เพรียงเจาะไม้ มีชื่อเรียกอย่างอื่นอีกว่า เพรียงเรือหรือเพรียงน้ำเค็ม เป็นสัตว์ในกลุ่มหอยสองฝาแต่รูปร่างหน้าตาไม่เหมือนกับหอยสองฝาเลยเพราะมีลำตัวตัวยาวคล้ายกับหนอนแต่ส่วนที่เป็นเปลือกหอยกลับลดรูปลงจนมีขนาดเล็กอยู่ที่ส่วนหัวใช้เจาะไชเนื้อไม้ขูดเจาะเนื้อไม้เพื่อกินเป็นอาหาร เพรียงเจาะไม้สามารถย่อยย่อยเซลลูโลสในเนื้อไม้ได้โดยใช้แบคทีเรียกลุ่มพิเศษอาศัยอยู่ในต่อมน้ำย่อยภายในลำตัว มีแบคทีเรียกลุ่มพิเศษอาศัยอยู่ในต่อมน้ำย่อยภายในลำตัว แบคทีเรียกลุ่มนี้สร้างน้ำย่อยที่สามารถย่อยสลายเซลลูโลสในเนื้อไม้ให้กลายเป็นอาหารให้กับตัวเพรียง ส่วนปลายสุดด้านท้ายลำตัวจะมีท่อหายใจ (siphon) 1 คู่ ซึ่งเป็นช่องทางลำเลียงน้ำเข้าออกสู่ตัวเพรียงยื่นออกไปภายนอกผิวเนื้อไม้และมีอวัยวะสำหรับยึดเกาะเพื่อดันตัวเองไปด้านหน้าขณะเจาะไชเนื้อไม้ โดยตัวเพรียงจะสร้างท่อหินปูนแข็งหุ้มลำตัวอยู่ภายในโพรงไม้เพื่อป้องกันลำตัวที่อ่อนนุ่ม  เพรียงเจาะไม้จะอาศัยอยู่ในเนื้อไม้ตลอดชีวิต

ภาพ เพรียงเจาะไม้อาศัยอย่ในเนื้อไม้แล้วโผล่ท่อหายใจ (siphon) 1 คู่ ลำเลียงน้ำเข้าออกสู่ตัว

ที่มาภาพ: https://scontent.fbkk5-5.fna.fbcdn.net/v/t1.18169-9/24312864_1613936235354867_472923079477493695_n.jpg?_nc_cat=100&ccb=1-7&_nc_sid=973b4a&_nc_ohc=Kkm0V-Sc37sAX_p6kf7&_nc_ht=scontent.fbkk5-5.fna&oh=00_AT8ZT51MXG5L3aJijp1-GuuLoSpbV14yS9nzfuUgAxY3mw&oe=6306607A

โดยศูนย์ศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศป่าชายเลนสิรินาถราชินี

 

การสืบพันธุ์ของเพรียงเจาะไม้โดยเพรียงตัวผู้และตัวเมียจะปล่อยสเปิร์มและไข่ออกไปปฏิสนธิในมวลน้ำ ซึ่งตัวอ่อนจะว่ายล่องลอยเป็นแพลงก์ตอนอยู่ช่วงหนึ่ง ก่อนลงเกาะลงบนไม้โดยตัวอ่อนของเพรียงเจาะไม้จะดึงแคลเซียมจากมวลน้ำมาสร้างท่อหินปูนคลุมลำตัวเพื่อปกป้องตัวเองจากศัตรู โดยเปลือกดังกล่าวใช้สำหรับขูดเจาะเนื้อไม้เพื่อกินเป็นอาหาร

เพรียงเจาะไม้จะเจาะเข้าไปอาศัยในเนื้อไม้พบมากในเนื้อไม้โกงกาง ไม้ตะบูน ซึ่งอยู่บริเวณป่าชายเลนนอกจากนี้ตัวเพรียงยังสามารถสร้างความเสียหายให้กับวัสดุที่เป็นไม้เช่นเสาสะพาน เสาบ้าน เขื่อน แพ โป๊ะ และเรือที่ทำจากไม้ได้แต่ปัจจุบันเรือไม่ค่อยพบปัญหาจากเพรียงเจาะไม้แล้วเพราะเรือที่ใช้ในทะเลขนาดใหญ่ส่วนมาทำจากเหล็กส่วนเรือที่ทำจากไม้ก็มีการทาสารเคมีหรือสีกันเพรียงไว้แล้ว

ประโยชน์ของพรียงเจาะไม้ใช้เป็นอาหารและมีความเชื่อว่าเป็นยาโด้ปได้ เมนูที่นิยมทำจากเพรียงเจาะไม้เช่น ทอดกรอบ ผัดเผ็ด หรือลวกจิ้ม ซึ่งตัวเพรียง มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 800-1000 บาท

บรรณานุกรม

http://forprod.forest.go.th/forprod/Insect_sub_division/PDF/PDF%20knownleg/เพรียง.pdf

https://www.tnews.co.th/social/415140

https://th-th.facebook.com/SirinartCenter/posts/pfbid02SQEJksXDNdX9ZmuYMPKrGdo9z VZtRPeHtv SMJf2X2AAa6Xj2Cuc6PUvoPESiHnVCl

 

 

 

บทความล่าสุด