ปลาฉนาก (sawfish)
ปลาฉนากได้ถูกเพิ่มชื่อเข้าเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพิ่มเติมตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฉบับที่4 ลงวันที่ 12 มิถุนายน 2561
รูปที่1. ปลาฉนาก (sawfish)
ที่มาภาพ https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/6/6c/Pristis_pristis_-_Georgia_Aquarium_Jan_2006.jpg/800px-Pristis_pristis_-_Georgia_Aquarium_Jan_2006.jpg
ปลาฉนากเป็นปลาโบราณที่ยังรอดชีวิตมาจนถึงปัจจุบันจากยุคไดโนเสาร์ มันเป็นปลากระดูกอ่อนในกลุ่มปลาฉลามกระเบน แต่มีรูปร่างส่วนหัวแบนมีช่องเปิดเหงือก (gill opening) 5 คู่ด้านท้อง มีช่องเปิดหลังตา (spiracle) 1 คู่ คล้ายปลากระเบนแต่ด้านท้ายลำตัวเรียวยาวมีครีบหลังและครีบหางคล้ายกับปลาฉลาม
ปลาฉนากมีลักษณะพิเศษคือมีจะงอยปากยื่นยาวออกมาและที่จะงอยปากมีฟันด้านข้างดูคล้ายฟันของใบเลื่อย ใช้เพื่อหาอาหารโดยการไซ้ลงไปตามพื้นท้องน้ำเมื่อสัตว์เล็กๆ พวกกุ้งปูและปลา ตกใจโผล่ออกมาจะถูกปลาฉนากจับกิน นอกจากนี้ยังใช้จะงอยปากนี้เพื่อต่อสู้และป้องกันตัวเองจากสัตว์อื่น
ฟันของปลาฉนากนิยมนำไปเป็นของที่ระลึก เครื่องประดับหรืออาวุธ
รูปที่2. จะงอยปลาของปลาฉนาก
ที่มาภาพ https://c1.staticflickr.com/9/8224/8340844697_53cfa10604_b.jpg
ปลาฉนากออกลูกเป็นไข่ แต่ไข่ฟักในท้องแม่ (ovoviviparous) ก่อนคลอดออกมาเป็นลูกปลา
ปลาฉนากพบแพร่กระจายในทะเลในเขตอบอุ่นทั่วโลกตั้งแต่ทวีปอเมริกาเหนือ แอฟริกา เอเชีย และออสเตรเลีย แต่เป็นปลาที่สามารถเข้าไปอาศัยในน้ำจืดได้เป็นเวลานาน สันนิษฐานว่าเข้าแพร่พันธุ์เนื่องจากในน้ำจืดมีศัตรูตามธรรมชาติน้อยกว่าในทะเล ในประเทศไทยเคยมีรายงานว่าเคยพบปลาฉนากว่าเข้าไปในแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงจังหวัดนครสวรรค์
ปลาฉนากเคยมีชุกชุมในทะเลไทย มีเรื่องเล่าว่าเคยพบบริเวณท่าฉลอม จังหวัดสมุทรสาคร คนที่ทำงานบริเวณท่าเรือหากตกน้ำต้องระวังปลาฉนากใช้จะงอยปากทำร้ายได้ แต่ปลาฉนากเป็นปลาที่โชคร้ายเนื่องจากมันมีฟันที่จะงอยปากทำให้มันมักจะติดเครื่องมือประมงเกือบทุกประเภทที่ปาก ประกอบกับการทำการประมงอย่างขาดความควบคุมของประเทศไทยในอดีตทำให้ปลาฉนากมีจำนวนลดลงเป็นอย่างมาก
รายชื่อปลาฉนากตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมฉบับที่4
ดังนี้
1. ปลาฉนากเขียว ชื่อวิทยาศาสตร์ Pristis zijsron
2. ปลาฉนากปากแหลม ชื่อวิทยาศาสตร์ Anoxypristis cuspidata
3. ปลาฉนากฟันเล็ก ชื่อวิทยาศาสตร์ Pristis pectinata
4. ปลาฉนากยักษ์ ชื่อวิทยาศาสตร์ Pristis pristis
รูปที่3. ปลาฉนากเขียว (Pristis zijsron)
ที่มาภาพ https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/1/1c/Aquarium_Genoa_01.JPG/1280px-Aquarium_Genoa_01.JPG
รูปที่4. ปลาฉนากปากแหลม (Anoxypristis cuspidate)
ที่มาภาพ https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/6/6f/AnoxypristisCuspidataCSIRO.jpg
รูปที่5. ปลาฉนากฟันเล็ก (Pristis pectinata)
ที่มาภาพ https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/a/aa/Pristis_pectinata_SI.jpg
รูปที่6. ปลาฉนากยักษ์ (Pristis pristis)
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/thumb/e/e2/Pristis_pristis_townsville.jpg/1280px-Pristis_pristis_townsville.jpg
บรรณานุกรม
https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาฉนาก
https://board.postjung.com/678797.html
https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาฉนากเขียว
https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาฉนากจะงอยปากแคบ
https://th.wikipedia.org/wiki/ปลาฉนากฟันเล็ก
https://en.wikipedia.org/wiki/Largetooth_sawfish