ชื่อไทย: ปลาฉลามกบ

วงศ์: Hemiscylliidae

ชื่ออังกฤษ: Brownbanded bamboo shark, Banded cat shark

%e0%b8%89%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b8%9a2

ชีววิทยา

เป็นปลาฉลามขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีลำตัวและหางเรียวยาว จะงอยปากกว้างอยู่บริเวณด้านหน้าของตาทั้ง 2 ข้าง ตามีขนาดเล็ก ครีบหางแฉกบนโค้งเรียวยาวกว่าแฉกล่าง ในลูกปลาวัยอ่อนจะมีลายเป็นแถบสีขาวสลับดำคาดตามขวางลำตัวและจะค่อย ๆ จางลงเมื่อโตขึ้นและกลายเป็นสีน้ำตาลแทน และมีอวัยวะคล้ายหนวดบริเวณส่วนหน้าด้วย จึงได้อีกชื่อเรียกหนึ่งว่า “ปลาฉลามแมว”

วงจรชีวิต

เป็นปลาฉลามที่ ออกลูกเป็นไข่ โดยที่ตัวเมียจะไม่ดูแลไข่ แต่จะวางไข่อยู่บริเวณแนวปะการังที่มีสาหร่ายล้อมรอบอยู่ และสร้างเปลือกไข่ที่แข็งแรงเพื่อปกป้องตัวอ่อน

การสืบพันธุ์

เพศผู้มีอวัยวะช่วยในการสืบพันธุ์ลักษณะ เป็นติ่งเนื้อเรียกว่า claspers เพศเมียมีช่องสืบพันธุ์เรียกว่า cloaca สืบพันธุ์โดยการวางไข่ (oviparous)  เริ่มจากการที่ปลาฉลามตัวผู้และฉลามตัวเมียว่ายนํ้ามากกว่าปกติ โดยตัวเมียว่ายนําตัวผู้เคียงคู่กันไปตลอด ตัวผู้เริ่มประชิดตัวเมียมากขึ้นแล้วกัดครีบหู (pectoral fin) ของตัวเมียทั้งครีบไว้แน่น และว่ายนํ้าเคียงคู่กันไปโดยมีการหยุดเป็นระยะๆ จากนั้นทั้งคู่บิดตัวเข้าหากัน โดยตัวผู้งอตัวประกบตัวเมียเพื่อสอดอวัยวะที่ช่วยในการสืบพันธุ์ (claspers) เข้าไปในช่องสืบพันธุ์ของตัวเมีย (cloaca) อย่างรวดเร็วจนมิดในลักษณะตัวติดกันแน่น ขณะเดียวกันก็เคลื่อนที่ไปด้วย และหยุดนิ่งเป็นระยะจากนั้นทั้งคู่ก็ทิ่มหัวดิ่งลงสู่พื้นมาอยู่ในลักษณะนอนราบกับพื้นและดิ้นแยกออกจากกัน ชอบอาศัยอยู่ตามหน้าดินพื้นทะเล มีนิสัยชอบนอนนิ่งสามารถกบดานอยู่กับที่

อาหาร

ปลาฉลามที่หากินอยู่บริเวณหน้าดิน มีพฤติกรรมชอบอยู่นิ่ง ๆ กินแต่พืชและสัตว์น้ำขนาดเล็กเป็นอาหาร

แหล่งที่อยู่

พบทั่วไปตามพื้นทรายแนวปะการังในเขตน่านน้ำอินโด-แปซิฟิก ตั้งแต่ อินเดีย, มาเลเซีย, สิงคโปร์, อินโดนีเซีย, เวียดนาม, จีน, ไต้หวัน, ญี่ปุ่น, ฟิลิปปินส์ จนถึงตอนเหนือของออสเตรเลีย และไทย พบทั้งฝั่งอ่าวไทยและทะเลอันดามัน

%e0%b8%89%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%a1%e0%b8%81%e0%b8%9a3