ชื่อไทย: แมงกะพรุนพระจันทร์ แมงกะพรุนถ้วย

common name:  moon jellyfish  common jellyfish  saucer jelly

ชื่อวิทยาศาสตร์: Aurelia sp.

ลักษณะทั่วไป

มีรูปร่างคล้ายถ้วย ด้านบนโค้งด้านล่างเว้า มีปากอยู่ด้านล่าง รอบปากมีหนวดแบนยาว 4 อันทำหน้าที่จับเหยื่อ มีเข็มพิษอยู่ที่หนวดแต่เข็มพิษของแมงกะพรุนพระจันทร์ไม่ร้ายแรงมากอาจทำให้มนุษย์รู้สึกระคายเคืองเล็กน้อย

แมงกะพรุนพระจันทร์อาศัยอยู่ทั้งเขตน้ำตื้นและน้ำลึกอาหารได้แก่แพลงค์ตอนสัตว์ ตัวอ่อนและไข่หอยทะเลและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก จับเหยื่อโดยใช้เข็มพิษทำให้สลบ โตเต็มที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5-40 เซนติเมตร

การแพร่กระจาย

พบตามชายฝั่งทั้งในมหาสมุทรแปซิฟิก มหาสมุทรแอตแลนติค มหาสมุทรอินเดีย ทั้งยังพบในที่มีความเค็มต่ำ ทะเลสาบน้ำจืด บริเวณน้ำกร่อยอุณหภูมิที่เหมาะสมในการอยู่อาศัยคือ 9-19 องศาเซลเซียส

สัตว์ที่ล่าแมงกะพรุนพระจันทร์คือ เต่าทะเลและนกทะเล

ประโยชน์ของแมงกะพรุนพระจันทร์: ใช้ทำเครื่องสำอางเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิว

วงชีวิต

แมงกะพรุนพระจันทร์มี 5 ระยะคือ

  1. ระยะหลังจากการปฏิสนธิที่เป็นตัวอ่อนว่ายน้ำได้เรียกว่า พลานูลา ลาร์วา (planula larva)
  2. ระยะที่เป็นตัวอ่อนเกาะอยู่กับที่เรียกว่าระยะโพลีป (polyp)
  3. ระยะที่โพลีป เจริญเติบโตเป็นคล้ายถ้วยซ้อนกันเป็นชั้นๆ เรียกว่าระยะสตรอบิลา (strobila)
  4. ระยะที่ตัวอ่อนหลุดออกมาแต่ตัวมีลักษณะเป็นแฉกเรียกว่าระยะ อีไฟลา (ephyra)
  5. ระยะที่เป็นแมงกะพรุนพระจันทร์ตัวเต็มวัยเรียกว่าระยะเมดูซา (medusa)

ที่มาดัดแปลงจาก http://www.scientific-art.com/GIF%20files/Zoological/moonjell.gif