Kingdom Protista (อาณาจักรโพรทิสตา)

อาณาจักรโพรทิสตา คือกลุ่มสิ่งมีชีวิตที่ประกอบด้วยเซลล์เดียวหรือหลายเซลล์ มีโครงสร้างเซลล์เรียบง่าย ไม่ซับซ้อนมากนัก พบได้ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้น เช่น น้ำจืด น้ำทะเล หรือบริเวณพื้นที่ชื้นแฉะ

สิ่งมีชีวิตในอาณาจักรนี้มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง บางชนิดสามารถสร้างอาหารเองได้ (autotroph) เช่น สาหร่ายบางชนิด ในขณะที่บางชนิดเป็นผู้บริโภค (heterotroph) เช่น อะมีบา และบางชนิดมีทั้งสองลักษณะ (mixotroph)

โพรทิสตามีบทบาทสำคัญในระบบนิเวศ โดยเฉพาะในฐานะผู้ผลิตระดับต้นในห่วงโซ่อาหารทางน้ำ ทั้งในทะเลและน้ำจืด

Exhibition Protista


สาหร่ายทะเล (Seaweed)

ลักษณะทั่วไปของสาหร่ายทะเล

  • สาหร่ายทะเลจัดอยู่ในกลุ่มพืชชั้นต่ำ (Lower Plants)

  • ไม่มีราก ลำต้น และใบที่แท้จริง

  • ไม่มีระบบท่อลำเลียงอาหารจากรากสู่ลำต้นแบบพืชชั้นสูง เช่น หญ้าทะเล

  • แพร่กระจายพันธุ์ด้วยการสร้างสปอร์และแบ่งตัว

  • ดูดซับน้ำและแร่ธาตุจากน้ำทะเลสู่เซลล์ต่าง ๆ โดยตรง

การสร้างอาหารของสาหร่ายทะเล

  • สาหร่ายทุกชนิดสามารถสร้างอาหารโดยการสังเคราะห์แสง

  • สารสังเคราะห์แสงที่มีในสาหร่ายแต่ละชนิดเป็นเกณฑ์สำคัญในการแบ่งกลุ่มสาหร่าย

กลุ่มของสาหร่ายทะเล

  1. สาหร่ายสีเขียว (Green Algae)

    • อยู่ใน Division Chlorophyta

    • ส่วนมากเป็นสาหร่ายเซลล์เดียว

    • เติบโตบนพื้นผิวหน้าปะการัง

  2. สาหร่ายสีน้ำตาล (Brown Algae)

    • อยู่ใน Division Phaeophyta

    • ส่วนมากมีขนาดใหญ่

    • เป็นผู้ผลิตขั้นต้นที่สำคัญบริเวณชายฝั่งทะเลเขตอบอุ่น

  3. สาหร่ายสีแดง (Red Algae)

    • อยู่ใน Division Rhodophyta

    • มักมีสีชมพูหรือแดง

    • เคลือบตามพื้นหินหรือซากปะการัง

    • พบมากในแนวปะการังน้ำตื้น

  4. สาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงิน (Blue-Green Algae)

    • อยู่ใน Division Cyanophyta

    • ส่วนมากเป็นสาหร่ายเซลล์เดียว มีขนาดเล็ก

    • เป็นอาหารของสัตว์แทะเล็มพืช

ตัวอย่างสาหร่ายทะเลที่น่าสนใจ

  • เถ้าแก่น้อย (Porphyra) หรือที่เรียกว่าจีฉ่าย

  • สาหร่ายใบมะกรูด (Halimeda macroloba) มีศักยภาพช่วยลดโลกร้อน

  • สาหร่ายพวงองุ่น (Caulerpa racemosa) นิยมลวกกินเป็นเครื่องเคียงน้ำพริก

ประโยชน์ของสาหร่ายทะเล

  • เป็นผู้ผลิตระดับต้นในห่วงโซ่อาหารทางทะเล

  • ใช้เป็นอาหารและส่วนประกอบในอุตสาหกรรมอาหาร

  • ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องสำอางและยา

  • ช่วยปกป้องชายฝั่งจากการกัดเซาะ

    จัดทำโดย

    นักวิชาการประมงปฎิบัติการ ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งทะเลอันดามันตอนบน

    เอกสารอ้างอิง

    • สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    • กองสารสนเทศและเทคโนโลยีการสำรวจทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง