ดาวเปราะ หรือดาวตระกร้า (Brittle star) เป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยตามซอกหินหรือซอกปะการัง ออกหากินในเวลากลางคืน ไม่มีสมอง ไม่มีตา แต่สามารถมองเห็นได้รอบตัว

จากงานวิจัยที่ได้ตีพิมพ์ในวารสาร Proceedings of the Royal Society B เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2561 ได้กล่าวถึงสมมุติฐานว่า ดาวเปราะนั้นสามารถมองได้รอบตัวจากการที่มันสามารถตรวจจับแสงและเคลื่อนตัวหนีแสงได้ ซึ่งเมื่อพิจารณาที่ลำตัวของดาวเปราะจะพบกับโครงสร้างที่มีปุ่มใสที่ทำจากหินปูนแคลเซียมคาร์บอเนตเหมือนคริสตัล ซึ่งทำหน้าที่คล้ายเลนส์ในการรวมแสงให้ตกกระทบบนเส้นประสาทที่อยู่ใต้ผิวหนัง

ภาพจากกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนสีของดาวเปราะ Ophiocoma wendtii โดย Lucent Technologies Bell Labs/SPL

นอกจากนี้ที่แขนทั้ง 5 ของดาวเปราะก็มีเซลล์ที่ประกอบไปด้วยโมเลกุลที่ไวต่อแสงจำนวนมาก แต่ไม่พบโครงสร้างคริสตัลเหมือนกับที่ลำตัว แต่ก็คงจะมีเส้นประสาทที่เชื่อมต่อกันเพราะดาวเปราะสามารถที่จะชักแขนหลบแสงได้อย่างรวดเร็ว

หากเราสามารถสร้างโครงสร้างคริสตัลที่ทำจากหินปูนแคลเซียมคาร์บอเนตที่สามารถทำได้ง่ายและราคาถูก ก็อาจพัฒนาเป็นไมโครเลนส์เพื่อตรวจจับแสง ซึงก็อาจมีประโยชน์กับการพัฒนาหุ่นยนต์ต่อไปในอนาคตได้

อ้างอิง

https://www.nature.com/articles/d41586-018-01065-7#ref-CR2

บทความล่าสุด