Upwelling หรือปรากฏการณ์น้ำผุด เป็นการไหลเวียนของน้ำรูปแบบหนึ่งที่พบบริเวณชายฝั่งและมหาสมุทรทั่ว โดยจัดเป็นกระแสน้ำลึก มีผลดีคือบริเวณที่เกิด Upwelling หรือน้ำผุดจะมีธาตุอาหารและแพลนก์ตอนจากก้นทะเลพัดพาขึ้นมา ทำให้บริเวณแห่งน้ำมีความชุกชุมของสิ่งมีชีวิตในทะเล เป็นแหล่งการทำประมงที่สำคัญเนื่องจากปลาจะรวมตัวกันในบริเวณที่มีอาหารอุดมสมบูรณ์ซึ่งก็คือบริเวณที่เกิด Upwelling หรือน้ำผุดนั้นเอง

        

                    ภาพการเกิด Upwelling หรือน้ำผุด

                    ที่มา : https://oceanservice.noaa.gov/facts/upwelling.html

          การเกิด Upwelling เกิดจากการไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทร ซึ่งมีปัจจัยหลายอย่างในการพัดพาของกระแสน้ำ เช่น อุณหภูมิ เมื่ออุณหภูมิน้ำต่ำความหนาแน่นของน้ำจะเพิ่มมากขึ้นจึงทำให้น้ำที่เย็นกว่าจมตัวลงอยู่ด้านล่าง ความเค็ม เมื่อความเค็มเพิ่มมากขึ้นน้ำที่เค็มมากกว่าจะมีความหนาแน่นมากกว่า โดยน้ำจะเคลื่อนตัวไปยังความหนาแน่นที่ต่ำกว่าทำให้เกิดเป็นกระแสน้ำ ทั้งนี้ยังมีสิ่งกีดขวางใต้น้ำเช่น สันไหล่ทวีปแนวเทือกเขาใต้น้ำ หรือร่องน้ำ เป็นสิ่งที่เปลี่ยนทิศทางของกระแสน้ำ การไหลเวียนของกระแสน้ำในมหาสมุทรแบ่งได้เป็น 2 ประเภทคือ กระแสน้ำบริเวณพื้นผิว (Surface currents) มีทิศทางการไหลของกระแสน้ำตามกระแสลมและความแตกอย่างของอุณหภูมิน้ำซึ่งกระแสน้ำบริเวณพื้นผิวจะนำพาความร้อนจากเขตอบอุ่นไปขั้วโลก และกระแสน้ำลึก (Deep currents) โดยความหนาแน่นเป็นตัวการทำให้เกิดการไหลของกระแสน้ำซึ่งน้ำที่มีความหนาแน่นสูงกว่าจะไหลไปยังน้ำที่มีความหนาแน่นต่ำกว่า

ในการเกิด Upwelling เกิดจากการที่กระแสลมพัดผ่านบริเวณพื้นผิวทะเลหรือมหาสมุทรทำให้เกิด กระแสน้ำพื้นผิว ซึ่งมีทิศทางตั้งฉากกับกระแสลม 90 องศา ซึ่งเรียกปรากฎการณ์นี้ว่า Ekman transport ซึ่งเป็นการนำพามวลน้ำบริเวณผิวน้ำออกไปแล้วมวลน้ำเย็นที่อยู่ข้างล่างจะไหลมาแทนที่มวลน้ำผิวน้ำโดยมวลน้ำข้างล่างจะพัดพาเอาตะกอน แร่ธาตุอาหารขึ้นมาด้วย ทำให้บริเวณนั้นมีความอุดมสมบูรณ์เนื่องจาก สิ่งมีชิวิตที่ตายจะจมลงไปสะสมที่ท้องทะเลทำให้เมื่อเกิด Upwelling จะทำให้บริเวณนั้นมีสัตว์น้ำจำนวนมาก

           
ภาพ : การเกิด Upwelling

                   ที่มา : https://www.trueplookpanya.com/

ที่มา

https://oceanservice.noaa.gov/facts/upwelling.html

https://www.trueplookpanya.com/knowledge#google_vignette

https://ngthai.com/science/31466/ocean-current/