
Common name : White spot disease
สาเหตุ
เกิดจากเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว (White spot syndrome virus; WSSV) ซึ่งเป็นเชื้อไวรัส ชนิดดีเอ็นเอสายคู่ ชนิดของสัตว์ที่ยอมรับเชื้อ WSSV เป็นสัตว์จำพวกครัสเตเชียน (Crustacean) ได้แก่ กุ้ง และปู ซึ่งการติดเชื้อ WSSV สามารถติดเชื้อได้ตลอดช่วงอายุของสัตว์ ตั้งแต่วัยอ่อนจนถึงระยะพ่อแม่พันธุ์ สัตว์ที่สามารถนำเชื้อไวรัสมาสู่กุ้ง ได้แก่ ปู กุ้ง เคย โรติเฟอร์, อาร์ทีเมียร์, โคพีพอด, ตัวอ่อนแมลง, แมลง และหอยทะเล โพลิคีด เช่น เพรียงชนิดต่าง ๆ รวมทั้งสัตว์มีกระดูกสันหลัง เช่น นก สุนัข เป็นต้น
การติดต่อ
การติดต่อของเชื้อ WSSV สู่กุ้ง ปูและสัตว์จำพวกครัสเตเชียน
-
พ่อแม่พันธุ์ มีรายงานตรวจพบเชื้อ WSSV ในไข่ระยะ Oocytes แต่ตรวจไม่พบในระยะไข่ที่ พัฒนาสมบูรณ์ ซึ่งอาจเนื่องมาจากไข่ที่ติดเชื้อถูกไวรัสทำลายก่อนพัฒนาสมบูรณ์ เชื้อที่ปนเปื้อนมากับอาหารมีชีวิตที่ใช้เลี้ยงพ่อแม่พันธุ์กุ้ง เช่น เพรียงทราย หรือแม่เพรียง เมื่อถูกขับออกจากพ่อแม่พันธุ์ และปนเปื้อนสู่ในน้ำ ทำให้ลูกกุ้งระยะ Nauplius หรือระยะ Post larva ติดเชื้อ (ช่วงอนุบาลอุณหภูมิน้ำค่อนข้างสูง ทำให้ไวรัสเพิ่มปริมาณได้น้อย ควรตรวจสอบด้วยเทคนิค Real time PCR)
2.อาหารที่มีเชื้อ WSSV
3.เชื้อ WSSV ปนเปื้อน ในน้ำ
อาการ
1.กุ้งป่วยจะว่ายล่องบริเวณผิวน้ำ ทำให้นกสังเกตเห็นและลงมา จับกินเป็นเหตุให้เชื้อแพร่กระจาย ไปได้ไกลมากขึ้น
2.กุ้งป่วยจะว่ายมาเกยตามขอบบ่อเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อัตราการกิน อาหารในช่วงแรกยังปกติ ระยะแรกจะมีอาการตัวแดงเล็กน้อย อาจพบลักษณะเปลือกนิ่มบางโดยเฉพาะส่วนหัว
3.ภายหลังจากกุ้งได้รับเชื้อประมาณ 3 – 4 วัน เมื่อเช็คยอพบว่า มีอาการตัวแดงและเพิ่มจ้านวน มากขึ้นเรื่อย ๆ บางกรณีอาจมีจุด ขาวเล็ก ๆ เกิดขึ้นด้านในของเปลือกหุ้มตัวซึ่งมักพบที่บริเวณใต้ เปลือกหุ้ม ส่วนหัว จะสังเกตได้ง่ายในกุ้งกุลาดำ
4.เมื่อมีกุ้งป่วยมากขึ้น อัตราการกินอาหารจะลดลง และอัตราการ ตายของกุ้งจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว จนถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ภายใน ระยะเวลา 5 – 7 วันหลังจากพบกุ้งป่วย
5.โรคตัวแดงดวงขาวมักเกิดขึ้นมากในช่วงอากาศหนาว อุณหภูมิน้ำในช่วงกลางวันกับกลางคืนมีความแตกต่างกันมาก จะมีการ ระบาดมากขึ้นในช่วง ระหว่างเดือนพฤศจิกายนจนถึงเดือน กุมภาพันธ์

รูปที่ 1 ลักษณะกุ้งขาวและกุ้งกุลาดำ ที่ป่วยด้วยโรคตัวแดงดวงขาว และ กุ้งปกติ
ที่มา https://www4.fisheries.go.th/local/file_document/20190220224758_1_file.pdf
ปัจจัยที่มีผลต่อความรุนแรงของโรค
-
ปริมาณของเชื้อที่ได้รับ
-
ความเครียดที่เกิดจากการจัดการ เช่น ความหนาแน่นสูงและคุณภาพน้ำไม่เหมาะสม ปริมาณ ออกซิเจนละลายน้ำไม่เพียงพอ (ไม่ควรต่ำกว่า 5 มิลลิกรัม/ลิตร) ปริมาณสารอินทรีย์ และการเปลี่ยนแปลง สภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น อุณหภูมิในรอบวันเปลี่ยนแปลงสูง โดยเฉพาะในหน้าหนาว และหลังฝนตกหนัก สะสม กระทบต่อภูมิคุ้มกันของกุ้ง
-
สายพันธุ์และความแข็งแรงของกุ้ง
การป้องกัน
1.หลีกเลี่ยงการเลี้ยงกุ้งในช่วงอุณหภูมิต่ำเนื่องจากเชื้อจะเจริญได้ ดีในช่วงอุณหภูมิต่ำ
2.ปล่อยลูกพันธุ์กุ้งที่ปลอดเชื้อไวรัสตัวแดงดวงขาว หรือลูกพันธุ์กุ้งที่เป็นสายพันธุ์ปลอดเชื้อ (specific pathogen free; SPF)
3.ใช้ลูกพันธุ์กุ้งที่ผ่านการเลี้ยงที่อุณหภูมิ 32±2 องศาเซลเซียส นาน 7 วัน สำหรับลงเลี้ยงในบ่อดิน จะช่วยลดความเสี่ยงในการ เกิดโรคตัวแดงดวงขาวได้
4.สุ่มตัวอย่างกุ้งในบ่อเลี้ยงเพื่อตรวจสุขภาพกุ้งอย่างสม่ำเสมอ
5.ลดปัจจัยที่ท้าให้กุ้งเกิดความเครียด เช่น ลดความหนาแน่นของ กุ้งที่ปล่อยลงเลี้ยง
6.ใช้ระบบการเลี้ยงที่มีการถ่ายน้ำน้อยเพื่อลดความเสี่ยงในการ น้ำเชื้อจากภายนอกเข้ามาในบ่อเลี้ยง
7.เลี้ยงกุ้งในระบบที่มีการจัดการระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ที่มีประสิทธิภาพ
อ้างอิง
กองวิจัยและพัฒนาสุขภาพสัตว์น้ำ. (2564). โรคในสัตว์น้ำ. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2567.
จาก https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/view_activities/1272/118169
โกรเบสท์. (2567). สาเหตุและการป้องกัน โรคตัวแดงดวงขาว. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน 2567.
จาก https://www.grobest.com/th/news/detail/1178
บทความล่าสุด

ตอนที่ 3 เทคนิคการเลือกซื้อปลาสวยงาม

ตอนที่ 2 ประเภทของปลาสวยงาม
