พื้นที่สงวนชีวมณฑลป่าชายเลน จังหวัดระนอง ได้รับการประกาศในปี พ.ศ.2540 ในความดูแลของศูนย์วิจัยทรัพยากรป่าชายเลนที่ 1 (ระนอง) หรือศูนย์วิจัยป่าชายเลนเดิม โดยเป็นป่าชายเลนแห่งแรกของโลกที่ได้รับการประกาศเป็นพื้นที่สงวนชีวมณฑล

ลักษณะเด่นของพื้นที่ตามข้อกำหนด

พื้นที่สงวนชีวมณฑลระนอง ได้แบ่งเขตตามข้อกำหนดของ MAB ประกอบด้วย 3 เขต คือ พื้นที่แกนกลาง (core zone) มีพื้นที่ 40,761.56 ไร่ บริเวณนี้มีสภาพธรรมชาติที่สมบูรณ์ มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง เป็นพื้นที่ที่เคยดำเนินการวิจัยระบบนิเวศป่าชายเลนมาเป็นเวลานาน มีข้อมูลทางด้านวิทยาศาสตร์เผยแพร่ทั่วไป มีกลุ่มไม้โกงกางขนาดใหญ่สูงประมาณ 30 เมตร โดยมีพื้นที่ ประมาณ 3,000 ไร่ อยู่เป็นกลุ่มแห่งเดียวในประเทศไทย เป็นป่าที่สมบูรณ์และไม่ถูกรบกวนจากมนุษย์ เป็นพื้นที่ล้อมด้วยลำคลองและทะเล จึงเหมาะที่เป็นแหล่งสงวนและอนุบาลสัตว์น้ำ และป้องกันการพังทลายของชายฝั่งอันเนื่องมาจากความรุนแรงของคลื่นและลม ต่อมาเป็นพื้นที่กันชน (buffer zone) มีพื้นที่ 26,744.31 ไร่ เป็นพื้นที่สามารถจัดการให้มีการฟื้นฟูและใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ ในรูปแบบต่างๆ อย่างยั่งยืน ตลอดจนเป็นแหล่งท่องเที่ยว และให้ความรู้แก่ประชาชนในรูปแบบต่างๆ โดยอยู่นอกพื้นที่แกนกลาง และพื้นที่รอบนอกซึ่งเป็นพื้นที่เปลี่ยนสภาพ (transition zone) มีพื้นที่ 40,681 ไร่ เป็นพื้นที่ที่มีการดำเนินกิจกรรมต่างๆ รวมกัน อยู่นอกเขตพื้นที่กันชน ซึ่งจำเป็นต้องมีการจัดการและควบคุมการขยายตัวของชุมชนและคงไว้ซึ่งคุณภาพของสภาพแวดล้อมที่ดีเพื่อให้มีผลกระทบต่อระบบนิเวศป่าชายเลนในพื้นที่เขตกันชนและเขตแกนกลางให้น้อยที่สุด โดยพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม สวนยาง สวนมะพร้าว พืชไร่ เหมืองร้าง และที่อยู่อาศัย

ที่มาภาพ : https://www.dmcr.go.th/detailAll/6294/pc/2

เอกสารอ้างอิง

https://km.dmcr.go.th/c_61/s_71/d_2343

 

บทความล่าสุด

22 กุมภาพันธ์ 2024

ปลาเสือเยอรมัน

14 กุมภาพันธ์ 2024

กุ้งมังกรหัวเขียว

6 กุมภาพันธ์ 2024

กระเบนหางขาว