ประเทศไทย มีอาณาเขตทางทะเล (maritime zone) ตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเล ค.ศ. 1982 ประมาณ 350,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งคิดเป็นพื้นที่มากกว่า 2 ใน 3 ของอาณาเขตทางบกของประเทศ (พื้นที่ทางบกประมาณ 513,000 ตารางกิโลเมตร) โดยมีความยาวของชายฝั่งทะเล ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน รวมถึงช่องแคบมะละกาตอนเหนือ รวมความยาวชายฝั่งทะเลในประเทศไทยทั้งสิ้นกว่า 3,148.23 กิโลเมตร ครอบคลุม 23 จังหวัด

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลจึงได้กำหนดเขตน่านน้ำทางทะเลออกเป็น 6 เขต

เขตที่ 3 เขตต่อเนื่อง 

เป็นเขตที่อยู่ต่อเนื่องจากเส้นขอบนอกของทะเลอาณาเขต ออกไปอีก 12 ไมล์ทะเล ในเขตต่อเนื่องนี้ รัฐชายฝั่งมีอำนาจในการควบคุมเพื่อวัตถุประสงค์ต่างๆ ดังนี้

  1. ป้องกันมิให้มีการฝ่าฝืนกฎหมาย และข้อบังคับว่าด้วยศุลกากร การเข้าเมือง รัษฎากร และสุขาภิบาล อันจะทำให้เกิดในดินแดน หรือในทะเลอาณาเขตของตน และลงโทษผู้กระทำฝ่าฝืนกฎหมายและข้อบังคับดังกล่าว

  2. คุ้มครองวัตถุโบราณหรือวัตถุทางประวัติศาสตร์ที่อยู่บนพื้นทะเลในเขตต่อเนื่อง

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยกฎหมายทะเลปี ค.ศ. 1982 กำหนดให้เขตต่อเนื่องมิอาจขยายเกินกว่า 24 ไมล์ทะเล จากเส้นฐานซึ่งใช้วัดความกว้างของทะเลอาณาเขต (อนุสัญญาฯ ข้อ 33 วรรคสอง) ได้แก่ พื้นที่ที่แสดงด้วยสีน้ำเงิน รัฐชายฝั่งอาจดำเนินการควบคุมที่จำเป็น เพื่อป้องกันการฝ่าฝืนกฎหมายและข้อบังคับเกี่ยวกับศุลกากร (customs) การคลัง (fiscal) การเข้าเมือง (immigration) หรือการสุขาภิบาล (sanitation) ภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของตน และลงโทษการฝ่าฝืนกฎหมายและข้อบังคับดังกล่าว ซึ่งได้กระทำภายในอาณาเขตหรือทะเลอาณาเขตของตน รัฐชายฝั่งมีหน้าที่ในการคุ้มครองวัตถุโบราณ หรือวัตถุทางประวัติศาสตร์ที่พบใต้ทะเลในเขตต่อเนื่อง

รูปอาณาเขตทางทะเลของไทย พื้นที่สีส้มคือพื้นที่เขตต่อเนื่องของประเทศไทย

ที่มาภาพ: https://km.dmcr.go.th/wp-content/uploads/2013/07/marinetime-zone.jpg

 

เอกสารอ้างอิง

 

บทความล่าสุด