
ปะการังเป็นสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง มีลักษณะเด่นคือ มีโพรงในลำตัว มีเนื้อเยื่อ 2 ชั้นระหว่างเนื้อเยื่อทั้ง 2 มีลักษณะเป็นวุ้นมีช่องปากแต่ไม่มีทวารหนัก มีหนวดซึ่งมีเซลล์เข็มพิษเพื่อป้องกันตัวหรือจับเหยื่อเป็นอาหารเรียงรายอยู่รอบปาก ปะการังมีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ โครงสร้างภายนอกเป็นหินปูนเปรียบเสมือนกระดูก ซึ่งหินปูนจะเป็นส่วนที่รองรับเนื้อเยื่อของตัวปะการัง และเนื้อเยื่อของตัวปะการังซึ่งเรียกว่าโพลิป (Polyp) โพลิปประกอบด้วยปากซึ่งเป็นช่องเปิดเข้าไปในช่องว่างภายในลำตัวและหนวดเรียงเป็นวงรอบปากทำหน้าที่จับแพลงก์ตอนที่ลอยอยู่ในน้ำส่งเข้าปาก โดยทั่วไปตัวปะการังจะมีรูปทรงเป็นทรงกระบอกเล็ก ๆ แต่ละกระบอกจะมีช่องเล็ก ๆ ซึ่งเป็นที่อยู่ของปะการังแต่ละตัว ดังนั้น เวลาน้ำลดปะการังก็จะหดตัวเขาไปอยู่ในช่องซึ่งถือเป็นบ้านของปะการัง จะเห็นว่าในปะการัง 1 ก้อน 1 กอ หรือ 1 แผ่น ประกอบไปด้วยปะการังจำนวนมาก โดยมีเนื้อเยื่อเชื่อมติดกั

ที่มาภาพ : https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/create-web/10000/science/10000-685.html
ภายในเนื้อเยื่อปะการังนั้นมีสาหร่ายเซลล์เดียวขนาดเล็กมากอาศัยอยู่ สาหร่ายเซลล์เดียวนี้คือ ซูแซนเทลลี่ (zooxanthellae) ซึ่งสามารถสังเคราะห์แสงได้เช่นเดียวกันกับพืชบนบกทั่วไป โดยใช้พลังงานแสงอาทิตย์ผลิตคาร์โบไฮเดรตและออกซิเจนออกมา คาร์โบไฮเดรตที่ซูแซนเทลลี่ ผลิตได้นั้นจะส่งไปให้โพลิปปะการังประมาณ 90 % ซึ่งจะเป็นอาหารและเป็นแหล่งพลังงานของโพลิปปะการัง พลังงานนี้ปะการังใช้เพื่อการเติบโต สืบพันธุ์ แข่งขันกับปะการังหรือสัตว์ อื่น ๆ และใช้ในการสะสมหินปูนเพื่อสร้างโครงร่างแข็งของปะการัง

ที่มาภาพ : https://ngthai.com/science/26012/coral-bleaching/
กลไกการกินอาหารของปะการังมี 4 แบบ คือ
-
การกินอาหารโดยการล่าเหยื่อ (Predation feeding) โดยใช้เข็มพิษปลายหนวดแทงเหยื่อ และใช้หนวดจับเหยื่อเข้าปาก หรือวิธีอื่นเช่น การปล่อยตาข่ายน้ำเมือก ซึ่งจะทำงานสัมพันธ์กับเข็มพิษ
-
การกินอาหารที่แขวนลอยในน้ำ (Suspension feeding) จะพบในปะการังที่มีโพลิปขนาดใหญ่ โดยส่วนมากจะยื่นโพลิปเพื่อกินอาหารในเวลากลางคืน เนื่องจากมีแพลงก์ตอนหรืออาหารมากกว่าในเวลากลางวัน หรือจะยื่นตัวออกมาเมื่อหิว
-
การกินโดยการดูดซึมอาหาร (Osmotic feeding) อาศัยกระบวนการแรงตึงผิว ดูดซึมสารไนโตรเจนจากโปรตีนที่ลอยอยู่ในน้ำ โดยการซึมผ่านผิวปะการังโดยตรง และขับออกในรูปของเสีย เช่น แอมโมเนีย
-
การกินอาหารจากการสังเคราะห์แสง (Autotrophic feeding) ปะการังจะได้รับสารอาหารและพลังงานจากกระบวนสังเคราะห์แสงของสาหร่ายซูแซนเทลลี่ อาศัยอยู่ภายในเนื้อเยื่อปะการัง
เอกสารอ้างอิง
https://www.scimath.org/article-biology/item/597-coral
http://gaogaois.blogspot.com/2015/12/blog-post_6.html
https://www.dmcr.go.th/detailAll/24074/nws/141
https://www.nectec.or.th/schoolnet/library/create-web/10000/science/10000-685.html
บทความล่าสุด

ตอนที่ 3 เทคนิคการเลือกซื้อปลาสวยงาม

ตอนที่ 2 ประเภทของปลาสวยงาม
