ข้อมูลนักท่องเที่ยว
สินค้าที่ระลึก
ทัวร์เสมือนจริง
บทความน่ารู้
ข่าวสาร
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
มารู้จักกับ งูทะเล
หน้าแรก
›
ฐานข้อมูลองค์ความรู้
›
มารู้จักกับ งูทะเล
ขึ้นชื่อว่า งู หลายคนคงกลัวกับสัตว์ชนิดนี้ ยิ่งเป็นงูทะเลแล้ว ข้อมูลที่ทราบกันทั่วไปคือ พิษงูทะเลนั้นร้ายแรงกว่างูเห่า 2-10 เท่าอีกต่างหาก ความจริงแล้ว ยังมีอีกหลายประเด็นเกี่ยวกับงูทะเลที่ไม่ได้พูดถึงกัน ว่าจริงๆ แล้ว มันร้ายกาจแบบนั้นจริงหรือไม่
งูทะเลส่วนมากจะมีลายเป็นปล้องสีเข้มสลับอ่อน มักเป็นสีดำ เทา น้ำเงิน และน้ำตาล ปล้องสีก็มักจะคาดรอบตัว อาศัยทั้งทะเลโคลนและทะเลน้ำใส แต่จะปรากฏชุกชุมบริเวณทะเลโคลนชายฝั่งมากกว่า โดยเฉพาะทะเลที่มีปะการัง งูทะเลเกือบทั้งหมดออกลูกเป็นตัว เว้นแต่งูสมิงทะเลเท่านั้นที่วางไข่ ปกติงูทะเลมักไม่ดุ อันตรายจะเกิดได้ต่อชาวประมงไปถูกหรือเหยียบเข้า เมื่องูติดอวนพร้อมกับปลาขึ้นมาบนเรือหรือในบางฤดูกาล เช่น ในฤดูฝน งูทะเลมักจะมีชุกชุมตามปากแม่น้ำที่ติดทะเล และในบางเวลาน้ำทะเลหนุน งูทะเลก็จะตามน้ำเข้ามาตามลำน้ำกร่อย
ที่มาภาพ :
https://www.thairath.co.th/lifestyle/travel/522543
งูทะเลจะมีลำตัวยาวมีเกล็ดปกคลุมเหมือนงูบนบก ส่วนที่แตกต่างคือส่วนของหางงู จะเป็นลักษณะแผ่นแบนๆเป็นแนวตั้งคล้ายกับใบพาย ทำให้งูทะเลสามารถเคลื่อนที่ในน้ำได้ดีขึ้น งูทะเลยังสามารถว่ายน้ำไปด้านหลังได้ ยามเมื่อต้องการพักผ่อนมันจะลอยตัวอยู่ที่ผิวน้ำโดยไม่เคลื่อนไหวได้เป็นเวลานานเพราะไขมันที่ห่อหุ้มตัวของมันช่วยพยุงตัวให้มันลอยได้ งูจะใช้ปอดในการหายใจ เมื่ออากาศหมดมันจำเป็นต้องขึ้นมาบนน้ำเพื่อหายใจ อาหารของงูคือพวกปลาเล็กตามซอกหิน หรือตามพื้นทะเล ชอบอาศัยอยู่บริเวณปากแม่น้ำตามชายฝั่งทั่วไป งูทะเลจะมีขนาดเล็กกว่างูบก ขนาดที่เคยพบที่ยาวที่สุดประมาณ 3 เมตร ไม่สามารถทำเสียงขู่แต่จะทำเสียงคล้ายน้ำไหลได้ โดยปกติงูทะเลจะไม่ทำร้ายคน ยกเว้นช่วงผสมพันธ์ หรือเราไปเหยียบมันเข้า
ความจริงงูทะเลหลายชนิดมีอำนาจพิษแรงกว่างูบก มีเขี้ยวพิษในลักษณะ Proteroglypha อย่างไรก็ตามงูทะเลหลายชนิดที่มีพิษแรงแต่ก็มีต่อมพิษเล็กมาก ปริมาณน้ำพิษน้อย เมื่อถูกงูทะเลกัดจะเป็นรอยเขี้ยว ลักษณะจะแล้วแต่ชนิดของงู อาการจะแสดงออกช้าเมื่อถูกกัด กัดไม่เจ็บแต่หลังจากถูกกัดประมาณสามสิบนาทีจะเริ่มรู้สึก อ่อนเพลีย กลืนน้ำลายยาก ลิ้นแข็งรู้สึกปวดเมื่อยคล้ายจะเป็นอัมพาต อาเจียนม่านตาเปิดกว้างและอาจจะชักกระตุกตามกล้ามเนื้อ รู้สึกหนาวแต่เหงื่อท่วมตัว จะรู้สึกตัวตลอดจนระบบทางเดินหายใจจะใช้การไม่ได้ เมื่อเข้าขั้นอาการรุนแรงจะมีปัสสาวะเป็นสีเลือดและอาจจะถึงแก่ความตายได้ ความรุนแรงจะอยู่ที่ประเภทของงู ถ้าถูกกัดควรรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็ว และควรจดจำชนิดของงูที่ถูกกัดด้วยเพื่อง่ายในการรักษาพยาบาล ให้จดจำสถานที่ที่ถูกกงูกัด หรือจับงูที่กัดนำไปพบแพทย์ด้วยจะได้รักษาได้ถูกกับชนิดของพิษงู
เอกสารอ้างอิง
https://www.taludiving.com/สัตว์ทะเลที่มีพิษ/งูทะเล.html
https://diveshop.in.th/งูทะเล-ใครควรจะกลัวใคร
https://www.healthcarethai.com/งูทะเล/
บทความล่าสุด
24 มิถุนายน 2024
ภาวะขาดวิตามินซี (Hypovitaminosis C)
19 มิถุนายน 2024
โรคตัวแดงดวงขาว (White spot disease; WSD)
17 มิถุนายน 2024
ปรากฏการณ์คลื่นพายุซัดฝั่ง (Stoem surge)