ชื่อวิทยาศาสตร์:  Chiloscyllium punctatum (Müller & Henle, 1838)

Common name: Brownbanded bamboo shark, Banded cat shark

ชื่อไทย: ฉลามกบ ฉลามปล้องอ้อย ฉลามแมว

ชีววิทยา

เป็นปลาฉลามขนาดเล็ก มีลำตัวและหางเรียวยาว จะงอยปากกว้างอยู่บริเวณด้านหน้าของตาทั้ง 2 ข้าง ตามีขนาดเล็ก ครีบหางแฉกบนโค้งเรียวยาวกว่าแฉกล่าง ในลูกปลาวัยอ่อนจะมีลายเป็นแถบสีขาวสลับดำคาดตามขวางลำตัว 13 แถบและจะค่อย ๆ จางลงเมื่อโตขึ้นและกลายเป็นสีน้ำตาลแทน และมีอวัยวะคล้ายหนวดบริเวณส่วนหน้าด้วย จึงได้อีกชื่อเรียกหนึ่งว่า “ปลาฉลามแมว”

วงจรชีวิต

เป็นปลาฉลามที่ ออกลูกเป็นไข่มีลักษณะเป็นวงรีแบนข้างเล็กน้อยรอบไข่จะมีเส้นใยเหนียวใช้ยึดติดกับวัตถุใต้น้ำ ตัวเมียจะวางไข่โดยใช้เส้นใยที่เปลือกไข่ยึดกับวัตถุใต้น้ำโดยตัวเมียจะไม่ดูแลไข่ ไข่ฉลามจะใช้เวลาประมาณ 90 วันก่อนฟักออกมาเป็นลูปลาฉลาม ในแต่ละปีแม่ปลาฉลามกบจะวางไข่ได้ประมาณ 200 ฟองต่อตัว

การสืบพันธุ์

เพศผู้มีอวัยวะช่วยในการสืบพันธุ์ลักษณะ เป็นติ่งเนื้อเรียกว่า claspers เพศเมียมีช่องสืบพันธุ์เรียกว่า cloaca สืบพันธุ์โดยการวางไข่ (oviparous)  ปลาฉลามตัวผู้และฉลามตัวเมียจะว่ายนํ้าเคียงคู่กัน ตัวผู้จะกัดครีบหู (pectoral fin) ของตัวเมียแล้วสอดอวัยวะที่ช่วยในการสืบพันธุ์ (claspers) เข้าไปในช่องสืบพันธุ์ของตัวเมีย (cloaca)

                                                                                                                                                                               อวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้ (claspers)

อาหาร

ปลาฉลามที่หากินอยู่บริเวณหน้าดิน มีพฤติกรรมชอบอยู่นิ่ง ๆ กินหอย กุ้ง กั้ง ปู เป็นอาหารอาหาร

แหล่งที่อยู่

พบทั่วไปตามพื้นทรายแนวปะการังในเขตน่านน้ำอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ อินเดีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, จีน, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์ จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย และไทย พบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

 

บทความล่าสุด

7 ธันวาคม 2023

กั้งตั๊กแตน

22 พฤศจิกายน 2023

ปลากระทิงไฟ