ข้อมูลนักท่องเที่ยว
สินค้าที่ระลึก
ทัวร์เสมือนจริง
บทความน่ารู้
ข่าวสาร
เกี่ยวกับเรา
ติดต่อเรา
Enso (เอนโซ่)
หน้าแรก
›
ฐานข้อมูลองค์ความรู้
›
Enso (เอนโซ่)
ENSO หรือ El Nino / Southern Oscillation เป็นปรากฎการณ์การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิของผิวน้ำทะเลในมหาสมุทรแปซิฟิกเขตเส้นศูนย์สูตรและความผันแปรของระบบอากาศในซีกโลกใต้ จึงหมายความรวมถึงปรากฎการณ์เอลนีโญและลานีญา สภาวะอุ่นของเอนโซ่ (Warm phase of ENSO) ให้ความหมายเดียวกันกับเอลนีโญ คืออุณหภูมิบริเวณตอนกลางและตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิคเขตศูนย์สูตรอุ่นขึ้นผิดปกติ และสภาวะเย็นของเอ็นโซ (Cold phase of ENSO) ให้ความหมายเดียวกับลานีญา คืออุณหภูมิบริเวณตอนกลางและตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิคเขตศูนย์สูตรเย็นกว่าปกติ
ENSOจะมีทั้งหมด 4 ระยะ
ระยะบอกเหตุ ลมบริเวณด้านตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิคจะพัดแรงกว่าปกตินานหลายเดือนก่อนเกิดเอลนีโญรุนแรง
ระยะเริ่มต้น สภาวะน้ำทะเลที่อุ่นกว่าปกติจะหายไปจากบริเวณตะวันตกของมหาสมุทรแปซิฟิค น้ำทะเล
ที่อุ่นกว่าปกติจะอยู่ในตอนกลางมหาสมุทรแปซิฟิคทำให้มีฝนตก และบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันออกจะเริ่มมีน้ำทะเลที่อุ่นขึ้น
ระยะเติบโต น้ำทะเลที่อุณหภูมิสูงผิดปกติเริ่มพบเห็นในมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันออก และระดับเทอโมไคลน์ลึกลง และมีฝนตกหนัก ขณะเดียวกับมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันตกจะแห้งแล้ง ความผิดปกติจะดำเนินไปต่อเนื่องจนถึงจุดสูงสุด
ระยะสลายตัว มหาสมุทรแปซิฟิคตะวันออกจะมีน้ำอุ่นครั้งที่สองและจะเพิ่มจนสูงสุด ก่อนจะลดลงอย่างรวดเร็วจนต่ำกว่าปกติ เทอโมไคลน์จะกลับขึ้นมาใกล้ชั้นผิวน้ำ น้ำเย็นจะแผ่ขยายไปทางมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันตก หลังจากระยะเริ่มเกิดที่กินเวลากว่า 18 เดือน มหาสมุทรจะกลับคืนสู่ภาวะปกติ
เอลนีโญและลานีญา
ในสภาวะที่อากาศปกติ ในมหาสมุทรแปซิฟิคเขตศูนย์สูตรจะมีลมที่พัดจากมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันออกไปยังมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันตก เรียกลมนี้ว่า ลมค้า หรือ ลมสินค้า ( Trade winds ) ซึ่งจะพัดเอาน้ำผิวหน้าบริเวณทวีปอเมริกาใต้ที่เป็นกระแสน้ำอุ่นมายังทวีปเอเชีย กระแสน้ำอุ่นนี้นำพาความชื้นมาทำให้เกิดฝนในทวีปเอเชีย ส่วนทวีปอเมริกาใต้จะเกิด Upwelling หรือน้ำผุด คือน้ำจากพื้นท้องทะเลที่เย็นกว่าจะพัดขึ้นแทนที่ ทำทวีปอเมริกาใต้แห้งแล้ง แต่ก็มีแร่ธาตุอาหารที่พัดพาจากท้องทะเลขึ้นมาทำให้มีความอุดมสมบูรณ์ของสัตว์ทะเล
เอลนีโญ
เกิดจากลมค้าอ่อนกำลังลง กระแสลมจะเปลี่ยนเป็นทิศตรงข้ามเนื่องจากอุณหภูมิและความกดอากาศ
ฝั่งตะวันออกและฝั่งตะวันตกของมหาสมทรแปซิฟิคเปลี่ยนแปลงไป เมื่อลมค้าอ่อนกำลังลงกระแสลมจะพัด
จากทวีปเอเชียที่เป็นความกดอากาศสูง (อุณหภูมิต่ำ) เข้าไปแทนที่บริเวณตะวันออกซึ่งคือทวีปอเมริกาใต้ซึ่งมีความกดอากาศต่ำ (อุณหภูมิสูง) ทำให้บริเวณทวีปอเมริกาใต้จากที่ควรจะแห้งแล้งกลับความชุ่มชื้นมากขึ้นกว่าปกติ
ฝนตกหนักมากขึ้น อีกทั้งกระแสน้ำเย็นไม่สามารถลอยตัวขึ้นมาแทนที่ได้ความอุดมสมบูรณ์ของธาตุอาหารจึงลดลง ขณะที่เอเชียจะแห้งแล้ง สำหรับทะเลในประเทศไทยจะได้รับผลโดยอุณหภูมิจะสูงขึ้นกว่าปกติ
ภาพ : การเกิดเอลนีโญ
ที่มา :
https://www.nesdis.noaa.gov/news/el-nino
ลานีญา
เกิดจากลมค้ามีกำลังแรงกว่าปกติโดยลมจะพัดพากระแสน้ำอุ่นจากมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันออก
มายังมหาสมุทรแปซิฟิคตะวันตกเหมือนเดิมแต่จะมีความรุนแรงมากกว่าปกติ ซึ่งส่งผลให้มหาสมุทรแปซิฟิคตะวันตกที่มีอุณหภุมิน้ำสูงอยู่แล้วให้มีอุณหภูมิสูงขึ้นไปอีก เกิดการระเหยของน้ำและความชื้นมีมากขึ้น จึงทำให้ฝนตกหนักในฝั่งเอชียมากกว่าปกติในขณะที่มหาสมุทรแปซิฟิคตะวันออกจะมีสภาพอากาศที่แห้งแล้งกว่าปกติ
สำหรับทะเลในประเทศไทยจะได้รับผลกระทบคืออุณหภูมิลดลงกว่าปกติ
ภาพ : การเกิดลานีญา
ที่มา :
https://www.nesdis.noaa.gov/news/la-nina
เอกสารอ้างอิง
https://www.gistda.or.th/news_view.php?n_id=3312&lang=TH
dev.azurewebsites.net/ 8
https://psl.noaa.gov/enso/
บทความล่าสุด
24 มิถุนายน 2024
ภาวะขาดวิตามินซี (Hypovitaminosis C)
19 มิถุนายน 2024
โรคตัวแดงดวงขาว (White spot disease; WSD)
17 มิถุนายน 2024
ปรากฏการณ์คลื่นพายุซัดฝั่ง (Stoem surge)