จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดของโรค COVID 19 อย่างรุนแรงในประเทศไทยและทั่วโลกตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2562 จนถึงกลางปี พ.ศ. 2565 ซึ่งมีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตป็นจำนวนมาก จังหวัดภูเก็ตและพังงาซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงทั้งจากความปลอดภัยด้านสุขภาพของประชาชนและความสูญเสียทางเศรษฐกิจ

แต่ช่วงเวลาดังกล่าวเป็นช่วงเวลาที่ดียิ่งของทรัพยากรธรรมชาติ ซึ่งไม่ถูกรบกวน ไม่มีขยะและของเสียลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ไม่มีการการส่งเสียงดังอึกทึก ไม่มีแสงไฟและคนใช้พื้นที่บนชายหาด อีกทั้งเรือประมงจำนวนมากที่คอยลากอวนโฉบเฉี่ยวไปมา สถานการณ์ช่วงนี้เป็นช่วงเวลาที่ดียิ่งของเต่ามะเฟืองที่จะขึ้นมาวางไข่

ภาพที่1. เต่ามะเฟืองที่ขึ้นมาวางไข่ (ซ้าย) และนักวิชาการกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งไปตรวจสภาพหลุมไข่เต่าและเก็บรวบรวมไข่เต่าไปไว้ในที่เหมาะสม

ที่มาภาพ: https://km.dmcr.go.th/ckeditor/upload/files/Gooseberry%20turtle%202562/04_1.jpg

ปี 2561-2562 มีเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่จำนวน 3 รัง ทางตอนใต้ของจังหวัดพังงาทั้ง 3 รัง

ปี 2562 – 2563 มีเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่จำนวน 11 รัง ทางตอนใต้ของจังหวัดพังงาทั้ง 8 รัง และทางตอนเหนือของจังหวัดภูเก็ต 3 รัง

ปี 2563 – 2564 มีเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่จำนวน 18 รัง ทางตอนใต้ของจังหวัดพังงาทั้ง 16 รัง และทางตอนเหนือของจังหวัดภูเก็ต 1 รัง รังที่น่าสนใจคือมีเต่าขึ้นวางไข่ที่หาดกะตะซึ่งอยู่ตอนกลางค่อนไปทางใต้ของเกาะภูเก็ต 1 รัง ซึ่งบริเวณนี้ไม่มีเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว

ภาพที่ 2 ลูกเต่ามะเฟืองที่ฟักออกจากหลุมไข่เต่า

ที่มาภาพ: https://km.dmcr.go.th/ckeditor/upload/files/Gooseberry%20turtle%202563/05/2563_03_09_03.jpg

ปี 2564-2565 ยังไม่มีเต่ามะเฟืองขึ้นมาวางไข่เลยสักรัง แต่ผู้เชี่ยวชาญได้ชี้แจงว่าหลังจากที่ขึ้นมาวางไข่ต่อเนื่องกัน 3 ปี แม่เต่าจะหยุดไปช่วงเวลาหนึ่งแต่สิ่งที่น่าสังเกตคือจำนวนรังไข่เต่าที่ขึ้นมาวางไข่จำนวน 35 รัง ใน 3 ปีที่ผ่านมาจากการตรวจ DNA  ของลูกเต่า พบว่ามาจากมาแม่เต่ามะเฟืองเพียง 5 ตัวเท่านั้น ซึ่งเป็นหน้าที่ของเราทุกคนต้องช่วยกันรักษาสภาพสิ่งแวดล้อมเพื่อให้แม่เต่าเหล่านี้มีโอกาสกลับมาวางไข่อีกและเตรียมชายหาดให้เหมาะสมให้ลูกเต่าที่ออกทะเลไปแล้วเติบโตกลับมาวางไข่เพิ่มจำนวนเต่ามะเฟืองของประเทศไทยต่อไป

 

เอกสารอ้างอิง

https://km.dmcr.go.th/c_258