ในท้องทะเลอันกว้างใหญ่ เป็นที่อาศัยอยู่มากมายตั้งอยู่ขนาดเล็กจนมองไม่เห็นเช่นพวกแพลงค์ตอน และจุลชีพชนิดต่างๆ จนถึงสิ่งมีชีวิตที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือปลาวาฬ ซึ่งสิ่งมีชีวิตทุกชนิดล้วนปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมทั้งเพื่อการล่าเหยื่อและเพื่อซ่อนพลางตัวเองให้รอดชีวิต ในบรรดาสัตว์ทะเลเหล่านี้มีหอยชนิดหนึ่งที่มีวิวัฒนาการตัวเองขึ้นมาเพื่อเป็นผู้ล่า คือหอยเต้าปูน
หอยเต้าปูน
หอยเต้าปูนเป็นสัตว์ทะเลที่สามารถสร้างพิษขึ้นมา เพื่อใช้ในการป้องกันตนเองและล่าเหยื่อ ซึ่งความรุนแรงของพิษจะขึ้นอยู่กับชนิดและลักษณะความเป็นอยู่ของหอยตัวนั้น หอยเต้าปูนเป็นชื่อที่คนไทยเรียกแต่ภาษาอังกฤษเรียกหอยตัวนี้ว่า cone shell เพราะรูปร่างเป็นทรงกรวยหัวป้านปลายแหลม หอยเต้าปูนเป็นหอยฝาเดียว มีเปลือกเป็นรูปกรวย (Cone) หนาและหนัก ขนาดเปลือกมีตั้งแต่ 2-3 เซนติเมตรไปจนถึง 20 เซนติเมตร ลวดลายบนเปลือกแตกต่างกันไปตามชนิดหอย ทางด้านหน้าของลำตัว มีท่อน้ำยื่นยาวออกมาเรียกว่า ไซฟอน อยู่ที่ส่วนบนสุดทางด้านหน้า สำหรับทางน้ำออก ช่วยขับให้ตัวหอยเคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้แบบเจ็ตอนุกรมวิธาน หอยเต้าปูน
Phylum Mollusca
Class Gastropoda
Order Neogastropoda
Family Conidae
Genus Conus
หอยเต้าปูนแพร่กระจายอย่างกว้างขวาง พบได้ทั่วไปในเขตร้อนและเขตใกล้เคียง หอยเต้าปูนทั่วโลกมีประมาณ 400-500 ชนิด พบมากในเขตอินโดแปซิฟิก ในน่านน้ำไทย พบประมาณ 300 ชนิด หอยเต้าปูนชอบอาศัยอยู่ตามซอกโพรงหินในแนวปะการัง หรือขุดรูอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือตามพื้นทะเลใกล้แนวปะการังที่ชายฝั่งความลึกประมาณ 1-2 ฟุต จนถึงความลึก 10 ฟุต บางชนิดอาจอยู่ได้ที่ก้นทะเลความลึกถึง 100 ฟุต
หอยเต้าปูนเป็นสัตว์กินเนื้อมันจะออกล่าเหยื่อในตอนกลางคืน โดยตามกลิ่นไปจนเจอเหยื่อซึ่งปกติจะนอนหลับอยู่ตามพื้นทราย มันจะเริ่มสำรวจโดยการยื่นงวงออกไปสัมผัสก่อนที่จะยิงเข็มพิษใส่ หอยเต้าปูนแบ่งได้ตามลักษณะของการกินอาหารเป็น 3 พวกได้แก่
- พวกที่กินปลาเป็นอาหาร (Piscivorous) พวกนี้มีพิษรุนแรงที่สุด อาจทำให้คนตายได้
ตัวอย่างเช่น Conus catus C. geographus
[bs_row class=”row”][bs_col class=”col-xs-6″]
[/bs_col][bs_col class=”col-xs-6″]
[/bs_col][/bs_row]
- พวกที่กินหอยเป็นอาหาร (Molluskivorous) หอยพวกนี้มีพิษรุนแรงรองจากพวกที่กินปลาเป็นอาหาร
ตัวอย่างเช่น C. textile C. aulicus
[bs_row class=”row”][bs_col class=”col-xs-6″]
[/bs_col][bs_col class=”col-xs-6″]
[/bs_col][/bs_row]
- พวกที่กิน หนอน ไส้เดือนทะเล แม่เพรียง ดาวทะเล และปลิงทะเลเป็นอาหาร (Vermivorous)
ตัวอย่างเช่น C. imperialis C. sponsalis
[bs_row class=”row”][bs_col class=”col-xs-6″]
[/bs_col][bs_col class=”col-xs-6″]
[/bs_col][/bs_row]
หอยเต้าปูนมีพิษได้อย่างไร
ภายในตัวหอยเต้าปูนจะมีอวัยวะสร้างพิษ (Venom Apparatus) ประกอบด้วยถุงน้ำพิษ (Venom Bulb) ท่อน้ำพิษ (Venom Duct) แผงฟัน (Radula Teeth) นอกจากนี้ยังมีงวง (Proboscis) และคอหอย (Pharynx) เป็นส่วนเสริมในการทำงาน
พิษของหอยเต้าปูนเป็นสารประกอบพวกโปรตีน สร้างที่ท่อน้ำพิษแล้วส่งผ่านไปยังคอหอยที่เป็นที่อยู่ของแผงฟัน เมื่อถุงน้ำพิษบีบตัวพิษจะไปเคลือบที่เข็มพิษในแผงฟัน จากนั้นเข็มพิษจะเคลื่อนตัวลงมาสู่งวงพร้อมที่จะถูกยิงออกไปเหมือนปืนฉมวกสู่เหยื่อในระยะห่างพอสมควร เมื่อยิงออกไปแล้วเข็มพิษอันใหม่จะเคลื่อนเข้ามาแทนที่ ดังนั้นหอยเต้าปูนมักจะซ่อนตัวใต้พื้นทรายแล้วโผล่แต่งวงออกมาดักยิงเหยื่อ
อาการของพิษหอยเต้าปูน
อาการขึ้นอยู่กับบุคคลและชนิดของหอยเต้าปูน อาการที่เห็นได้ชัดได้แก่ เจ็บปวดมาก บวมมาก ตรงที่ถูกพิษจะเป็นสีน้ำเงินคล้ำ เป็นอัมพาตหมดความรู้สึก อาการชาจะค่อยๆ แพร่กระจายไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะที่ริมฝีปากและแขนขา มีอาการคลื่นไส้เวียนศีรษะ น้ำตาและน้ำลายไหล เจ็บหน้าอก เสียงแห้ง มองภาพไม่ชัด กล้ามเนื้อต่างๆ ทำงานผิดปกติ หายใจติดขัด และเสียชีวิตใน 5 ชั่วโมง ส่วนอาการที่ไม่รุนแรงอาจจะมีมีผื่นบวมแดง เจ็บปวด มีอาการคล้ายถูกผึ้งต่อย
กาป้องกันและรักษาเมื่อถูกหอยเต้าปูนทำร้าย
สามารถทำได้เพียงการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและรักษาตามอาการเท่านั้น เพราะพิษของหอยเต้าปูนยังไม่มียารักษาเหมือนกับเซรุมแก้พิษงู
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นทำได้โดยการใช้ผ้าก๊อสปิดบนบาดแผลแล้วใช้ผ้าพันแผลรัดให้แน่น แต่ต้องคลายออกบางครั้งเพื่อไม่ให้กล้ามเนื้อตายจากการขาดเลือด การจุ่มแผลลงในน้ำอุ่น 43-45 องศาเซลเซียส อาจช่วยลดความเจ็บปวดได้บ้าง ห้ามกรีดแผลเพื่อดูดพิษออกแล้วรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที
[bs_well size=”lg”]
- ที่มารูป http://www.coneshell.net/images/c_catus1756.jpg
- ที่มารูป http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/7/79/Conus-geographicus.jpg/220px-Conus-geographicus.jpg
- ที่มารูป http://upload.wikimedia.org/wikipedia/en/thumb/5/51/Conustextile1.jpg/220px-Conustextile1.jpg
- ที่มารูป http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/f/f4/Conus_aulicus_001.jpg/220px-Conus_aulicus_001.jpg
- ที่มารูป http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/5/5a/Conus_imperialis_2.jpg/220px-Conus_imperialis_2.jpg
- ที่มารูป http://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/9/9e/Conus_sponsalis_1.jpg/220px-Conus_sponsalis_1.jpg
- ดัดแปลงจาก https://encrypted-tbn2.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQQbd8gT2PfeTcd-9ZH7akn1y1KsR42vIrbIRUI-rJV4ppPbtAh
[/bs_well]