ชื่อไทย: ปลาหมอทะเล

ชื่อวิทยาศาสตร์: Epinephelus lanceolatus (Bloch,1790)

ชื่ออังกฤษ: Giant grouper

Giant grouper2

ชีววิทยา

อยู่ในวงศ์ปลากะรัง เป็นปลาทะเลกระดูกแข็งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในแนวปะการัง มีขนาดหัวที่ค่อนข้างโต ปากกว้าง ครีบหางใหญ่ค่อนข้างกลมมน เมื่อยังเล็กตามลำตัวและครีบจะมีลายสีเหลืองสลับอยู่ทั่วลำตัว โดยเฉพาะตามครีบจะเด่นชัดมาก ปลาหมอทะเลมักจะอาศัยอยู่ในถ้ำ ซากเรืออับปาง หรือกองหิน ด้วยขนาดที่ใหญ่โตของมัน และเป็นปลาที่หวงถิ่น เมื่อมีปลาตัวอื่นเข้ามาใกล้ มันจะลอยตัวกลางน้ำนิ่งๆและพองครีบออกเพื่อเป็นการข่มขู่ สำหรับนักดำน้ำมีรายงานการทำร้ายนักท่องเที่ยวบ้าง แต่ไม่มีรายงานว่าเสียชีวิต

วงจรชีวิต

ขนาดโตเต็มที่ยาวประมาณ 270 เมตร และหนักได้ถึง 400 กิโลกรัม ปลาหมอทะเลเมื่อขณะยังเล็กจะเป็นตัวเมียทั้งหมด และจะเปลี่ยนเป็นตัวผู้เมื่อมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือในแนวปะการังแหล่งนั้นไม่มีตัวผู้อยู่เลย

การสืบพันธุ์

การผสมพันธุ์เป็นแบบนอกตัว โดยตัวเมียจะทำการปล่อยไข่นอกตัว และตัวผู้ฉีดน้ำเชื้อไปที่ไข่ ไข่เป็นลักษะเกาะติด โดยไข่ที่ผสมแล้วจะจมลงสู่พื้นด้านล่าง

ลูกเต่า

อาหาร

มีพฤติกรรมการกินโดยฮุบกินทั้งตัว กินสัตว์ทะเลได้หลากหลาย รวมถึงปลาฉลามขนาดเล็ก ลูกเต่าทะเล และกุ้งมังกร

แหล่งที่อยู่อาศัย

พบทั่วไปในทะเลเขตร้อนของมหาสมุทรอินเดียถึงมหาสมุทรแปซิฟิก มักจะอาศัยอยู่ในถ้ำ ซากเรืออับปาง หรือกองหิน ในแนวปะการังที่ความลึก 1-200 เมตร แต่ปกติจะพบที่ความลึกไม่เกิน 50 เมตร ซึ่งทำให้มันเป็นปลากระดูกแข็งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดที่พบในแนวปะการัง