
เมื่อสุนัขหรือแมวที่เลี้ยงที่บ้าน มีอาการป่วย ไม่กินอาหาร ซึม เจ้าของก็จะนึกถึงคลินิครักษาสัตว์ใกล้บ้านและพานำไปรักษากับสัตวแพทย์ เช่นกับเดียวกับสัตว์น้ำภายในอควาเรียม เมื่อมีอาการไม่ว่ายน้ำ ไม่กินอาหาร ย่อมต้องนึกถึงสัตวแพทย์เช่นกัน แต่หากจะนำไปรักษาที่คลินิก ก็จะมีความลำบากสักหน่อย อควาเรียมจึงจำเป็นต้องมีสัตวแพทย์คอยดูแลเหล่าสัตว์น้ำนั้นเช่นกัน
สัตว์น้ำ จะแสดงอาการป่วยที่แตกต่างจากสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขและแมว อาจไม่กินอาหารคล้ายกัน ยกตัวอย่างสัตว์น้ำที่คนส่วนใหญ่รู้จัก เช่น ปลาทอง หากป่วยก็แสดงอาการไม่ว่ายน้ำ ว่ายน้ำช้าลง ลอยตัวเหนือน้ำ ครีบกร่อน และมีรอยแดงๆตามตัวหรือตามครีบ ปลาทองก็ป่วยด้วยโรคเช่นกัน การรักษาโรคอาจะเป็นเรื่องสัตวแพทย์ แต่สิ่งที่เจ้าของสัตว์ทำได้ คือการสังเกต อาการที่ผิดปกติดังกล่าว จากนนั้นรีบนำมารักษาโดยการใช้ยาเพิ่มเติม

เช่นเดียวกับทีมดูแลสัตว์น้ำ ก็จะสังเกตและทราบถึงอาการผิดปกติเหล่านั้นและแจ้งแก่สัตวแพทย์ แต่อย่างไรก็ตามสัตวแพทย์เองก็จะสังเกตอาการผิดปกติเหล่านั้นในทุกๆวัน เมื่อทราบว่าสัตว์น้ำภายในอควาเรียมมีอาการ ป่วย ก็จะมีการวางแผนการรักษา และนำมารักษาโดยอาจตัดสินใจรักษายังบริเวณส่วนจัดแสดงหรือแยกนำมารักษา ขึ้นอยู่กับแต่ละกรณีไป และหากยกตัวอย่างสัตว์น้ำที่หาได้ยาก เช่น ฉลาม ก็สามารถป่วยด้วยโรคได้เช่นกัน ซึ่งอาจแสดงพฤติกรรมผิดปกติ เพียงแค่ ไม่กินอาหาร การวินิจฉัยโรคจึงมีความซับซ้อนมากขึ้น อาจมีการเจาะเลือด (Blood collection) เพื่อดูความผิดปกติของค่าเลือด และความผิดปกติของระบบภายในร่างกาย หรือการเอกเรย์ (Radiography) เพื่อดูความผิดปกติของระบบภายในเช่นกัน

จะเห็นได้ว่าการรักษาโรคสัตว์น้ำมีความซับซ้อน และยาก การรักษาให้ถูกวิธีและเหมาะสมจึงมีความสำคัญ เพื่อให้สัตว์น้ำหายป่วย หากมีการใช้ยาไม่ถูกต้องตามขนาด หรือเลือกใช้ชนิดยาไม่เหมาะสม อาจยิ่งทำให้อาการป่วยรุนแรงมากขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญไม่แพ้การรักษาโรคในสัตว์น้ำ คือ การป้องกันก่อนสัตว์ป่วย ดังนั้นการดูแลสัตว์น้ำให้มีสุขภาพดีและแข็งแรง ย่อมส่งผลดีที่สุด
บทความโดย สัตวแพทย์หญิงอรอิณท์ สายนำทาน
บทความล่าสุด

ตอนที่ 3 เทคนิคการเลือกซื้อปลาสวยงาม

ตอนที่ 2 ประเภทของปลาสวยงาม
