แมงกะพรุนกล่อง มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ตัวต่อทะเล หรือนักพ่นพิษแห่งท้องทะเล เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจัดอยู่ในไฟลัม Cnidaria กลุ่ม Cubozoa (พจมาน, 2553) ลำตัวใส รูปร่างเป็นกล่องสี่เหลี่ยมคล้ายร่ม หรือระฆังควํ่า แต่ละมุมของตัวสี่เหลี่ยมจะมีขายื่นออกมาก่อนจะแตกเป็นหนวด อาจมีหนวดมากถึง 15 เส้น แต่ละเส้นยาวได้ถึง 3 เมตร หนวดสามารถยืดออกไปได้ไกลเพื่อปล่อยกะเปราะซึ่งมีเข็มพิษ (nematocyst) ออกมาจับกินปลาและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร พบได้ทั้งทางฝั่งทะเลอันดามันและฝั่งทะเลอ่าวไทย โดยพบมากในช่วงเดือนตุลาคม – เมษายน และหลังพายุฝนที่พัดพามาใกล้ฝั่ง
รูป :กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
รูป :ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง
แมงกะพรุนกล่อง เป็นสิ่งมีชีวิตที่พึ่งถูกค้นพบ โดยสถาบันที่ค้นคว้าและสำรวจสายพันธุ์สัตว์ หรือ ไอไอเอสอี ของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐ แอริโซนา ในประเทศสหรัฐอเมริกา โดยแมงกะพรุนกล่องถูกค้นพบในปี ค.ศ. 2007 แมงกะพรุนกล่อง หรือ Box Jellyfish มีอีกชื่อหนึ่งว่า แมงกะพรุน อิรุคันจิ (irukandji) หรือตัวต่อทะเล มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า มาโล คิงกิ (Malo kingi) โดยตั้งตามชื่อของผู้ค้นพบ “โรเบิร์ต คิง” นักท่องเที่ยวชาวอเมริกันที่เสียชีวิตจากพิษของมันในประเทศออสเตรเลีย
กลุ่มของแมงกะพรุนกล่อง
ขั้นตอนการปฐมพยาบาลผู้ที่สงสัยว่าสัมผัสแมงกะพรุน
-
คนที่จะให้การช่วยเหลือต้องมั่นใจว่าตัวเองปลอดภัยจากแมงกะพรุน
-
รีบนําผู้บาดเจ็บขึ้นจากน้ำ หรือไปยังบริเวณที่ปลอดภัย
-
ให้ผู้บาดเจ็บอยู่นิ่งๆ เพื่อลดการแพร่กระจายของพิษ
-
ห้ามขัดถูบริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุน
-
เรียกให้คนช่วย หรือเรียกรถพยาบาล
รูป :กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง
กรณีที่ผู้บาดเจ็บรู้สึกตัวดี (หายใจปกติและชีพจรปกติ)
-
บริเวณที่สัมผัสแมงกะพรุนให้ราดด้วยน้ำส้มสายชูนาน 30-60 วินาที (ห้ามใช้น้ำจืดเพราะเป็นการกระตุ้นพิษ)
-
นำหนวดแมงกะพรุนที่ติดตามร่างกายออกโดยหลีกเลี่ยงการขัดถูบริเวณแผล
3. นำตัวส่งโรงพยาบาล
การป้องกัน
-
สวมเสื้อผ้าชนิดที่สามารถป้องกันเข็มพิษจากแมงกะพรุนพิษ (ได้แก่ ชุดว่ายน้ำเนื้อผ้าไลก้า, ชุดดำน้ำ เป็นต้น)
-
ติดตั้งป้ายเตือนแมงกะพรุน
-
ติดตั้งป้ายการปฐมพยาบาลและเสาน้ำส้มสายชู
-
จัดอบรมให้ความรู้ฝึกทักษะการปฐมพยาบาลและการกู้ชีพแก่อาสาสมัครและเผยแพร่ความรู้ให้แก่ประชาชน
-
ติดตั้งตาข่ายกั้นแมงกะพรุนพิษ