วงศ์ใหญ่ : Chelonioidea Bauer, 1893
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Chelonioidea
แหล่งที่พบ : พบมากในอ่าวไทยที่เกาะคราม จ.ชลบุรี หมู่เกาะ ใกล้เคียงและพบกระจัดกระจายเล็กน้อยที่หมู่เกาะตะรุเตาและเกาะสุรินทร์ทางฝั่งทะเลอันดามัน
ลักษณะที่สำคัญ : ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในน้ำและขึ้นมาบนบกเมื่อวางไข่มีกระดองค่อนข้างแบนและ น้ำหนักเบาเท้าทั้งสี่จะมีลักษณะแบนเป็นครีบเพื่อใช้ในการว่ายน้ำอย่างคล่องแคล่ว กินพืชเป็นอาหารหลัก มีอายุขัยประมาณ 40 ปีเต่าทะเลที่ใหญ่ที่สุดคือเต่ามะเฟือง
การวางไข่ของเต่าทะเล
การวางไข่แม่เต่าทะเลจะขึ้นมาวางไข่บริเวณชายหาดที่เงียบสงบซึ่งในช่วงฤดูวางไข่แม่เต่าสามารถขึ้นวางไข่ได้มากถึง10 ครั้งในทุกๆ10-12 วันและจะกลับมาวางไข่ในทุกๆ2-4 ปีโดยมีอัตรารอดของลูกเต่าเติบโตเป็นพ่อแม่พันธุ์เต่าทะเลได้เพียง1ใน 1,000 ตัวเท่านั้น
จะเห็นว่ากว่าลูกเต่าทะเลตัวน้อยๆเติบโตจนกลายเป็นพ่อแม่พันธุ์ได้นั้นมีโอกาสน้อยมากด้วยหลากหลายสาเหตุปัจจัยในระบบนิเวศทะเลที่ส่งผลต่อการรอดชีวิตของเต่าทะเล ดังนั้นบทบาทที่สำคัญต่อการอนุรักษ์เต่าทะเลตกมาอยู่ที่มนุษย์โดยเฉพาะชุมชนผู้อยู่อาศัยตลอดแนวชายฝั่งทะเลที่แม่เต่าขึ้นมาวางไข่
การจำแนกเต่าทะเล
ปัจจุบันมีเต่าทะเลทั้งหมด 7 ชนิดโดยสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 วงศ์ย่อยคือ Cheloniidae ซึ่งเต่าทะเลส่วนมากจะอยู่ในวงศ์นี้กับวงศ์ Dermochelyidae ซึ่งมีเพียงชนิดเดียวเท่านั้น ได้แก่
วงศ์ Cheloniidae
เต่ากระ (Eretmochelys imbricata)
เต่าหญ้าแอตแลนติก (Lepidochelys kempii)
เต่าหญ้า (Lepidochelys olivacea)
เต่าตนุหลังแบน (Natator depressus)
วงศ์ Dermochelyidae
เต่ามะเฟือง (Dermochelys coriacea
ซึ่งในน่านน้ำไทยพบทั้งหมด 5 ชนิด ได้แก่ เต่าตนุ,เต่ากระ,เต่าหญ้า,เต่ามะเฟืองและเต่าหัวค้อน
อาหารและการกินอาหารของเต่าทะเล
เต่าทะเลเป็นสัตว์ที่กินพืชและสัตว์เป็นอาหารส่วนเต่าตนุวัยอ่อนจะกินพวกสัตว์เล็กๆและเมื่อโตขึ้นจะกินพืชเพียงอย่างเดียวส่วนเต่ากระที่จับมากทำการเลี้ยงไว้นั้นสามารถกินสัตว์ได้โดยธรรมชาติแล้วจะไม่พบสัตว์ในกระเพาะของมันตากตัวอย่างที่ได้พบเต่าติดอวนและตายลงเนื่องจากคอหัก เมื่อผ่าดูและตรวจดูที่บริเวณกระเพาะของมันปรากฏว่ามีแต่พืช เช่น สาหร่าย(Sargassum sp.) และสาหร่ายสีเขียว(green algae)อยู่เป็นจำนวนมากไม่พบสัตว์ในกระเพาะเต่าตนุ ซึ่งไม่เหมือนกับเต่ากระที่กินอาหารพวกสัตว์เล็กๆเช่น แมงกะพรุน กุ้ง ปู ปลา หอย และพืชรวมทั้งตะไคร่น้ำตามแนวหิน
การผสมพันธุ์ของเต่าทะเล
การผสมพันธุ์ของเต่าทะเลเป็นการผสมพันธุ์แบบภายใน(Internal Fertilization)การผสมพันธุ์ในแต่ละครั้งของเต่าทะเลใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง และจะอยู่ในช่วงเวลาน้ำขึ้นโดยที่เต่าทะเลเพศผู้จะใช้อุ้งเท้า (Forelimp)ประกบจับด้านหลังของเต่าทะเลเพศเมีย หลังจากนั้นเต่าทะเลเพศผู้จะขึ้นคล่อมอยู่บนหลังเต่าทะเลเพศเมียโดยใช้ระยางค์ทั้งสี่จับแน่นพร้อมกันนั้นเต่าทะเลเพศผู้และเพศเมียจะยื่นอวัยวะเพศของทั้งสองมาพบกันและเต่าทะเลเพศผู้ก็จะถ่ายน้ำเชื้อเข้าสู่อวัยวะเพศเมียเข้าสู่ท่อมดลูกซึ่งแยกออกเป็นสองท่อหลังจากนั้นอีกประมาณ1สัปดาห์แม่เต่าตัวนั้นก็จะขึ้นมาวางไข่
อวัยวะของเต่าและเพศเมียจะสามารถเห็นได้ชัดเจนในขณะวางไข่ซึ่งจะมีลักษณะยื่นยาวออกมาและจะหดเมื่อทำการวางไข่เสร็จ ตัวอย่างเช่น เต่าตนุที่ขึ้นมาวางไข่ที่หาดไม้ขาวในคืนของวันที่ 29 พฤศจิกายน 2507 ออกไข่ 132 ฟองและสามารถวัดอวัยวะเพศเมียได้มีขนาดของความยาวประมาณ 6 นิ้วฟุตเศษอวัยวะส่วนนี้ประกอบด้วยผิวหนังที่มีความยืดหยุ่น
เต่าทะเลทุกชนิดมีการวิวัฒนาการตัวเองให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมในทะเลและลดการแก่งแย่งกันเอง เช่น การกินอาหารที่แตกต่างกัน ซึ่งเต่าทะเลกินได้ทั้งพืชและสัตว์แต่ทว่าก็จะมีการกินที่แตกต่างออกไปในแต่ละชนิด การขึ้นมาวางไข่บนหาดที่มีลักษณะและช่วงเวลาที่แตกต่างกัน กระดองก็สามารถที่จะเปลี่ยนแปรได้ตามสิ่งแวดล้อมโดยในปัจจุบันพบเต่าทะเลได้ในมหาสมุทรและทะเลทั่วโลกยกเว้นมหาสมุทรใต้เท่านั้น
อ้างอิง
ศูนย์อนุรักษ์เต่าทะเล กองทัพเรือ
“อุทยานแห่งชาติสิรินาถ”. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-04-05. สืบค้นเมื่อ 2011-01-11.
เว็บไซต์องค์กรอนุรักษ์เต่าทะเลอย่างเป็นทางการ
“Cheloniidae”. ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ.
วีรยุทธ์ เลาหะจินดา, วิทยาสัตว์เลื้อยคลานและสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก หน้า 358-359 (พ.ศ. 2552)