ทุ่นในทะเล มีวัตถุประสงค์ 4 ด้าน ดังนี้

  1. ทุ่นผูกเรือ เพื่อให้เรือจอดแทนการทอดสมอ อันเป็นการป้องกันไม่ให้ปะการังเสียหายจากการทิ้งสมอเรือ หรือเป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบการจอดเรือชนิดต่างๆ ทั้งเรือท่องเที่ยวและเรือประมงภายในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เพื่อป้องกันไม่ให้ปะการังเสียหายจากการทิ้งสมอเรือ
  2. ทุ่นแสดงแนวเขต เป็นการแสดงเขตพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยงานหรือพื้นที่ที่มีการอนุรักษ์
  3. เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น อำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวในการเข้ามาท่องเที่ยว การแสดงจุดทำงานใต้ทะเล เป็นต้น
  4. ใช้ประโยชน์อื่นๆ เช่น เป็นเครื่องมือในการจัดระเบียบการจอดเรือชนิดต่าง ๆ ทั้งเรือท่องเที่ยวและเรือประมง โดยเฉพาะภายในแหล่งท่องเที่ยว เขตอุทยานแห่งชาติ

ข้อมูลทุ่นจากหน่วยงานต่างๆ ในประเทศไทย ทั้งฝั่งอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามันตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน สามารถแบ่งทุ่นออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้

  1. ทุ่นผูกเรือ ติดตั้งสำหรับการผูกกับเรือ เพื่อป้องกันการทิ้งสมอลงในเขตแนวปะการัง ส่วนใหญ่เป็นทุ่นสีส้มเหมือนกันทุกขนาด
  2. ทุ่นแนวเขตทรัพยากร (ทุ่นไข่ปลา) และทุ่นแสดงแนวเขตพื้นที่อันควรอนุรักษ์ เพื่อแสดงแนวเขตทรัพยากร เป็นทุ่นขนาดเล็ก (ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 เซนติเมตร) ร้อยต่อกันเป็นสาย ติดตั้งอยู่ในบริเวณที่มีแนวปะการัง ซึ่งเป็นพื้นที่หวงห้ามไม่ให้เรือเข้าไปในบริเวณที่เสี่ยงต่อการทำให้ปะการังเสียหาย รวมทั้งป้องกันกิจกรรมที่อาจมีผลกระทบต่อระบบนิเวศได้
  3. ทุ่นแนวเขตว่ายน้ำ เป็นทุ่นขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 120 เซนติเมตร ต่อกันเป็นสาย ลูกทุ่นมีสีแดงวางสลับกัน มีฐานคอนกรีตวางตรึงในแต่ละมุมกันเป็นแนวเขต เพื่อการทำกิจกรรมการท่องเที่ยวทางน้ำ ติดตั้งในบริเวณชายฝั่งที่เป็นหาดทราย และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยวนิยมลงเล่นน้ำ เช่น บริเวณหน้าแหล่งบริการที่พัก เพื่อป้องกันอันตรายจากเรือที่สัญจรไปมาไม่ให้เกิดอันตรายแก่ผู้ที่กำลังว่ายน้ำ

เอกสารอ้าง

http://marinegiscenter.dmcr.go.th/kiosk/km_inner.php

เรียบเรียงโดย นายสุรพงษ์ บรรจงมณี