5Inbreeding in fish

รูปลักษณะการผสมเลือดชิดในปลานีออน

โรคเลือดชิดคือความผิดปกติในพันธุกรรม ไม่ใช่เชื้อโรคที่แพร่กระจาย หรือ ทำให้ปลาอื่นติดเชื้อป่วย  มันคือโรคทางพันธุกรรมที่ผิดปกติมักแฝงมากับปลาในครอบครัวเดียวกัน หรือ ครอกเดียวกัน อาการของโรคนี้ที่แสดงออกมาทางกายภาพ เราสามารถสังเกตและแยกแยะได้เอง คือ อาการปลาผอม หัวโต แคระ ตัวลีบ ตัวคดงอ พิการ ซึ่งมักเป็นมาตั้งแต่กำเนิด ส่วนใหญ่มักจะตายไปเอง ส่วนน้อยอาจจะรอดและเติบโต

สาเหตุการเกิดโรค

เกิดจากการที่ปลาที่มีลักษณะดังกล่าวหรือพิการผสมพันธุ์กัน มักจะเกิดจากการเลี้ยงรวมกันในสายพันธุ์นั้นๆ โดยที่ผู้เลี้ยงไม่ได้ทำการคัดพ่อแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์ หรือ ปล่อยให้ผสมพันธุ์กันเอง (หลายรุ่นรวมกันในอ่างเดียว) ทำให้รุ่นลูกแสดงลักษณะความผิดปกติออกมาได้ชัด และจะมีเปอร์เซ็นต์จำนวนเพิ่มขึ้น ถ้าผู้เลี้ยงไม่ทำการคัดพ่อแม่พันธุ์ที่สมบูรณ์

วิธีการรักษา

ผู้เลี้ยงควรคัดเลือกลักษณะตัวที่สวยและสมบูรณ์ที่สุดไปเป็นพ่อแม่พันธุ์เสมอ ขั้นตอนนี้คือการเลือกลักษณะที่ดีและสมบูรณ์ จึงมักไม่ค่อยพบปัญหาโรคเลือดชิด เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายที่สุด อย่างไรก็ตามอาการเลือดชิดอาจแสดงออกมาเสมอ ถ้าผู้เลี้ยงขาดการใส่ใจในการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ในครอกปลาเดียวกัน ถ้าพบเจอตัวที่แสดงอาการให้คัดแยกออกจากที่เลี้ยงทันที เป็นวิธีการคัดแยกเบื้องต้น

ในบางครั้งความพิการที่แสดงออกมาในทางที่ดีก็มีเช่นกัน ย้ำ ในทางที่ดีนะ เช่น หางพลิ้วแตก (Crow/Swallow) ครีบก้นยาว (long fin) ลำตัวสั้นป้อม (Short body) ตาโปน หัวปูด ตาแดงข้างหนึ่งตาดำข้างหนึ่ง เป็นต้น ซึ่งผู้พัฒนาสายพันธุ์มักจะนำไปพัฒนาต่อไป แต่โอกาสนั้นเกิดได้น้อยที่จะได้ลักษณะที่ดี

แต่อย่างไรก็ตามโรคเลือดชิดก็ยังเป็นอาการแฝงในพันธุกรรมเสมอ ถ้าเลี้ยงรวมกันแบบ พ่อ แม่ พี่ น้อง หลาน เหลน จนทำให้ พ่อผสมกับลูก ลูกผสมกับแม่ ลูกผสมกันเอง(มีพ่อแม่เดียวกัน) อยู่รวมกันเป็นครอบครัวใหญ่ และไม่มีการคัดตัวที่แสดงลักษณะที่ด้อยหรือพิการออกไป ก็จะทำให้จำนวนความพิการนี้มีเพิ่มขึ้นจนไม่สามารถจะแยกได้ว่า ตัวไหนมีเชื้อมากหรือตัวไหนมีเชื้อน้อย ซึ่งเราควรทำการคัดเลือกปลาในแต่ละรุ่นเสมอ เพื่อรักษาคุณภาพและความสมบูรณ์ของปลา ก็จะช่วยหลีกเลี่ยงอาการโรคเลือดชิดนี้ได้เช่นกัน  ซึ่งอยู่ที่ความสนใจของผู้เลี้ยงเองเป็นหลัก

Inbreeding in turtle

รูปลักษณะการผสมเลือดชิดในเต่า

สาเหตุการเกิดโรค

การผสมพันธุ์ระหว่างเต่าที่มีพ่อแม่ท้องเดียวกันหรือเต่าที่เป็นเครือญาติสายเลือดใกล้กันมาก เกิดจากพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากพ่อแม่สู่ลูก

อาการของโรค

อาการของโรคนี้ที่แสดงออกมาทางกายภาพ เราสามารถสังเกตและแยกแยะได้เอง คือ อาการเต่าผอม หัวโต แคระ ตัวลีบ ตัวคดงอ พิการ ซึ่งมักเป็นมาตั้งแต่กำเนิด

วิธีการรักษา

ผู้เลี้ยงควรคัดเลือกลักษณะตัวที่สวยและสมบูรณ์ที่สุดไปเป็นพ่อแม่พันธุ์เสมอ ขั้นตอนนี้คือการเลือกลักษณะที่ดีและสมบูรณ์ จึงมักไม่ค่อยพบปัญหาโรคเลือดชิด เป็นวิธีที่ทำได้ง่ายที่สุด

เอกสารอ้างอิง

กรมปศุสัตว์. 2565. โรคทางพันธุกรรมที่ต้องห้ามในสัตว์ของศูนย์ผลิตน้ำเชื้อ (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา:

https://biotech.dld.go.th [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม2567]

รายงานการประชุมวิชาการประมง. 2560. การปรับปรงพันธุ์กุ้งแชบ๊วยด้วยวิธีการคัดเลือกแบบภายใน                                                     

          ครอบครัว (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา:  สืบค้นจาก https://www4.fisheries.go.th

[สืบค้นเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม2567]

thonglor pet hospital. 2565.  เลือดชิด หรือ INBREEDING คืออะไร? อันตรายหรือไม่ (ระบบออนไลน์).

แหล่งที่มา: https://thonglorpet.com [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม2567]

Topaquarium. 2562. เลือดชิด จากการเลี้ยงปลาครอกเดียวกัน ผสมพันธุ์กัน (ระบบออนไลน์). แหล่งที่มา:

http://www.topaquariumhome.com [สืบค้นเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม2567]