ภาพที่ 1. ใบหลุมพอทะเล

ที่มาภาพ: https://km.dmcr.go.th/ckeditor/upload/files/Mangrove%20forest/34_02.jpg

ภาพที่ 2.  ต้นหลุมพอทะเล

ที่มาภาพ: https://km.dmcr.go.th/ckeditor/upload/files/Mangrove%20forest/34_03.jpg

หลุมพอทะเล Intsia bijuga (Colebr.) Kuntze
วงศ์ : FABACEAE
ชื่ออื่น : ประดู่ทะเล (กลาง); งือบาลาโอ๊ะ (มลายู-นราธิวาส)
เป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ สูง 20-40 เมตร ผลัดใบ เรือนยอดแผ่กว้าง ลำต้นบางครั้งคดงอ เปลือกเรียบ สีเทาถึงเทาแกมชมพูเปลือกชั้นในสีส้มถึงชมพู

ใบ เป็นใบประกอบปลายคู่ เรียงสลับใบย่อยมักมี 2 คู่ รูปขอบขนาน หรือรูปรีกว้าง ขนาด 4-9 x 5-12 ซม. ปลายใบเว้าบุ๋ม หรือ แหลม มน ฐานใบมนถึงแหลมเบี้ยวขอบใบเรียบ ใบเกลี้ยงทั้งสอบด้าน ก้านใบย่อยยาว 0.5-0.8 ซม. แกนกลางยาว 1.5-5 ซม. ก้านใบยาว 1-3 ซม. โคนก้านขยายใหญ่เส้นใบมี 5-7 คู่

ดอก ออกที่ปลายกิ่งแบบช่อแยกแขนงมีขนสั้นนุ่ม ละเอียด ช่อดอกยาว 7-10 ซม. กลีบเลี้ยงยาว 0.8 ซม.โคนกลีบติดกันเป็นหลอด กลีบดอก 1 กลีบ ยาว 1.3-2 ซม. สีขาวหรือชมพู และเปลี่ยนเป็นสีแดงในเวลาต่อมา ขอบกลีบดอกเป็นคลื่น มีขนสั้นนุ่มแต่ละดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-2.5 ซม. ออกดอกประมาณเดือนธันวาคม – เมษายน

ผล เป็นฝักแข็ง แบน รูปขอบขนานขนาด 5-7 x 10-18 ซม. โค้งเล็กน้อยขอบฝักหนา เรียบ ฝักอ่อนสีเขียว บางมาก คล้ายใบเมื่อแก่ฝักจะหนาขึ้น และเป็นสีน้ำตาลเข้ม เมื่อแก่จัดจะแตกออกตามรอยตะเข็บตามยาวฝัก แต่ละฝักมี 4-8 เมล็ด สีน้ำตาลเข้ม รูปไข่ปลายมน โคนตัด ขนาด 2-2.5 x 3 ซม. ผลแก่เดือนกรกฎาคม – กันยายน หลุมพอทะเล ขึ้นตามพื้นที่น้ำกร่อยและชายฝั่งแม่น้ำใกล้ทะเล เนื้อไม้ใช้ก่อสร้างได้ดี

สรรพคุณ : กินแก้ลม จุกเสียด แน่นท้อง

วิธีการปรุงยา : ยอดอ่อน ต้มผสมกับผักปีกไก่ ต้มเป็นยาหม้อดื่ม

เอกสารอ้างอิง

https://km.dmcr.go.th/c_1/s_350/d_6480