ชีววิทยา
ปลากด (อังกฤษ: Naked catfishes, Bagrid catfishes) เป็นปลาหนังไม่มีเกล็ด ในวงศ์ Bagridae (/บา-กริ-ดี้/) มีส่วนหัวค่อนข้างแบนราบ แต่ลำตัวแบนข้างไปทางด้านท้าย ปากกว้างอยู่ที่ปลายสุดของจะงอยปาก มีฟันซี่เล็กแหลมขึ้นเป็นแถวบนขากรรไกรและเพดาน มีหนวด 4 คู่ โดยคู่ที่อยู่ตรงริมฝีปากยาวที่สุด ครีบหลังและครีบอกเป็นก้านแข็ง หรือเรียกว่า เงี่ยง ครีบไขมันค่อนข้างยาว ครีบหางเว้าลึก ในตัวผู้มักมีติ่งเล็กๆ ที่ช่องก้น
สำหรับในประเทศไทย จัดเป็นปลาหนังวงศ์ที่พบมากชนิดที่สุดของไทยโดยพบมากกว่า 25 ชนิด มีนิสัยดุร้ายก้าวร้าว มีพฤติกรรมมักกบดานอยู่กับพื้นนิ่ง ๆ ถ้าไม่พบอาหารหรือล่าเหยื่อจะไม่เคลื่อนไหว เป็นปลาเศรษฐกิจที่สำคัญ นิยมนำมาบริโภคบ่อย ปลาในวงศ์นี้ มีชื่อสามัญในภาษาไทยมักเรียกรวม ๆ กันว่า “ปลากด”
อาหาร
แมลง, ปลา, กุ้ง, ซากพืชซากสัตว์เน่าเปื่อย
แหล่งที่อยู่อาศัย
แหล่งน้ำจืดไปจนถึงน้ำกร่อยตั้งแต่ทวีปแอฟริกา, อนุทวีปอินเดีย, เอเชียอาคเนย์ ไปจนถึงหมู่เกาะซุนดา พบประมาณ 200 ชนิด
การสืบพันธุ์
[bs_row class=”row”]
[bs_col class=”col-sm-6″]ลักษณะตัวผู้
1. ลำตัวจะมีลักษณะเรียงยาว
2. อวัยวะเพศที่เรียกว่า genital papillae ยื่นออกมาประมาณ 1 เซนติเมตร
จะมีลักษณะเป็นติ่ง เรียวยาว และแหลมตอนปลาย
3. ในฤดูผสมพันธุ์ เมื่อรีดจากส่วนท้อง จะมีน้ำเชื้อไหลออกมาลักษณะมีสีขาวขุ่น[/bs_col]
[bs_col class=”col-sm-6″]ลักษณะตัวเมีย
1. ลำตัวจะมีลักษณะป้อมสั้น
2. อวัยวะเพศมีลักษณะเป็นรูกลม
3. ในฤดูผสมพันธุ์จะมีส่วนท้องบวม เป่ง นูนออกมาทางด้านข้างทั้ง
สองข้าง และช่องเพศมีสีชมพูเรื่อๆ[/bs_col]
[/bs_row]
ปริมาณความดกของไข่ขึ้นกับขนาดของแม่ปลากดเหลือง ปลาเพศเมียที่พบเริ่มมีไข่แก่และสืบพันธุ์วางไข่ได้มีความยาวตั้งแต่ 18 เซนติเมตรขึ้นไป ความยาวเฉลี่ย 28.56 เซนติเมตร ส่วนปลาเพศผู้ความยาวเฉลี่ย 28.56 เซนติเมตร
แม่ปลาขนาดความยาว 18 เซนติเมตร มีไข่ประมาณ 12,500 ฟอง
แม่ปลาขนาดความยาว 30 เซนติเมตร มีไข่ประมาณ 40,000 ฟอง
ฤดูการวางไข่
ปลากดเหลืองสามารถวางไข่ได้เกือบตลอดทั้งปี ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนตุลาคมของทุกปี ในแม่น้ำเจ้าพระยา สำหรับภาคใต้ตอนล่าง ฤดูผสมพันธุ์วางไข่ อยู่ในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงเดือนพฤศจิกายน
เป็นที่น่าสังเกตว่า ฤดูกาลวางไข่ของปลากดเหลือง จะแตกต่างกันไปตามสภาพ และที่ตั้งของพื้นที่