงสานกันลำตัวด้านบนสีเทาอมเขียวด้านหลังสีเทาอมสีเหลืองทองครีบทั้งหมดเป็นสีเทาดำ ครีบอกสีเหลืองทองโดยส่วนเงี่ยงจะมีสีเหลืองเข้มกว่าก้านครีบ

มีความยาวสูงสุดราว 24 เซนติเมตร เป็นปลาที่พบกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางมากในทวีปอเมริกาใต้โดยสามารถพบได้ในลุ่มแม่น้ำในกรุงบัวโนสไอเรสประเทศอาร์เจนตินาภาคเหนือของเวเนซุเอลา ตลอดจนพบเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นในรัฐฟลอริดาของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย

เป็นปลาที่มักพบในแหล่งน้ำที่มีอุณหภูมิประมาณ 18-26 องศาเซลเซียสและค่าความเป็นกรด-ด่างประมาณ 5.9-7.2 (pH) ที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำและบึง ที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งซึ่งมีปริมาณออกซิเจนละลายอยู่ค่อนข้างต่ำ หรือในป่าที่มีน้ำท่วมเกือบทั้งปี

อาหารของปลากดเกราะ

          เป็นปลาที่หากินบริเวณพื้นน้ำ อาหารได้แก่ หนอนแดงและซากอินทรีย์สาร แต่จะเปลี่ยนไปกินแมลงและสัตว์มีกระดองขนาดเล็กในช่วงฤดูแล้งปลาจะเริ่มผสมพันธุ์ในช่วงต้นฤดูฝนโดยจะสร้างหวอดคล้ายกับปลากัด ซึ่งทั้งเพศผู้และเพศเมียจะร่วมกันสร้างขึ้นมา ด้วยการเสียดสีร่างกายของกันและกัน

วางไข่สืบพันธุ์  

          ปลากดเกราะสามารถแพร่พันธุ์ได้เมื่ออายุ 1-2 ปีวางไข่สืบพันธุ์ได้เองตามธรรมชาติจึงทําให้มีการเพิ่มจํานวนมากขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อพันธุ์ปลาพื้นเมืองของไทยที่มีอยู่ตามธรรมชาติ

          หลังจากวางไข่แล้วปลาเพศผู้จะทำหน้าที่ดูแลปกป้องไข่จนกระทั่งฟักออกเป็นตัวแล้วประมาณสองวันถัดมาจึงปล่อยให้หากินตามลำพัง

ปลากดเกราะ ถือเป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่งในทวีปอเมริกาใต้นิยมบริโภคกันทั่วไปในตรินิแดดและเฟรนช์เกียนา มีการเพาะเลี้ยงกันด้วย อีกทั้งยังนิยมเลี้ยงเป็นปลาสวยงามโดยมีชื่อเรียกในภาษาถิ่นว่า Camboatám และ Tamboatá

อ้างอิง

          หน้า 61 คอลัมน์ บุก Rio Amazonras ตลุยตลาดปลา เมืองมาเนาส์ ประเทศบราซิล โดย ผศ.สมหมาย เจนกิจการ, RoF นิตยสาร Aquarium Biz ฉบับที่12 ปีที่ 1 ประจำเดือนมิถุนายน 2011

          รูปและข้อมูลปลากดเกราะ