เหาฉลาม หรือ ปลาติด
Common name: Common Remora, suckerfish
อยู่ในวงศ์ Echeneidae
ลักษณะทั่วไป
ลำตัวยาว หัวเรียว ด้านบนของหัวเรียบมีอวัยวะเกาะติดที่พัฒนามาจากครีบหลัง มีแถบสีดำขนาดใหญ่พาดตามลำตัว หลังและท้องมีสีเทาเข้ม มีลักษณะคล้ายปลาช่อนทะเล โตเต็มที่มีขาดประมาณ 60 เซนติเมตร
วงจรชีวิต
ยังไม่มีข้อมูลแน่ชัดเกี่ยวกับวงจรชีวิตของเหาฉลาม
การสืบพันธุ์
การจับคู่ผสมพันธุ์อาจเกิดขึ้นบนตัวปลาที่เหาฉลามเกาะอยู่ ซึ่งยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดเรื่องการผสมพันธุ์ของเหาฉลาม
อาหาร
ได้รับอาหารจากเศษอาหารจากปลาที่มันเกาะติด โดยปล่อยตัวออกมากิน นอกจากนี้ยังกินแพลงก์ตอนสัตว์และโคพีพอดเป็นอาหาร
แหล่งที่อยู่
ชอบเกาะติดอยู่กับสัตว์ใหญ่ เช่น ปลาฉลาม, กระเบนราหู หรือเต่าทะเล โดยใช้อวัยวะสำหรับดูดติด บางครั้งพบว่ายน้ำอยู่อิสระในแนวปะการัง
พบแพร่กระจายในเขตร้อนทั่วโลก และมีการแพร่กระจายกว้างที่สุด ในประเทศไทย พบได้ทั้งสองฝั่งทะเล แต่จะพบเห็นได้บ่อยบริเวณหมู่เกาะสิมิลัน และกองหินลอเชลิว โดยมักเกาะอยู่กับฉลามวาฬ หรือกระเบนราหู ฝั่งอ่าวไทยพบบ้างบริเวณเกาะเต่า จังหวัดสุราษฏร์ธานี
เอกสารอ้างอิง
https://th.wikipedia.org/wiki/เหาฉลาม
https://en.wikipedia.org/wiki/Common_remora