สัตว์ทะเลหายากในน่านน้ำไทยประกอบด้วยกลุ่มสัตว์ทะเล 3 กลุ่ม ได้แก่ เต่าทะเล (Sea turtles) พะยูน (Dugong) โลมาและวาฬ (Whales and Dolphins) ซึ่ง ทั้งหมดถูกจัดเป็นสัตว์ป่าสงวนและคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครอง สัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ว่าด้วยการห้ามล่า ห้ามค้า ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ โดยมีผลครอบคลุมไปถึงไข่ ซาก ตลอดจนชิ้นส่วนต่างๆของสัตว์เหล่านั้นด้วย โดย จัดให้พะยูน วาฬบรูด้า วาฬโอมูระ เต่ามะเฟือง และฉลามวาฬ เป็นสัตว์สงวน และ สัตว์ทะเลหายากชนิดอื่นเป็นสัตว์คุ้มครอง นอกจากนี้ สัตว์ทะเลหายากยังถูกจัดให้ อยู่ในบัญชีรายชื่อของอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งพันธุ์พืชป่าและ สัตว์ป่าที่ใกล้สูญพันธ์ (CITES) โดยเต่าทะเลทุกชนิด พะยูน และโลมาอิรวดี อยู่ใน ภาวะใกล้สูญพันธุ์อย่างยิ่ง จึงจัดอยู่ในรายชื่อ CITES บัญชี 1 ส่วนโลมาและวาฬ ชนิดอื่นๆ และฉลามวาฬ จัดอยู่ใน CITES บัญชี 2 สำนักนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมร่วมกับกรมทรัพยากร ทางทะเลและชายฝั่ง ได้ปรับปรุงสถานภาพของโลมาและวาฬที่พบในประเทศไทย ตามเกณฑ์มาตรฐานของ IUCN Redlist ในช่วงต้นปี พ.ศ. 2558 เต่าทะเล 5 ชนิด ได้แก่ เต่าตนุ (Green turtle, Chelonia mydas), เต่ากระ (Hawksbill turtle, Eretmochelys imbricata), เต่าหญ้า (Olive ridley turtle, Lepidochelys olivacea) เต่ามะเฟือง (Leatherback turtle, Dermochelys coriacea) และ เต่าหัวค้อน (Loggerhead turtle, Caretta caretta) พะยูนมีเพียงชนิดเดียวคือ พะยูน (Dugong, Dugong dugon) กลุ่มโลมาและวาฬ มี 27 ชนิด แบ่งเป็นกลุ่มที่อยู่ประจ้าถิ่นใกล้ฝั่งและกลุ่มที่มีการ อพยพย้ายถิ่นระยะไกลซึ่งมักอาศัยบริเวณไกลฝั่ง ชนิดโลมาและวาฬที่มีการศึกษา ในเชิงสถานภาพและการแพร่กระจายจ้ากัดอยู่ในกลุ่มประชากรใกล้ฝั่ง 6 ชนิด ได้แก่ โลมาปากขวด (Indo-Pacific Bottlenose dolphin, Tursiops aduncus) โลมาหัวบาตรหลังเรียบ (Finless porpoise, Neophocaena phocaenoides) โลมาหลังโหนก (Indo-Pacific Humpback dolphin, Sousa chinensis) โลมาอิร วดี (Irrawaddy dolphin, Orcaella brevirostris) วาฬบรูด้า (Bryde’s whale, Balaenoptera edeni) และโอมูระ (Omura’s whale, Balaenoptera omurai)
ปัจจุบัน เราจะพบสัตว์ทะเลหายาก ทั้งวาฬ/โลมา เต่าทะเล และพะยูน เกยตื้นตามชายฝั่งและหาดทราย ซึ่งมาจากหลายสาเหตุ ทั้งการเจ็บป่วยตามธรรมชาติิ การติดเครื่องมือประมง หรือจากการกินขยะทะเลเข้าไป ซึ่ง กรม ทช. ถือเป็นภารกิจสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ โดยการรักษาเพื่อฟื้นฟูจำนวนประชากรของสัตว์ทะเลให้มีโอกาสในการอยู่รอดสูงขึ้น ซึ่งทุกท่านสามารถช่วยชีวิตพวกเขาได้ โดยเป็นเครือข่ายรักษ์ทะเล แจ้งเหตุให้กรม ทช. ทราบ ยิ่งเร็วยิ่งดี ตามเบอร์โทรเหล่านี้
เรียบเรียงโดย นางสาวบุณฑิกา อินทะริง
ที่มา : https://www.dmcr.go.th/