ชื่อไทย: ปลาสลิดหินบั้ง ปลาตะกรับห้าแถบ ปลาตะกรับเขียวเหลือง

common name: Indo-Pacific sergeant

ชื่อวิทยาศาสตร์: Abudefduf vaigiensis

ลักษณะทั่วไป

ลำตัวสั้นและแบนทางด้านข้าง เกล็ดตามผิวลำตัวค่อนข้างใหญ่ ครีบหลังทั้งสองตอนเชื่อมต่อกันตลอด ปลายครีบหลังและครีบก้นยื่นยาวออกไปข้างหลังเป็นชายธง ครีบหูและครีบท้องยาวแหลม ครีบหางเป็นสองแฉก ขนาดความยาวประมาณ 15-20 เซนติเมตร พื้นผิวลำตัวมีลายพาดสีฟ้าอมดำ 4-6 แถบ สลับกับสีเขียวอมเหลือง

อาหาร

แพลงค์ตอนสัตว์ สาหร่ายตามพื้นทะเล และสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังขนาดเล็ก

แหล่งที่อยู่อาศัย

อาศัยตามแนวปะการังแนวกองหินใต้น้ำ และแอ่งน้ำที่เกิดจากน้ำขึ้น-ลง  พบแพร่กระจายทั่วไปเขตอินโดแปซิฟิก

การสืบพันธุ์

ตัวผู้จะเปลี่ยนเป็นสีฟ้าขณะจับคู่ผสมพันธุ์ ตัวผู้จะสร้างรังตามก้อนหินหรือปะการัง ล่อให้ตัวเข้าไปไข่แล้วผู้จะเข้าไปปล่อยน้ำเชื้อ หลังจากนั้นตัวผู้จะเฝ้ารังจนไข่ฟักตัว

วงจรชีวิต

ไข่ที่ผสมแล้วติดอยู่กับก้อนหินหรือแนวปะการัง โดยมีตัวผู้เฝ้าดูแล จนไข่ฟักตัวเป็นลูกปลาจะไปอาศัยในทะเลเปิดและจะเข้ามาอาศัยตามแนวปะกังตอนเป็นตัวเต็มวัย

ปลาในกลุ่มนี้โดยปกติจะรวมฝูงมักอยู่รวมกับปลาอื่น ๆ ในแนวปะการังได้บ้าง แต่พบว่าเมื่อฝูงปลาที่คุ้นชิน และได้รับอาหารจากนักท่องเที่ยว มักจะมีนิสัยก้าวร้าวมากกว่าปลาตามธรรมชาติ ซึ่งปลาจะเพิ่มจำนวนมากขึ้นและขับไล่ปลาชนิดอื่นออกจากพื้นที่ ทำให้มีความหลาหลายของปลาในแนวปะการังน้อย ทำให้ขาดสมดุล เพราะปลาหรือสัตว์ที่คอยกินสาหร่ายที่จะคลุมปะการังจะถูกขับไล่ ทำให้แนวปะกรังเสียหายได้ในเวลาต่อมา

บรรณานุกรม

https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาตะกรับห้าแถบ